วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ปี่เซี๊ยะแห่งหอชัยกรุงปักกิ่ง

ปี่เซี๊ยะ

เป็นยอดเครื่องรางที่ยิ่งใหญ่ไม่แพ้พญามังกร และมีพลังแรงกว่าสิงโตคู่ ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธ์ของจีน ใครมีไว้บูชาจะทำให้มีแต่โชคลาภ ทรัพย์มีแต่เข้าไม่มีออก ขณะเดียวกันเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ช่วยขจัดอาถรรพณ์ ภูตผีปีศาจ และป้องกันสิ่งชั่วร้าย ไม่มีรูทวารจึงกินอย่างเดียว ไม่มีถ่ายออก อาหารหลัก คือ เงิน กับ ทอง เป็นเคล็ดลับวิชาหมายถึง เงินเข้าแล้วไม่มีออก ทรัพย์จึงเพิ่มพูนสถานเดียว

เรื่องราวของ “ปี่เซี๊ยะ” สัตว์ในบันทึกโบราณ เป็นที่สนใจอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ปี่เซียะมีชื่อเรียกหลายชื่อ ภาษาจีนกลางเรียกว่า ปี่เซียะ ในสำเนียงแต้จิ๋ว คือ ผีซิ่ว ในสำเนียงกวางตุ้งคือ เผ่เย้า เป็นคำๆเดียวกัน แต่ออกเสียงต่างกันไปตามลักษณะท้องถิ่นของจีน นอกจากนั้นยังมีชื่อ เถาปก ผูปอ แต่ไกด์นำเที่ยวเรียกว่า ปี่เซียะ ตามภาษาจีนกลาง
แปลเป็นภาษาไทย คือ เครื่องราง ของขลังสำหรับป้องกันภัย ดังนั้นทุกอย่างที่เป็นเครื่องรางสำหรับป้องกันภัย ไม่ว่าจะเป็น ตะกรุดหรือผ้ายันต์กันภัยต่าง ๆ ตามความเชื่อแบบคนไทย ต่างถือเป็น “ปี่เซียะ” ชนิดหนึ่งเหมือนกัน

ปี่เซียะมีถิ่นกำเนิดอยู่ที่เมืองเฉินตู มณฑลเสฉวน ประเทศจีน นับถือกันว่าเป็นสัตว์ในเทพนิยายชั้นสูง ปี่เซี่ยมีมาตั้งสมัยโบราณนานเกินกว่า 5,000 ปีแล้ว
ผู้รู้ ด้านฮวงจุ้ย ที่เมืองจีนคนหนึ่งให้ข้อมูลว่า ที่จริงแล้วปี่เซี๊ยะเป็นสัตว์ที่มีตัวตนจริง ๆ คล้ายสุนัข แต่สูญพันธุ์ไปแล้ว กล่าวกันว่าในสมัยราชวงศ์ฮั่น (สมัยพระเจ้าฮั่นวู่ตี้ ราว ๆ ปี 140-87 ก่อนคริสต์กาล) ประเทศจีนได้มีการบุกเบิกเส้นทางสายไหม มีคณะทูตจากเปอร์เซีย นำรูปปั้นปี่เซี๊ยะมาถวายฮ่องเต้จีน และนำตัวปี่เซี๊ยะมาถวายให้กับฮ่องเต้จีนด้วย
ตัวปี่เซี๊ยะที่ว่ามีลักษณะคล้ายสุนัข ปราดเปรียวเหมือนสิงห์ และหน้าตาดุร้าย แต่มีความแปลกที่ว่า ปี่เซี๊ยะจะคอยปกป้องนายของตน และเชื่องต่อนายของตนเท่านั้น โดยจะดุร้ายสำหรับคนอื่นที่ไม่ใช่นายของตน ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ในสมัยฮั่น ได้มีการติดต่อทางการทูตกับเมืองบางเมืองแถบเปอร์เซียจริง และรูปร่างลักษณะของปี่เซี๊ยะ หากเปรียบเทียบดูจะคล้ายๆ กับรูปปั้นของสัตว์ในเทพนิยายของเปอร์เซีย

คนโบราณเล่ากันว่า ในต้นราชวงศ์ชิง (ราชวงศ์แมนจู) เมื่อยุคเฉียนหลงฮ่องเต้ ครั้งยังเป็น องค์ชายสี่ ขณะที่ตามองค์ฮ่องเต้เข้าป่าเพื่อล่าสัตว์ เกิดพลัดหลงกับขบวนของฮ่องเต้ ไปพบนักพรตท่านหนึ่ง ท่านได้นำปี่เซี๊ยะมาถวาย โดยกำชับว่าให้หมั่นดูแลทะนุถนอม ปี่เซี๊ยะจะคุ้มครองปกป้องภัยและส่งพลังให้ขึ้นสู่บัลลังก์ ซึ่งองค์ชายสี่ก็ปฏิบัติตาม จนได้ขึ้นครองราชย์ พระองค์จึงพระราชทานยศตำแหน่งแก่ปี่เซี๊ยะว่าเทียนลู่ (บารมีแห่งสวรรค์) และอยู่คู่เฉียนหลงฮ่องเต้ตลอดรัชสมัย 60 ปีที่ครองราชย์ ซึ่งนับว่าเป็นการขึ้นครองราชย์ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์จีน คนจีนเลยนับถือปี่เซี๊ยะตั้งแต่นั้นมา

ปี่เซี๊ยะโบราณหอชัยปรือประตูชัย
แต่เดิมปักกิ่งโบราณมีประตูโบราณ 9 แห่ง คือ 1) ประตูชัย 2) ประตูส่งพญาออกเมือง 3) ประตูส่งถ่านหิน 4) ประตูส่งเหล้า 5) ประตูส่งชา 6) ประตูส่งข้าวสาร 8) ประตูส่งไม้ 8) ประตูส่งน้ำ และ 9) ประตูผี

กล่าวว่า ประตูชัย เป็นประตูหางมังกร เป็นประตูสำหรับฮ่องเต้ส่งแม่ทัพออกรบทำศึก ที่นี่ถือว่ามีฮวงจุ้ยดีที่สุด ถ้าขึ้นไปบนป้อมแล้วมองไปด้านทิศใต้จะเป็นประตูเทียนอันเหมินที่ถือว่าเป็นส่วนของหัวมังกร ด้านทิศใต้ของหอชัยนี้รัฐบาลจีนอนุรักษ์หมู่บ้านโบราณไว้ ไม่มีการสร้างตึกที่สูง ซึ่งด้านทิศเหนือจะพบสิ่งก่อสร้างที่เป็นตึกสมัยใหม่เต็มไปหมด เช่น ตึกมังกร สนามรังนกของกีฬาโอลิมปิก



ณ ที่หอชัยแห่งนี้ มีปี่เซี๊ยะโบราณอายุกว่า 800 ปี สลักจากหยกขาว สร้างสมัยต้นราชวงศ์หมิง เป็นปี่เซี๊ยะสำหรับฮ่องเต้ และจะนำมาไว้ที่นี่ขณะที่แม่ทัพไปออกศึก แต่เมื่อเปลี่ยนการปกครอง ปี่เซี๊ยะก็เลยอยู่ที่นี่ตลอด ไม่ได้กลับไปพระราชวังโบราณอีกเลย ปี่เซี๊ยะตัวนี้ถือเป็นปี่เซี๊ยะที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศจีน

กล่าวว่า ปี่เซี๊ยะที่จะช่วยปรับฮวงจุ้ยได้ต้องแกะสลักจากหยกเท่านั้น ถ้าเป็นหินทั่วไป ทองเหลือง หรือเรซิน จะไม่มีพลัง ไม่มีอิทธิฤทธิ์ เป็นได้แค่ของประดับตกแต่งเท่านั้น

หยกสีต่าง ๆ ก็มีความหมายคุณสมบัติและพลังที่ต่างกัน แต่ทุกสีให้ “ความร่ำรวยมั่งมีเงินทองเหมือนกัน” คุณภาพหยกเป็นสิ่งกำหนดราคา ในตู้โชว์ของหอชัย จะแบ่งตู้แสดงไว้เป็น 3 กลุ่ม 3 เกรดอย่างชัดเจน เช่น ปี่เซี๊ยะแบบห้อยพกพาติดตัว เป็นหยกสีเขียวเนื้อดีราคา 480 หยวน ส่วนเนื้อด้อยลงมาจะมีราคาที่ 250 หยวน เป็นต้น

ดังนี้
สีดำ เพื่อเงินทองอย่างเดียว ที่นำไปบูชาที่แหล่งกาสิโน หมายถึง ได้ประตูเดียวไม่มีเสีย
สีเขียวเข้ม ค้าขายร่ำรวย ยิ่งสีเข้มยิ่งดี แต่อย่าให้ดำสนิท
สีเขียวอ่อน ส่งเสริมสุขภาพ ความสุข
สีขาว สำหรับข้าราชการ
สีม่วง สำหรับนักลงทุนเล่นหุ้น
สีชมพู ช่วยให้สามัคคี มีเพื่อนสำหรับการธนาคาร

ปี่เซี๊ยะ ที่บูชาจากหอชัยจะมีตรารับรองสลักคำว่า "หยวิน" ที่ท้องทุกตัว

ตามหลักฮวงจุ้ยจีนอธิบายจุดเด่นของปี่เซี๊ยะ ไว้ว่า

ต้องมีลักษณะเป็น หัวมังกร เท้าสิงโต ลำตัวกวาง ปีกนกอินทรีและหางแมว อกใหญ่ผึ่งผาย ก้นใหญ่(เก็บทรัพย์ได้มาก) ปากต้องกว้าง แลบลิ้น (อ้าปากดูดทรัพย์ ลิ้นตวัดเงินทอง) ไม่มีรูทวาร (กักทรัพย์) หน้าตาดุร้ายน่าเกรงขาม(ขับสิ่งอัปมงคลออกไป)

ลักษณะปี่เซียะที่ดี 3 อย่าง คือ

1) ตาดุ แสดงอำนาจคนอื่นสู้เราไม่ได้

2) ปากกว้าง เพื่อกินได้เยอะ

3) ก้นใหญ่ เพื่อเก็บเงินทองได้มากๆ


การทำพิธีบูชาก่อนนำเข้าบ้านหรือนำติดตัวคือ

1. อาบน้ำให้ปี่เซี๊ยะด้วยน้ำเปล่า
2. เช็ดให้แห้งด้วยผ้าใหม่(ไม่เคยใช้มาก่อน)
3. นำไปตากแดดครึ่งชั่วโมง(รับพลังจากดวงอาทิตย์)
4. ถ้าเป็นแบบพกติดตัว ก็นำมาติดตัวได้เลย แต่ถ้าเป็นแบบตั้งพื้นในบ้านหรือที่ทำงาน ก่อนนำเข้าบ้านให้ใช้ผ้าแดงปิดตา หรือคลุมหน้าไว้ เมื่อนำมาตั้งที่จัดเตรียมไว้ (ต้องหันหน้าออกนอกบ้าน หันก้นเข้าในบ้าน ไว้ในห้องไหนก็ได้ยกเว้นห้องน้ำ) แล้วจึงเปิดตาออก ผ้าแดงไม่ต้องใช้ผ้าใหม่ก็ได้

ปี่เซี๊ยะ แบบพกพา ห้ามให้ใครจับ เพราะคนจับจะดูดทรัพย์เอาไปหมด วิธีแก้คือ ต้องนำปี่เซี๊ยะไปอาบน้ำแล้วเริ่มขั้นตอนที่ 1 ใหม่

5. ปี่เซี๊ยะสำหรับตั้งพื้นควรตั้งในที่ที่มีคนผ่านบ่อย ๆ ให้คนได้จับได้ลูบยิ่งดี ไม่ต้องหวงไว้ลูบคนเดียว ยิ่งลูบยิ่งดี ยิ่งดูดทรัพย์

ข้อห้ามสำหรับปีเซีย

1. ปี่เซี๊ยะเป็นสัตว์มงคลเฉพาะบุคคล เมื่อบูชาแล้วเป็นของคนนั้น ห้ามยกให้ใครเด็ดขาด ไม่เช่นนั้นก็เหมือนว่าท่านยกโชคลาภให้คนอื่น
2. ระวังอย่าให้คนอื่นมาจับลูบคลำปี่เซี๊ยะของท่าน เนื่องจากลาภเคยได้จะถูกแบ่งออกไป
3. ห้ามเดินข้ามหรือวางไว้ที่ต่ำ หรือห้องเก็บของ ห้องน้ำ
4. ห้ามพกพาปี่เซี๊ยะไปงานศพ เพราะจะซึมซับพลังไม่ดี
5. ก่อนหรือหลังการเสี่ยงใดๆ ถ้ามีอาการเครียดหรือหงุดหงิดไม่สบาย ให้หยุดเสี่ยงโชคทันที เพราะท่านจะไม่มีโชค6. ห้ามลูบปากเพราะจะทำให้เก็บทรัพย์ไม่อยู่

วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ราชวงศ์หมิงจากพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งของปักกิ่ง ตอน4จบ

ฉากที่ 21 กรณีสิ่งมืดมนต์ 3 อย่าง
(Three Mysterious Cases)
จูฉางลั่ว (Zhu Changluo) โอรสองค์แรกของจักรพรรดิเสินจ้ง ครองราชย์ปี 1520 เฉลิมพระนามว่า กวงจง (Guangzong, 1580-1620) ซึ่งความปรารถนาของสนมเจิ้ง(Zheng) สนมเอกจักรพรรดิเสินจ้ง ต้องการให้โอรสจูจางซุน (Zhu Changxun) เป็นรัชทายาท


ในปี 1615 มีคนบ้าชื่อเจิ้งจา (Zheng Cha) ได้บุกเข้าพระราชวังด้านตะวันออกที่จักรพรรดิประทับอยู่ด้วยไม้เรียว นี่ก็เป็นกรณีของไม้เรียว
ในปี 1620 ที่จักรพรรดิกวงจง (Guangzong) ได้ขึ้นครองราชย์และใช้ชื่อรัชศกว่า ไท่ชาง (Taichang) สวรรคตหลังจากนั้น 1 เดือนหลังจากที่เสนาบดีกรมพิธีการนำยาเม็ดสีแดงถวายให้เสวย นี่คือกรณีของยาเม็ดสีแดง
จักรพรรดิกวงจง ถูกฝั่งที่สุสานชิงหลิงก่อนที่โอรสจักรพรรดิกวงจงที่ชื่อ จูโหยวจ้าว (Zhu Youxiao) ขึ้นครองราชย์ ขันทีลี่ (Li)ที่ดูแลจูโหยวจ้าวและเว่ยจ้งเสียน (Wei Zhongxian) ต้องการที่จะติดตามเข้าพระตำหนักเชียนชิง(Qianqing) เหล่าเสนาบดีได้คัดค้าน ดังนั้นจึงได้ย้ายไปยังตำหนักฮุ่ยหยวน(Huiluan) นี่ก็เป็นกรณีของการเปลี่ยนประราชตำหนัก
ทั้งสามกรณีนี้สะท้อนความขัดแย้งที่รุนแรงของราชสำนักราชวงศ์หมิง


ฉากที่ 22 จักรพรรดิช่างไม้

(The Carpenter Emperor)


จูโหยวจ้าว (Zhu Youxiao) ขึ้นครองราชย์ในปี 1620 เป็นจักรพรรดิซีจง (Xizong,1605-1672) ชื่อรัชศกเทียนฉี่ (Tainqi) เป็นผู้ชอบงานช่างไม้ ขันทีเว่ยจ้งเสียน (Wei Zhongxian) ได้เข้ามามีบทบาทกุมอำนาจแทนฮ่องเต้ เว่ยจงเสียนมักจะนำราชการต่างๆ มากราบทูลในเวลาที่จักรพรรดิเทียนฉีกำลังทรงงานไม้ พระองค์ก็มักจะให้เว่ยจ้งเสียนจัดการเอาตามที่เห็นควร กลายเป็นผู้กุมอำนาจมากส่งผลเสียจนถึงจุดที่ต้องพลิกผัน ศพจักรพรรดิซีจงถูกฝังไว้ที่สุสานตี้หลิง หลังจากการครองราชย์ของจักรพรรดิยี่จง(Yizong) เว่ยจ้งเสียนถูกเนรเทศไปยังเมืองเฟิ้งหยาง มณฑลอันหุยที่ที่เขาตัดสินใจปลิดชีพตนเอง




ฉากที่ 23 สำนักต้งหลินถูกรังแก
(Unjust Charges Agaist the Donglin Clique)

กลุ่มวิชาการต้งหลิน(Donglin) เกิดในช่วงปลายราชวงศ์หมิงโดยกลุ่มผู้มีความรู้ทางภาคใต้ ในยุควั่นหลี เหอ เกา ปั้นหลง และเจี๋ยนยี้บิน ต่างก็สอนในสำนักนี้ที่พวกเขาได้แลกเปลี่ยนสนทนาโต้เถึยงทางการเมืองกัน เขาได้รับการสนับสนุนจากผู้รู้เพิ่มมากขึ้นและสำนักวิชาการต้งหลินก็โด่งดังขึ้น สำนักนี้สนับสนุนให้จู ชางเล่า(Zhu Changluo)ควรเป็นรัชทายาทและต่อต้านการทำงานของผู้ตรวจราชการในเรื่องการขุดแร่และการเก็บภาษี เป็นสิ่งให้เกิดความขัดแย้งกับขันทีนำโดยเว่ยจ้งเสียน (Wei Zhongxian) ผู้นำคนสำคัญถูกกวาดล้างและถูกทรมานจนตาย
สำนักต้งหลินจึงต้องปิดตัวเองลง และในที่สุดเว่ยจ้งเสียน (Wei Zhongxian)ก็ได้รับโทษด้วย



ฉากที่ 24 วิทยาศาสตร์ตะวันตกเข้าสู่จีน
(Western Science Enter China)
ในศตวรรษที่ 16 พวกมิชชันนารีชาวตะวันตกเข้ามาทางตะวันออก นำการแลกเปลี่ยนระหว่างตะวันออกกับตะวันตกไปสู้จุดสูงสุด พวกสอนศาสนา แมตทิโอ ริชชี ชาวอิตาเลียน และอดัม สแกลฟอน เบล ชาวเยอรมัน ได้ขยายความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ พร้อมกับนักวิชาการจีน ซู่กวงจี และหลี่ ชี่เชา ที่แปลงานวิทยาศาสตร์ตะวันตก และทำอุปกรณ์วิทยาศาสตร์รวมทั้งกล้องส่องทางไกล

ฉากแสดง ซู่กวงจี และหลี่ ชี่เชา สนทนากับอดัม สแกลฟอน เบล และนักสอนศาสนาอิตาเลียน นิโคโล ลองโกบาร์โด ที่ประตูหอดูดาวตงเบียน ที่ปักกิ่งในฤดูใบไม้ผลิปี 1630


ฉากที่ 25 การปกป้องเมืองหน้าด่าน
(Defeat in Songshan and Jinzho)

จูโย่วจียน (Zhu YouJian) ขึ้นครองราชย์ในปี 1627 ใช้นามจักรพรรดิ ซื่อซง(Yizong, 1611-1644) และใช้รัชศกว่าฉงเจิน(Chongzhen) พลังชาวนาเริ่มเบ่งบานและกองกำลังแมนจู(Qing) กำลังเข้ามายึดเมืองจิ้งจู ไม่มีสิ่งใดที่จักรพรรดิที่สามารถทำได้ที่จะรักษาจักรวรรดิไว้ได้ในเดือนเมษายน 1641 จักรพรรดิอบาไฮของแมนจูนำกำลังเข้าโจมตีในวงกว้างโจมตีเมืองจิ้งจู แม่ทัพจูดาเฉาได้ขอกำลังเสริม จักรพรรดิซื่อซงส่ง หงเชงเฉา พร้อมด้วยกองกำลัง 130,000 คนไปช่วย แต่ถูกล้อมที่เมืองซ้งซาน ในเดือนมีนาคม 1642 ขาดเสบียงอาหารการช่วยเหลือถูกตัดขาด ลูกน้องหันไปสมคบกับแมนจูนำกองทัพแมนจูเข้าเมืองหลวง หงเชงเฉาถูกจับ แม่ทัพจูดาเฉายอมยกเมืองจิ้งจูให้แมนจู

ในเวลานั้นราชวงศ์หมิงได้สูญเสียแนวชายแดนทางตะวันออกเฉียงเหนือไปแล้ว กองทัพแมนจูต้องการที่จะตีให้ทะลุช่องเขาชานไหกวนให้ได้



ฉากที่ 26 ตำนานความเศร้าบนเขาถ่าน
(Eternal Remorse on Coal Hill)

จูโหยเจี่ยน (Zhu YouJian) ครองราชย์เป็นจักรพรรดิซือซง (Yizong,1627-1644) เป็นที่รู้จักในนาม ฉงเจิ้น พระองค์มีความขยันพากเพียรและกระเหม็ดกระแหม่ ในช่วงที่เข้าสู่อำนาจในปี 1627 ได้กำจัดกลุ่มขันทีของเว่ยส้งเสี้ยนและทำทุกวิถีทางเพื่อที่จะสร้างความยั่งยืนให้ราชวงศ์หมิง ในเดือนพฤษภาคม 1644 หลี่ซือเชงผู้นำทัพชาวนานำทัพเข้าปักกิ่ง

จักรพรรดิผู้สิ้นหวังได้แขวนคอตัวเองบนเขาถ่าน บนผ้าฉลองพระองค์ด้านหน้ามีข้อความเขียนว่า ฉันไม่มีหน้าที่จะไปพบกับบรรพบุรุษทั้งหลายได้

ดังนั้น จึงถอดหมวกและนำเส้นผมมาปิดหน้าไว้” หลี่ซือเชง สั่งให้ฝังพระศพไว้กับสนมเตี้ยนที่พระองค์รัก

ราชวงศ์หมิงจากพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งของปักกิ่ง ตอน3

ฉากที่ 13 ตำหนักใต้กลับคืนสู่อำนาจ (Return from the Southern Palace)
เดือนตุลาคม 1941 พวกมองโกลออยีแรตได้ส่งจักรพรรดิหยิงจงกลับสู่ปักกิ่ง ฮ่องเต้จัดพระราชวังด้านใต้เป็นที่ประทับอยู่ภายใต้จักรพรรดิไท่จง แต่แทนที่จะเสียลสะอำนาจ กลับรอโอกาสด้วยการสมคบกับชีเฮง(Shi Heng) และฉูยูเจิ้น(Xu Youzhen) จักรพรรดิไท่จงเกิดล้มป่วยหนักในเดือนกุมภาพันธ์ 1457 ฉีเหิง(Shi Heng)และฉางยี้ (Zhang Yue) ได้เปิดประตูเมืองด้วยการกระแทกของท่อนซุงขนาดใหญ่ เรียกว่า เหตุการณ์พายุทะลายประตู จักรพรรดิหยิงจงเสด็จพระราชสมภพอีกครั้ง ได้ฆ่าหยูเชียน(Yu Qian) ปลดจักรพรรดิเป็นตำแหน่งองค์ชาย สั่งรื้อสุสานที่ไท่จงสร้างไว้เพื่อตนเองเสีย เมื่อไท่จงตายได้นำไปฝังไว้ที่เขาด้านตะวันตกได้รับเกียรติในฐานะองค์ชาย ทรงครองราชย์ต่อมาอีก 8 ปีก็สวรรคตในปี 1464 พระศพถูกฝังไว้ที่สุสานหยุงหลิงของราชวงศ์หมิง

ฉากที่ 14 สนมจีกับโอรสจูยุ่ถัง (ตั้งชื่อเอง)
จูเจียนเซิน (Zhu Jianshen) โอรสจูยู่ถังได้เสด็จพระราชสมภพเป็นจักรพรรดิเสี้ยนจง(Xianzong, 1446-1487) ใช้นามรัชศกว่า เฉิงฮั่ว (Chenghua) เป็นเรื่องสนมจี(Ji)ที่ถูกนำมาจากมณฑลกวางสี เกิดตั้งครรภ์กับฮ่องเต้และต้องปิดบังซ่อนบุตรไม่ให้สนมวัน(Wan)เห็นเพราะมีกฎว่าสนมจะต้องถูกนำไปทำแท้ง ได้มอบลูกชายให้นายประตูจางหมิน(Zhang Min)ดูแล เมื่ออายุครบ 6 ขวบจางหมินจึงได้ข้ไปกราบทูลให้ทราบ
เป็นฉากที่จักรพรรดิวิ่งไปที่สวนตะวันตกเพื่อพบโอรสจูยู่ถัง(Zhu Youtang)ที่พรากไปถึง 6 ปี ต่อมาสนมจีและจางหมินถูกฆาตรกรรม หลังจากที่โอรสจูยู่ถังขึ้นครองราชย์ก็ได้ยกฐานะสนมจี ขึ้นอยู่ในฐานะพระจักรพรรดินีและนำศพมาฝังข้างกับจักรพรรดิเสี้ยนจงที่สุสานเมาหลิงกับบูรพกษัตริย์ราชวงศ์หมิง

ฉากที่ 15 หงจื้อผู้รื้อระบบใหม่ (The Hong Zhi Resurgence)
จูยู่ถัง เสด็จพระราชสมภพหลักการสิ้นพระชนม์จักรพรรดิเสี้ยนจงในปี 1487 นามว่าเสี้ยวจง (Xiaozong, 1469-1505) มีชื่อรัชศกว่า หงจื้อ(Hongzhi) เนื่องจากชีวิตส่วนพระองค์ในวัยเด็กไม่ได้รับความสุขและถูกทารุณกรรมจากแม่ พระองค์เป็นจัรกพรรดิผู้ที่มีความเอาใจใส่ในความทุกข์สุขราษฎร จะยกเว้นภาษีผู้เคราะห์ร้ายจากเหตุการณ์ภัยเกิดภิบัติเสมอ ทรงตั้งพระทัยที่จะกำจัดขุนนางที่ทุจริต ลดอำนาจของขันทีที่เป็นภัยใหญ่และปฏิรูปการปกครอง ทรงมัธยัสถ์ใช้จ่ายอย่างประหยัด เป็นที่รู้จักในนามหงจื้อผู้รื้อระบบใหม่
ในฉากแสดงการจัดทำทะเบียนที่ดินส่วนบุคคลในปี 1488 ขุนนางในวังหลวงมีการนำนักร้องนักแสดงมาขับร้องตามข้อเสนอของ หม่าเวินเชง(Ma Wencheng)องคมนตรีฝ่ายซ้าย แต่ถูกจักรพรรดิขับไล่ออกไป เสด็จสวรรคตปี ค.ศ. 1505 พระศพเชิญไปบรรจุที่สุสานไท่หลิง (tailing)


ฉากที่ 16 ฮ่องเต้เจ้าสำราญ (A Preposterous Emperor)

จูโฮ่วเจา (Zhu Houzhao,1490-1521) เสด็จพระราชสมภพเมื่อมีอายุเพียง 16 ชันษา เป็นจักรพรรดิหวูจง(Wuzong ) ใช้นามรัชศกว่า เจิ้งเต๋อ(Zhengde) ได้รับการพะเน้าพะนอมาแต่เด็ก รักความสำราญไม่ค่อยออกว่าราชการ มักจะออกไปปลอมพระองค์เสด็จเที่ยวนอกวังอยู่เสมอ บางครั้งไม่กลับปักกิ่งนานเป็นเดือนเป็นปีทีเดียว กอปรกับทรงมีขันทีหลิวจิ่น (Liu Jin )ที่คอยยุยงสนับสนุนคอยหาผู้หญิงมาบำเรอมอมเมาฮ่องเต้แล้วรวบอำนาจไว้ หลิวจิ่น เหิมเกริมถึงกับวางแผนจะก่อกบฏเพื่อจะเป็นฮ่องเต้เสียเอง สุดท้ายหลิวจิ่นถูกจับได้โดนแล่เนื้อเป็นชิ้นๆ แต่หลังจากหลิวจิ่นตายพระองค์ก็หันมาโปรดปรานนายทหารชื่อเจียงปินแทนและมักจะเสด็จประพาสไปนอกวังเหมือนเดิม กลับเข้าวังก็เก็บตัวไม่ออกว่าความ เอาแต่หาความสำราญ หลังจากเสด็จสวรรคตบรรจุที่สุสานคังหลิน(ในฉากเป็นการแสดงภาพ การหาความสำราญกับหญิงสามัญชน)

ฉากที่ 17 ไห่หยุ่ยผู้สูญไปจากราชสำนัก (Hai Rai Dismissed from Office)
องค์ชายจูโฮ่วชง (Zhu Houcong ) ขึ้นครองราชย์ ค.ศ.1521 นาน 45 ปี เฉลิมพระนามว่าจักรพรรดิซื่อจง (Shizong,1508-1567) ใช้ศักราชว่าเจียจิ้ง (Jiajing) ช่วงหลังของหารครองราชย์ได้ให้ความเชื่อถือในขุนนางสอพลอชื่อ หยานซง (Yan Song) และมีความเลื่อมใสในลัทธิเต๋า ตลอกเวลา 20 ปี ไม่เคยติดต่อกับราชสำนัก มีการฉ้อราษฎร์บังหลวงและการรุกรานจากภายนอกมีความรุนแรง
ไห่ หยุ่ย (Hai Rui) ผู้ตรวจราชการการคลังยูนนาน ถวายฎีกากล่าวโทษเหยียนซง ทูลให้พระองค์เลิกงมงายและฟุ่มเฟือย การฝักใฝ่ในเต๋านั้นใช้งบประมาณจากท้องพระคลังเป็นจำนวนมหาศาล ในการก่อสร้าง ทำให้เกิดการฉ้อฉล สร้างความยากจนอย่างกว้างขวาง และปลุกระดมชาวบ้านด้วยคำว่า “เจี่ยจิง แปลว่า ทุกครอบครัวมีแต่ความว่างเปล่าและไม่มีเงิน” ทำให้จักรพรรดิโกรธมากสั้งจำคุกไห่หยุ่ย
จักรพรรดิซื่อจงถูกฝังที่สุสานย่งหลิง


ฉากที่แสดงเป็นจักรพรรดิซื่อจงแสดงความฉุนเฉียวที่อ่านบันทึกของไห่หยุ่ย


ฉากที่ 18 บรรณาการจากมองโกลเผ่าอันดา (Anda Pays Tribute)
ในช่วงที่จูไซ่โห้ว (Zhu Zaihou) สมภพเป็นจักรพรรดิมู่จง (Muzong,1569-1572) พวกมองโกลเผ่าอันดา (Anda) ได้เกิดความขัดแย้งภายใน เมื่อข่านอันดาได้ยกคู่หมั้นหลานชายไปให้คนอื่น ปาฮันนาชี (Pahannachi) หลานของข่านอันดาโกรธจัดและหนีไปอยู่กับจักรวรรดิหมิง จักรพรรดิมู่จงได้ให้การต้อนรับด้วยการจัดงานเลี้ยงและมอบตำแหน่งแม่ทัพ(Commander) ข่านอันดาขอให้จักรพรรดิมู่จงสังหารหลายชายของเขาเพื่อแก้แค้นให้กับชาวมองโกล พร้อมกันข่านอันดาได้วางกำลังก่อกวนตามแนวชายแดน และฟื้นฟูการซื้อขายผ้าไหมและม้า ด้วยเหตุนี้ จักรพรรดิมู่จง จึงต้องสร้างความเข้มแข็งตามแนวชายแดน และเป็นความสำเร็จในการครองราชย์ 6 ปี

ในฉากเป็นการต้องรับด้วยงานเลี้ยงของจักรพรรดิมู่จงสำหรับ ปาฮันนาชี (Pahannachi)

ฉากที่ 19 จางจิ้วเจิ้งปฎิรูป (The Reform of Zhang Juzheng)
จูอี้จุน (Zhu Yijun) ขึ้นครองราชย์ในปี 1572 เป็นจักรพรรดิเสินจ้ง (Shenzong, 1563-1620) ใช้นามรัชศกว่าวั่นลี่ (Wanli) เนื่องจากมีอายุเพียง 9 ขวบผู้สำเร็จราชการ จึงมีองคมนตรีจางจิ้วเจิ้ง (Zhang Juzheng) ที่ต้องสู้กับความขัดแย้งของสังคมที่รุนแรง จางจิ้วเจิ้งได้เสนอแนวทางปฏิรูปหลายแนวทาง เกี่ยวกับการแก้ปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวงของบรรดาขุนนาง การตรวจตราที่ทำกิน การเชื่อสัมพันธ์กับมองโกลเผ่าอันดา และทั้งการต่อต้านการรบกวนของโจรสลัดญี่ปุ่น เขาให้กำลังใจสนับสนุนแก่ผู้ทำงานที่เกิดมรรคผล ได้รับความสำเร็จอย่างใหญ่หลวง สามารถแก้ปัญหาการจัดเก็บภาษีได้สำเร็จทำให้มีเงินเข้าพระคลังเป็นจำนวนมากจากการปฏิรูป แต่หลังจากที่จางจิ้วเจิ้งตายแล้ว กลุ่มต่อต้านได้กลับมามีอำนาจเหนือสิ่งที่ปฎิรูปมาเวลา 10 ปีก็ไม่เหลืออะไรอีก

ฉากที่ 20 เสินจ้งผู้สร้างสุสานจนเงินหมด (twenty years of non-government)
จูอี้จุน (Zhu Yijun) หรือจักรพรรดิเสินจ้ง เอาแต่เที่ยวเตร่สนุกสนานไม่เอาใจใส่ดูแลการเมือง ไม่เคยเห็นว่าตลอดเวลา 20 ปีขุนนางได้ก้าวหน้าในการฉ้อราษฎร์บังหลวงในรัชสมัยพระองค์อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน พระองค์ก็มัวแต่สร้างสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่โต สร้างสุสานดิงหลิงที่ต้องใช้แรงงานทหารกว่า 3 หมื่นคนต่อวัน ใช้เวลาสร้างถึง 6 ปี ใช้เงิน 8 ล้านตำลึงเงิน เมื่อเงินในกำปั่นหมดก็ให้ขันทีเก็บภาษีที่ได้รับการต่อต้านอย่างรุนแรง

ราชวงศ์หมิงจากพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งของปักกิ่ง ตอน 2

ฉากที่ 7 ยุคความรุ่งเรืองของหยงเล่อ (The Glorious age of Yongle)

จักรพรรดิเฉิงสู่ (Chengzu) ไช้นามรัชศกว่า หยงเล่อ (Yongle) เป็นผู้ที่เข้มแข็งและเก่งกล้า ปรีชาสามารถ มีการตั้งที่ปรึกษาฮ่องเต้ มีการย้ายเมืองหลวงไปยังเป่ยผิง (Beiping) เพื่อการรณรงค์ต่อต้านพวกมองโกลทางเหนือ ด้วยการตั้งหน่วยงานดูแลทางเหนือและแนวชายแดน มีการส่งกองเรือที่ใหญ่ที่สุดของโลกไปยังมหาสมุทรอินเดีย ถึง 7 ครั้ง โดยการควบคุมบังคับการโดยเจิ้ง เหอ (Zheng He) เพื่อแสดงพลังอำนาจของจักรวรรดิ

ฉากที่ 8 ย้ายเมืองหลวงไปปักกิ่ง (The Capital Moves to Beijing)


ศัตรูสำคัญของราชวงศ์หมิงคือเผ่ามองโกล ที่ตั้งมั่นอยู่ในทะเลทรายทางตอนเหนือ เมืองหลวงนานจิงตั้งอยู่ห่างไกลขาดเอกภาพในการป้องกัน จักรพรรดิเฉิงสู่ตั้งชื่อรัชศกว่า หยงเล่อ และเปลี่ยนนามเมือง เป่ยผิง เป็นเป่ยจิง (Beijing) และตัดสินใจย้ายเมืองหลวงไปที่เป่ยจิง (ปักกิ่ง) ในปี 1406 การก่อสร้างพระราชวังเริ่มขึ้นในปี 1407 และเสร็จสิ้นในปี 1420 ใช้เวลารวม 13 ปี การก่อสร้างได้ขยายและเพิ่มเติมแบบอย่างที่มาจากราชวงศ์หยวนโบราณ มีการขุดคลองเสร็จสิ้นการขนส่งมีความปลอดภัยและราบเรียบดีแล้วจึงมีการย้ายเมืองหลวงหลังจากที่จักรพรรดิเฉิงสู่ได้กระทำพิธีบวงสรวงเทพยดาฟ้าดินที่หอบวงสรวงฟ้าดินแล้ว นับจากนั้นเป็นต้นมาเป่ยจิงก็ได้กลายเป็นศูนย์กลางทางการเมือง การทหาร เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของจีน

ฉากที่ 9 จักรพรรดิผู้มีเมตตา (A Benevolent and Filial Emperor)



จู เกาชื่อ (Zhu Gaochi) โอรสองค์แรกของจักรพรรดิเฉิงสู่ ครองราชย์เป็นจักรพรรดิเหยินจง (Renzong 1377-1425) ในระหว่างที่มีเหตุการณ์เคลื่อนไหวกำจัดขุนนางกังฉินนั้นเขาก็มีกำลังจำนวนเพียง 1 หมื่นคนในการรับมือกับกองทัพจำนวน 5 แสนของหลี่ จิงหลงเพื่อปกป้องเมืองหลวง ได้รับแต่งตั้งเป็นรัชทายาทในปี 1405 ครองราชย์ใช้นามรัชศกว่า หงชี (Hongxi) ผู้มีเมตตาช่วยเหลือประชาชนผู้อดอยาก สิ้นพระชนม์ในเดือนกรกฎาคมปีเดียวกัน พระศพถูกฝังไว้ที่สุสานราชวงศ์หมิงที่เมืองเฉียนหลิง



ฉากที่ 10 กบฏจู เกาสู (Zhu Gaoxu) - The Rebellion of Zhu Gaoxu

จู จานจี (Zhu Zhanzi - 1399-1435) เป็นโอรสองค์แรกของจักรพรรดิเหยินจง ขึ้นครองราชย์นามจักรพรรดิชวนชง (Xuanzong) ใช้นามรัชศกว่า ชวนเต๋อ (Xuande) ในตอนต้นรัชกาลมีกบฏแต่ก็ไม่ได้ลงโทษ บ้านเมืองมีความมั่นคง แต่ยังมีกบฏจูเกาสู เป็นองค์ชายชาวฮั่น จูเกาสู มีพลังกายที่เข้มแข็งสามารถยกอ่างสำริดนาดใหญ่คลุมตัวได้ ด้วยความกลัวพลังของเขา จักรพรรดิชวนชงจึงสั่งให้เผาจูเกาสู ให้ตายในอ่างใบนั้น มีเสียงร้องครวญครางในฉากที่แสดงด้วย



ฉากที่ 11 เหตุการณ์ที่ tumupu – The Tumupu Incident


ฤดูใบไม้ร่วง ปี 1449 อีเซิน (Esen) ผู้นำมองโกลเผ่าออยีแรต (Oirat) เข้าตีเมืองต้าถ่ง(Datong) มณฑลซานซี สมัยจักรพรรดิหยิงจง(Yingzong) (หรือ จู ซีเจิ้น – Zhu Qizhen, 1427-1464) อำนาจการสั่งการเป็นของขันทีหวางเจิน (Wang Zhen) ตัดสินใจจัดทัพเข้าต่อสู้ 5 แสนคน ท่ามกลางการคัดค้านของขุนนาง เมื่อยกทัพไปถึงเมืองต้าถ่ง หวางเจิ้นได้ชวนฮ่องเต้ไปเที่ยวชมเมืองเว่ยจู(Weizhou)บ้านเกิดของหวางเจิ้น เพื่ออวดอำนาจและศักดา ให้กองทัพของออยีแรตก็สามารถเข้าทำลายกองทัพได้ที่ Tumupu ขุนนางก่วงเย้ จางปู และจิงหยวนถูกฆ่าตาย และจักรพรรดิถูกจับเป็นเชลย หวางเจินถูกค้อนตีจนตายโดยแม่ทัพฟานจง(Fan Zhong) เหตุการณ์นี้แสดงถึงความเสื่อมถอยของราชวงศหมิง



ฉากที่ 12 ปกป้องปักกิ่ง (Defending Beijing)

หลังจากอีเซินจับตัวจักรพรรดิหยิงจงแล้วได้เคลื่อนทัพประชิดปักกิ่งในปี 1449 ได้รับการต้อต้านจาก หยูเชียน(Yu Qian) เจ้ากรมกลาโหม เขาได้แจ้งจักรพรรดิหยิงจงถึงการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการ องค์ชายจูชีหยู (Zhu Qiyu) อนุชาพระองค์เป็นจักรพรรดิไท่จง (Daizong, 1428 -1457) และโจมตีศัตรูด้วยปืนใหญ่ กองทัพมองโกลเสียขวัญถอยร่นไปเหนือกำแพง

ในฉากเป็นการบัญชารบของจักรพรรดิไท่จงและหยูเชียนที่กำแพงพระนคร

สรุป พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ ppt ดาวน์โหลด

สรุป พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ ppt ดาวน์โหลด : หมวด 1 บททั่วไป ความมุ่งหมายและหลักการ มาตรา 6-7 จัดการศึกษา เพื่อ เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เก่ง ...