วันศุกร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2553

ปืดเทอมต้องแลหลังเพื่อแลหน้า

โรงงานทั่วไปแม้จะต้องหยุดเครื่องเมื่อสิ้นฤดูการผลิต แต่การบริหารจัดการก็ยังต้องดำเนินอยู่ เพื่อปรับปรุงซ่อมแซมระบบ ปรับรื้อใหญ่ (Overhaul) เพื่อที่จะเปลี่ยนชิ้นส่วนที่ชำรุดสึกหรอ และยังต้องประเมินผล การสรุบงบดุลประจำปีซึ่งมีความสำคัญยิ่ง
โรงเรียนก็ถือเป็นองค์กรการผลิตเช่นเดียวกัน แต่มีนักเรียนเข้าไปอยู่ในสายการผลิตและมีการปิดเทอมการผลิตเมื่อครบกระบวนการตามหลักสูตรแล้ว และการ"ปิดเทอม" มักมีความหมายสำหรับเด็ก เพราะมีโอกาสได้หยุดเรียนและได้ไปเที่ยวกับครอบครัว เลยคิดเหมาเอาว่าปิดเทอมแล้วครูก็หยุดการปฏิบัติงานและเป็นโอกาสที่ครูจะได้หยุดตามเด็กไปด้วย แต่แท้จริงแล้ว ครูยังต้องปฏิบัติงานอยู่ในฐานะเป็นบุคลากรของโรงเรียนและของรัฐ คือการวิเคราะห์ ประเมินผลงานประจำปี และมีการปรับปรุงพัฒนาระบบเพื่อรองรับการเปิดเทอมที่เป็นฤดูการผลิตใหม่

ดังนั้น โรงเรียนจึงต้องมีการทำให้กระบวนการบริหารครบวงจร หากมองจากวงจรคุณภาพของเดมิ่ง คือ PDCA ก็คือมีการวางแผน การดำเนินงาน การประเมินผล และการนำไปใช้

อะไร คือสิ่งที่ต้องดำเนินการในช่วงปิดเทอม
งานบริหารโรงเรียน มีงานหลักคือการบริหารงานวิชาการ งานบริหารบุคคล งานงบประมาณ และงานบริหารทั่วไป แต่มีงานสำคัญที่ต้องดำเนินการในช่วงปิดเทอม ได้แก่

การรายงานประจำปี และ
การเตรียมความพร้อมการบริหารโรงเรียน

1. การจัดทำรายงานประจำปี
ผู้เกี่ยวข้องการทำรายงาน คือ ครู และผู้บริหารโรงเรียน ดังนี้

1.1 การรายงานประจำปีของครู
ครูมีภารังานที่ต้องมีการสรุปผลงาน 2 ลักษณะ คือ งานสอน และงานพิเศษ ดังนี้

1.1.1 การรายงานการสอน
เป็นการรายงานผลการใช้หลักสูตร ที่ไดรับมอบหมายงานการสอนประจำวิชาหรือประจำชั้น ครูจึงมีการรายงาน 2 กลุ่ม คือ
1) รายงานผลการใช้หลักสูตรรายวิชา ในฐานะผู้บริหารจัดการรายวิชา และ
2) การรายผลการใช้หลักสูตรระดับชั้น ในฐานะครูประจำชั้นของระดับประถมศึกษา
คือ การรายงานผลการใช้หลักสูตรที่ได้รับมอบหมาย เสนอข้อเด่น ข้อด้อย และข้อเสนอแนะต่อสถานสถานศึกษา เพื่อการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรรายวิชาและหลักสูตรสถานศึกษาโดยรวม
รายงานผลการปฏิบัติงานสอน จึงเป็นการรายงานการความสำเร็จของการสอน การสร้างนวัตกรรม สื่อ และเทคโนโลยี การวิจัย เป็นต้น เป็นองค์ความรู้เกิดขึ้นในระดับปัจเจก ที่สามารถนำไปต่อยอดด้วยวงจรคุณภาพได้ต่อไป และเพื่อประกอบการขอรับความชอบและเพิ่มวิทยฐานะ

1.1.2 รายงานผลการปฏิบัติงานโครงการ

เป็นการรายงานผลการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายพิเศษนอกเหนือจากการสอน ปกติเป็นงานทั่วไปที่โรงเรียนได้มอบหมายให้เป็นเจ้าภาพตามโครงสร้างการบริหาร เช่น งานฝ่ายบริหารบุคคล งานการเงิน เป็นต้น หรือการได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบโครงการสำคัญต่าง ๆ เช่น โครงการอนามัยโรงเรียน งานการปกครองนักเรียน งานระบบดูแลยักเรียน งานพัฒนาห้องสมุด เป็นต้น

แนวทางจัดทำรายงานของครู


การรายงานความสำเร็จโครงการและกิจกรรม ได้จากวัตถุประสงค์โครงการ โดยปกติควรดำเนินการดังนี้
1) รายงานแบบบันทึกเสนอสรุปรายงานความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ อาจเสนอแบบสรุปเท่านั้นหรือการเสนอพร้อมเอกสารตามแบบที่ตกลงไว้
2) รายงานโครงการแบบเอกสารเย็บเล่ม เป็นการสรุปผลความสำเร็จตามกรอบวัตถุประสงค์โครงการ ประกอบด้วยส่วนที่เป็นสภาพปัญหาความเป็นมา และผลการดำเนินงาน (วัตถุประสงค์) และภาคผนวก ประกอบด้วย โครงการ ประกาศ คำสั่งแต่งตั้ง การจัดองค์กร การประสานงาน ปฏิทินดำเนเนงาน ภาพถ่ายและอื่น ๆ
3) รายงานโครงการลักษณะผลงานวิจัย หรืออิงรูปแบบงานวิจัย ประกอบด้วย 5 บท จะทำให้ไดผลงานทางวิชาการเพื่อการค้นคว้าอ้างอิง

1.2 การรานงายประจำปีผู้บริหาร(รายงานประจำของโรงเรียน)

ภารงานของผู้บริหารคืองานโรงเรียน จึงเป็นการรายงานประจำปีของโรงเรียน มี 2 ลักษณะ คือ การใช้หลักสูตร และการบริหารงานตามแผนปฏิบัติการ ดังนี้

1.2.1 รายงานผลการใช้หลักสูตรสถานศึกษา

เป็นการรวบรวมผลจากการปฏิบัติงานสอนของครู จากการบริหารจัดการหลุกสูตรรายวิชาทุกคนทุกชั้น นำข้อเสนอแนและข้อด้อยต่าง ๆ มาพัฒนาปรับปรุง สิ่งที่ควรดำเนินการได้แก่

1) การรายงานผลการจัดการศึกษาตามหลักสูตร

ความสำเร็จการจัดการศึกษาตามจุดมุ่งหมายหลักสูตร คือ ผลสัมฤทธิ์ตามสาระวิชา พัฒนาการตามคุณสมบัติทีพึงประสงค์ของนักเรียน ในระดับสถานศึกษา เขตพื้นที่และระดับชาติ

2) การปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา

คือการปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรสถานศึกษา จากข้อปัญหาและเสนอแนะและแก้ไขเพิ่มเติมแล้ว รายงานและขอรับความเห็นชอบต่อกรรมการสถานศึกษาที่จะนำไปใช้ในปีการศึกษาต่อไป หลักสูตรอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้บ่อยเท่าที่มีความจำเป็นของแต่ละสถานศึกษา

1.2.2 การรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี

คือการรายงานผลการดำเนินโครงการต่าง ๆ ของแผนปฏิบัติการประจำปีมาเป็นกรอบในการทำรายงาน แสดงความก้าวหน้าในการบริหารจัดการในรอบปีต่อกรรมการสถานศึกษาและสาธารณชนได้ทราบ และเป็นแนวทางในการวางแผนพัฒนาและแผนปฏิบัติการประจำปีต่อไป

2. การเตรียมคามพร้อมระบบการบริหารจัดการ

โรงเรียนต้องสร้างความตระหนักอย่างสูงต่อคุณภาพที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียน กล่าวง่าย ๆ เป้าหมายสูงสุดของการบริหารจัดการคือ "ผู้เรียนมีคุณภาพ" โรงเรียนจึงมีความจำเป็นต้องมีการวางระบบแผนกลยุทธ์และปฏิบัติการประจำปีด้วย "ห้องเรียนคุณภาพ ครูคุณภาพ การบริหารจัดการคุณภาพ และแผนคุณภาพ" เพื่อให้เป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องและเป็นระบบ ต้องเตรียมความพร้อมอย่างน้อย 2 ด้าน คือ 1) ด้านแผนดำเนินงานและ 2) ด้านหลักสูตร

2.1 ความพร้อมด้านแผนดำเนินงาน

แผนของโรงเรียนควรเตรียมการไว้ 2 อย่าง คือ

2.1.1 แผนพัฒนา(แผนกลยุทธ์)

หมายถึงแผนที่กำหนดแนวทางการดำเนินงานไว้ล่วงหน้าหลายปี อาจเป็น 3 ปี 5 ปี อาจเรียกวาแผนพัฒนา หรือแผนกลยุทธ์ หรือธรรมนูญโรงเรียน โดยอาศัยจากกรอบแนวทางของรัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และหลักคิดทฤษฎีการบริหารจัดการปัจจุบัน ได้แก่

- การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง 2552-2561 (สามดี สี่ใหม่) แผนพัฒนาการศึกษา แผนกลยุทธ์ของ สพฐ. เป็นต้น

- หลักคิดทฤษฎีการบริหารจัดการ ที่สำคัญ ได้แก่

1) ผู้นำการเปลี่ยนแปลง มุ่งเน้นภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, การสรางแนวคิดใหม่-Paradigm, การบริหารความเสี่ยง-Risk Management, การบริหารโดยใช้สถานศึกษาเป็นฐาน-SBM) เป็นต้น

2) การบริหารจัดการแนวใหม่ (New Public Management-NPM) ที่เน้นความประหยัด ประโยชน์ ประสิทธิภาพ คุณภาพ และความพึงพอใจของลูกค้าเป็นสำคัญ การบริหารจัดการองค์กรจึงต้องพร้อมด้วย แผนกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพ การจัดองค์กรที่มีประสิทธิภาพ มีเครื่องมือวิธีการที่ทันสมัย บุคลากรคุณภาพที่มีน้อยแต่เชี่ยวชาญทุกด้าน(Multi-skill) เป็นต้น

3) การบริหารระบบธรรมภิบาล (Good Governance) ได้ออกเป็นกฎหมายเพื่อเป็นหลักในการปฏิบัติราชการของไทยตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา เน้น 6 หลักการบริหารที่ดี คือ 1) หลักนิติธรรม 2) หลักคุณธรรม 3) หลักความโปร่งใส 4) หลักการมีส่วนร่วม 5) หลักความรับผิดชอบและ 6) หลักความคุ้มค่า

แนวทางการจัดทำแผนพัฒนา

มีกรอบแนวทางการ ได้แก่ การวิเคราะห์องค์กร (SWOT Analysis) การกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) กำหนดภารกิจ (Mission) กลยุทธ์ (Strategies) กิจกรรมหรือโครงการ และ งบประมาณช่วง 3-5 ปี เช่น 2553-2555 เป็นต้น เป้นการกำหนดกรอบความต้องการล่วงหน้าเพื่อเป็นลู่ให้กับแผนปฏิบัติการประจำปี

การจดทำแผนพัฒนาจึงเป็นงานใหญ่ที่ต้องการการมีส่วนร่วมสูงจากทุกภาคี

2.1.2 แผนปฏิบัติการประจำปี

หมายถีงการนำเป็นรายปีของแผนพัฒนามากำหนดการปฏิบัตืงานรายปี ในระบบการบริหารโรงเรียนก็จะครอบคลุมทั้งงานบริการวิชาการและงานบริหารทั่วไปด้วย โดยจะต้องนำวิสัยทัศน์ ภารกิจ กลยุทธ์ต่าง ๆ ของโรงเรียนมากำหนดเป็นรายละเอียดเป็นแผนงานและโครงการอย่างชัดเจน

2.2 การเตรียมความพร้อมหลักสูตรสถานศึกษา

2.2.1 กำหนดเป้าหมาย จุดเน้นของหลักสูตร ที่ขัดเจนเป็นแนวทางในการจัดการศึกษา

ระดับโรงเรียนมีความจำเป็นต้องกำหนดจุดเน้นของหลักสูตร ให้ชัดเจน ให้เห็นว่าจะทำอย่างไร ให้ผู้เรียนมีคุณภาพให้ผู้ปกครองเห็นซึ่งเป็นวิธีคิดของตนเอง เป็นไปตามบริบทและลักษณะเฉพาะต้ว
การที่โรงเรียนมีจุดเน้นแนวทางเป็นของตนเอง จึงแสดงความเป็นอัตลักษณ์ของโรงเรียน (School หมายถึงสำนักเรียนที่มีหลักคิดเฉพาะตน) แสดงความมีศักยภาพ ความหลากหลาย(Diversity)ในวิธีคิด ความเป็นนิติบุคคล และความสอดคล้องในวิถีชีวิตที่ชุมชมที่แตกต่าง
เช่น กรณีของโรงเรียนโทเฮ ของนิวซีแลนด์ กำหนดจุดเน้นผู้เรียนว่า "ต้องอ่านเก่งและ คิดเก่ง" เป็นสำคัญ และมีแนวปฏิบัตคือ จะเรียนภาษาอังกฤษทุกวัน ๆ ละ 45 นาที เพื่อการ "อ่านเก่ง" และเรียนคณิตศาสตร์ทุกวัน ๆ ละ 45 นาทีเช่น เพื่อจะได้เป็นคน "คิดเก่ง" เวลาที่เหลือก็จะบูรณาการโดยใช้ 8 สาระวิชาตามหลักสูตร ภาคบูรณาการจึงมีความสำคัญที่จะใช้กิจกรรมและโครงงานเพื่อพัฒนาตัวเด็ก อาจเป็นการเล่นเกมส์ กีฬา ทำงาน เล่นดนตรี การขับร้อง การเดินทาง เดินป่า ขี่จักรยาน การทัศนศึกษา อยู่ในแผนบูรณาการที่พร้อมจะส่งเสริมความตัวตนของเด็กทั้งสิ้น


แนวทางในการดำเนินการ ได้แก่

1) กำหนดเป้าหมาย หรือจุดเน้นในการจัดการให้เป็นไปตามหลักสูตร โดยการมีส่วนร่วม ชัดเจน กระชับ จำง่ายและเป็นไปได้
2) กำหนดมาตรการ เป็นมิติที่จะนำไปขับเคลื่อน เป็นไปตามลักษณะขององค์การ ได้แก่ (1) ด้านระบบการบริหารจัดการ (2) ด้านการใช้หลักสูตรสู่การจัดการเรียนการสอน(หรือห้องเรียนคุณภาพ) (3) ด้านระบบการนิเทศภายใน (5) การประชาสัมพันธ์ (6) การติดตามและประเมินผล (7) การรายงานผล และ(8) อื่น ๆ ที่จะทำให้เป็นไปตามเป้าหมาย
การกำหนดมาตรการจะเป็นหลักประกันความเสี่ยงต่อการไม่ไปถึงจุดหมาย
3) การขับเคลื่อนทุกมาตรการด้วยวงจรคุณภาพ PDCA
4) กำหนดข้อตกลง (House Rules) แนวปฏิบัติร่วมกันเป็นช้อตกลงเบื้องต้น
5) กำหนดปฏิทินการทำงานตลอดปี

ตัวอย่าง จุดเน้นหลักสูตรของโรงเรียนโทเฮ โรงเรียนขนาดเล็กของนิวซีแลนด์ มีดังนี้

(1) สร้างนิสัยรักการเรียนรู้ (Creating a love for Learning.)

(2) จัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติ โดยใช้บริบทที่เกี่ยวข้องกับชีวิตเด็ก (Active Learning in meaningful contexts)

(3) สนับสนุนให้เด็กประสบความสำเร็จ (Setting children up for Success.)

(4) มีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมระหว่างชั้นเรียน (Co-operative Learning between classes.)

(5) เรียนรู้เกี่ยวกับการคิดและกระบวนการเรียนรู้ (Learning about thinking and the Learning Process.)
(6) มีทักษะพื้นฐาน หลักสูตรมีความสมดุล นักเรียนมีความเป็นเลิศ (Basics, Balance, Excellence.) (Creating a Put up Zone.)

(7) มีทัศนคติและค่านิยมด้านความภาคภูมิใจ นักเรียนกล้าคิดกล้าทำ มีความมานะอดทน (Attitudes and Values: Aroha, Mana, Pride, Risk-Taking, Perseverance)

(8) ให้คุณค่ากับค่านิยมและการปฏิบัติที่แสดงถึงความขยันขันแข็ง (Valuing intelligent behavior)

(9) มีการคิดไตร่ตรอง สามารถสะท้อนความรู้สึกนึกคิดของตนได้ (Reflective thinking)

การเตรียมความพร้อมของโรงเรียน จึงมีความจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อที่จะให้การบริหารจัดการศึกษาเป็นไปอย่างเท่าทัน มีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพ โดยดำเนินการในช่วงปิดเทอมซึ่งเป็นช่วงที่มีความเหมาะสมที่สุด


อ้างอิง

วันจันทร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2553

แก่งกะเบา มีนาห้าสาม ซำบาย...ดีบ๊อ

แก่งกะเบา

แหล่งท่องเที่ยวที่เคยสร้างชื่อเสียงมานาน จากภาพยนตร์เรื่องภูติแม่น้ำโขง ที่โด่งดังจากการนำแสดงของ บรุ๊ค ดนุพล และ กบ สุวนันท์ เมื่อหลายปีก่อน ถึงปัจจุบันแก่งกะเบาก็ยังคงถูกกล่าวถึงและอยากไปเที่ยวชม ด้วยธรรมชาติของแก่งน้ำโขงที่น่าเที่ยวและหมูหัน เมนูอาหารที่ขึ้นชื่อ

อยู่ในเขตอำเภอหว้านใหญ่ติดแดนอำเภอธาตุพนม มีหลายเส้นทาง คือ แยกบ้านดอนสวรรค์ของถนนสายมุกดาหาร-ธาตุพนม แล้วผ่านนิคมทหารผ่านศึก หรือ จากอำเภอหว้านใหญ่ หรือหรือจากอำเภอธาตุพนมผ่านบ้านน้ำก่ำ สภาพแก่งกะเบา เป็นแก่งหินที่พบและลงเล่นบางส่วนได้เฉพาะในฤดูน้ำลดระหว่างกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายนเท่านั้น

เดือนมีนาคมปีนี้(2553) ระดับน้ำลดลงสามารถลงเล่นได้ ร้านค้าขายอาหารเครื่องดื่มมีความคึกคัก มีคณะทัศนาจรเข้ามากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะครูนักเรียนที่เดินทางมานมัสการพระธาตุพนมก็มักจะถือโอกาสไปแวะเที่ยว

มีโอกาสไปแวะก็ถือโอกาสนำภาพมาฝาก ด้วยกล้องแคนนอน IXUS 60 เก่าๆ


ป้อมยามตำรวจทางลงแก่กะเบา ตรงไปเป็นถนนสู่อำเภอหว้านใหญ่ ส่วนด้านหลังคืออำเภอธาตุพนม


ภาพถ่ายไปทางทิศเหนือ จะเห็นฝั่ง สปป.ลาว ทางด้านขวา เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ และที่ทำการ ส่วนด้านซ้ายเป็นบ้านโสกแมวของไทย วันนี้น้ำลดลงยังไม่ถึงต่ำสุด แก่งเล่นได้แถบชายฝั่งเท่านั้น เรือเล็กยังสามารถจับปลาน้ำโขงให้ได้ชิม



ร้านบริการอาหารก็ตามน้ำลงไปบริการถึงที่ เล่นน้ำได้เฉพาะเขตปลอดภัยเท่านั้น มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในช่วงสงกรานต์เพราะสามารถข้ามฝั่งไปเที่ยวสนุกสนานข้ามวันข้ามคืนได้






ภาพถ่ายลงไปทางทิศใต้ โขงขาลง แม่น้ำโขงยังกว้างและยังมีชีวิต





ร้านค้าที่เคยสร้างไว้คราวที่เก่งกระเบามีชื่อเสียงใหม่ๆ ยังคงอยู่ได้เป็นบางแห่งติดถนนหลัก ส่วนใหญ่จะไปสร้างใหม่ที่ใกล้แก่งและลูกค้าพลุกพล่านกว่า...รวมทั้งหมูย่างเจ้าเก่า ขาประจำต้องตามลงไปอีกนิด





คงเหลือเจ้าเปิบพิสดารนี้แหละยังคงยืนหยัด
หมูหัน คือเมนูอาหารขึ้นชื่อของที่นี้ ไก่หันก็เป็นแนวโน้มใหม่
หนุ่มร้อยเอ็ดเจ้าของสูตรบอกว่ารสชาดไม่แพ้กัน


หมูหัน วันนี้ ... 500 และ 620 (บาท)...ตามขนาดและความพอใจ




ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2553

ข้าวหอมทอง ข้าวฮางนาบ่อ วาริชภูมิ

ข้าวหอมทอง บ้านนาบ่อ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัสกลนคร
http://bbs.keyhole.com/ubb/postcatcher.php?PostWizardFile=20100317220504-4ba1b4800d3ab1.92045318
ข้าวหอมทอง หมายถึง ข้าวฮางที่เป็นข้าวหอมมะลิ ผลิตที่อำเภอวาริชภูมิ ทั้งข้าวเจ้าและข้าวเหนียว

ข้าวฮาง คือ อะไร
ข้าวฮาง หมายถึง ข้าวที่ผ่านการแช่และนึ่งด้วยไอน้ำจนสุกแล้วจึงนำไปสีเอาแกลบออกจนเป็นข้าวสาร นำไปนึ่งรับประทาน มีกลิ่นหอมละมุนและรสชาดดี

ข้าวฮาง มีความสำคัญอย่างไร
เป็นข้าวที่อุดมด้วยสารอาหารครบถ้วน จมูกข้าวที่มีมีวิตามินปีและสารกาบาที่มีประโยชน์มิได้ถูกขัดสีออกเหมือนกันข้าวสารจากโรงสีที่วางจำหน่ายกันอยู่ทั่วไป การรับประทานข้าวฮางจึงเป็นการทานข้าวที่ได้ประโยชน์ต่อสุขภาพมาก ราคาอาจสูงกว่าบ้างแต่ก็ถือว่าเป็นการซื้อสุขภาพไว้

ข้าวฮาง มีกระบวนการผลิตอย่างไร
1. การแช่ คือการนำข้าวเปลือกที่คัดเลือกแล้ว ไปแช่น้ำประมาณ 1 คืน เพื่อให้ข้าวเปียกโชกอิ่มน้ำและเกิดการผลิตสารกาบา พบว่ากลุ่มแม่บ้านจะใช้โองมังกรเป็นวัสดุ
2. การนึ่ง โดยการนำข้าวที่แช่แล้วนำไปนึ่งจนข้าวสุก วัสดุที่ใขก็เป็นมวย หรือหวดที่เป็นหัตถกรรมพื้นบ้านอีสาน
3. ตากแห้ง คือ การนำข้าวเปลือกที่นึ่งสุกแล้วไปตากจนแห้งสนิท อาจใช้วิธีอบด้วยเครื่องอบแสงอาทิตย์ซึงจำเป็นในหน้าฝน ขั้นตอนนี้อาจใช้เวลาหลายวันเพื่อให้ข้าวแห้งและมีความชื้นน้อยที่สุด
4. การนำไปสี ด้วยเครื่องสีข้าว กลุมแม่บ้านใช้เครื่องสีขนาดเล็กเพื่อควบคุมคุณภาพและปริมาณได้
5. การคัดเมล็ดและบรรจุ ข้าวที่สีแล้วจะผ่านการคัดเมล็ดที่เสียทิ้งไป เป็นขั้นตอนที่ละเอียดและใช้ความเพียรสูงในการคัดข้าวคุณภาพทุกเมล็ด ก่อนบรรจุโดยมีบรรจุภัณฑ์ 2 แบบ คือ ชนิดถุง 1 กิโลกรัม และชนิดขวดพลาสติก ขนาด 5 กิโลกรัม ราคาปัจจุบันกิโลกรัมละ 50 บาท



แม่บ้านใช้วิธีการนึ่งแบบเตารวมที่กลุ่มแม้บ้านผลิตขึ้นเอง ทำไว้หลายเตาเพื่อเร่งการผลิต เป็นเตาที่ใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิง

วัสดุที่ใส่ข้าวเพื่อนึ้งที่เห็นนี้ ชาวบ้านเรียกว่า "มวย" แต่ละเตา สามารถนึ่งได้คราวละ 5 มวย

แท่นตากข้าวเปลือกที่นึ่งสุกแล้ว ทำโครงเหล็กและตาข่ายเขียว ราคาประหยัดและทนพอสมควร มีระบบแสงแดดและการระบายอากาศดี

ภานในอาคารกลุ่มแม่บ้าน จะมีโรงสีขนาดเล็กที่แม่บ้านดำเนินการได้เอง ใช้พลังขับไฟฟ้า มีระบบโรงงานที่ถูกสุขลักษณะดีมาก




การคัดเมล็ดเป็นขั้นสำคัญท้ายสุดก่อนบรรจุส่งจำหน่าย

ผลิตภัณฑ์ที่เป็นสินค้าระดับห้าดาวของกลุ่มแม่บ้าน












บักหิน มนุษย์นิรนามยุค 3G ทรหด ทนทาน ด้านโรค

บักหิน

เป็นชื่อที่ผู้เขียนตั้งเองเพื่อสื่อกับผู้อ่าน เป็นมนุษย์ตัวเป็นๆ ที่อยู่อย่างไม่เหมือนมนุษย์ปกติเขา เคยเห็นเขาครั้งแรกเมื่อปี ๒๕๓๙ ตอนนั้นได้ไปเป็นศึกษาธิการอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม เห็นเขาเดินไปขอซื้อทินเนอร์ขวดใหญ่ที่ร้านตัดกระจกในเขตเทศบาลเมืองนครพนม เจ้าของร้านบอกว่าเขาซื้อแล้วจะนำไปดมและหมดไปในเวลาไม่นาน แล้วจะเวียนมาซื้ออีกบ่อยครั้ง เขาจะขอเงินเพื่อซื้อทินเนอร์มาดม ส่วนอาหารก็ค้นเอาจากถังขยะซึ่งมีอยู่ในถนนทุกสายทั่วเมืองและจากผู้มีจิตเมตตาโดยไม่ต้องซื้อ เขามีกางเกงก้นขาด เสื้อขาดวิ่น ผมเป็นก้อนเป็นแพยาวปะบ่าย้อยลงมา หากจะดึงออกมาจะยาวเป็นเมตร สะพายถุงผ้าเก่า ๆ เดินไปท่ามกล่างเสียงเห่าของสุนัข เขาก็จะหันหลังกลับไล่บ้างอย่างไม่แยแสนัก

หลังจากนั้น ก็พบเขาวนเวียนอยู่ที่ธาตุพนมระหว่างงานไหว้ธาตุพนมอยูพักหนึ่ง ต่อมาจะเห็นเขาเดินตามถนนสายธาตุ-นครพนมนานหลายเดือนจนชินตาอยู่จนคิดว่าเขาเป็คนแถวนั้น หลังนั้นมาก็หายไป จนเกือบลืมก็พบเขาเดินบนถนนสายธาตุพนม-สกลนคร และจะพบเขากลับไปนครพนมและธาตุพนมอีกแล้วก็หายไปอีก จนคิดว่าเขาจากโลกนี้ไปแล้ว

สุดท้าย ผู้เขียนได้มาปฏบัติงานที่อำเภอสว่างแดนดิน ตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ ก็เห็นเขาปักหลักอยู่ที่อำเภอพังโคน เขาแบกถุงผ้าเดินค้นหาอาหารตามถังขยะเช่นเดิม และเห็นไปขอซื้อน้ำมันเบนซินซูปเปอร์ไปดมข้างปั้ม ปตท.บ้านนาเหมืองคิดว่าน่าจะใข้แทนทินเนอร์ ดูรูปร่างแล้วก็เห็นอย่างนี้มาตั้งแต่เห็นครั้งแรก กางเกงขาดจนเห็นก้น รองเท้าแหว่ง เสื้อขาดรุ่งริ่ง ผมเป็นแพซึ่งเป็นลักษณะเดียวกับคนที่ดมกาวที่เคยเห็นที่อำเภอธาตุพนมที่มีอยู่หลายคนและเขาเหล่านั้นก็เสียชีวิตหมดแล้ว
ช่างมี ช่างตัดผมเล่าว่า เดิมเขามีอาชีพถีบสามล้อที่ทารถพังโคนแล้วเลิกไปเพราะติดกาว เดิมไม่ทราบว่ามาจากไหนแต่เคยอยู่ที่บ้านนาเหมือง ใกล้กับสี่แยกพังโคน สกลนคร


อาหารจากถังขยะ กินทุกอย่างที่พบ ร่างกายน่าจะทนทานด้วยภูมิคุ้นกันที่ดีมาก จนไมเห็นอาการเจ็บป่วย




สภาพที่เคยเห็นแต่แรกเป็นอย่างไร ทุกวันนี้ก็เหมือนเดิม จากสภาพที่เป็นอยู่จะไม่มีใครสนใจ โดดเดี่ยว ไร้ญาติ ทนทานทรหดอย่างนี้
คำถามที่หลายท่านอาจตั้งคำถาม อาจตรงกัน คือ
1. เขาดำรงชีวิตอย่างที่เป็นอยู่นี้ได้อย่างไร อะไรคือปัจจัยที่ทำให้เขาอยู่รอดมาได้ ทนทานไม่เจ็บป่วย
2. ทางการ ได้แก่ ตำรวจ อำเภอ หมู่บ้าน ต่างก็มีหน้าที่ดูแลมนุษย์ที่เป็นราษฎร ทำไมจึงละเลยไม่ดูแลแยแส เพราะคนพวกนี้อาจกระทำในสิ่งไม่พึงประสงค์ และพบว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นพบเห็นได้ทั่วไป
3. การแพทย์น่าจะศึกษาลักษณะพิเศษ ภูมิต้านทาน และร่างกายเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ และการบำบัดโรคที่มีอยู่ในตัวเป็นกรณีศึกษา โดยอาจจัะพบฮอร์ดมน หรือสารบางชนิดที่เป็นปรธโยชน์และโทษ

เจตนาก็เล่าสิ่งที่เห็น
เพราะถือว่า เขาเป็นมนุษย์ตัวเป็นๆคนหนึ่งที่เรียกได้ว่า ทรหด ทนทาน ด้านโรค เหนือมนุษย์จริง ๆ
...

วันพุธที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2553

การยกระดับคุณภาพการศึกษาภารงานสำคัญของเขตพื้นที่







ความนำ
ในการจัดการศึกษาปัจจุบันมีจุดมุ่งหมายสูงสุด (Ultimately Goals) คือ "คุณภาพผู้เรียน" การศึกษาเรากำลังประสบอยู่ก็คือ "คุณภาพผู้เรียน" นั่นเอง
หากมองในภาพรวมระดับประเทศจะพบว่าผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนจากการประเมินของ สำนักทดสอบทางการศึกษา (สทศ.) ส่วนใหญ่จะมีความน่าห่วงคือการมีค่าเฉลี่ยที่ตำกว่าค่าเฉลี่ยกลางของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังกัดของ สพฐ.
หากเปรียบเทียบกับสากลจากการทดสอบ PISA (Programme for International Student Assessment) และTIMSS (Trends in International Mathematics and Science Study) แล้ว สสวท.มีผลการวิเคราะห์ดังนี้

PISA เป็นการวัดเรื่องการรู้หนังสือ (Literacy) เน้นการนำความรู้และทักษะไปใช้ในชีวิตประจำวัน การเผชิญเหตุการณ์จริง การเตรียมตัวเป็นประชาชนในอนาคต โดยประเมินเด็กอายุ 15 ปีที่จบการศึกษาภาคบังคับของประเทศสมาชิก 3 ด้าน คือด้านการอ่าน ด้านคณิตศาสตร์ และด้านวิทยาศาสตร์ พบว่า ในปี 2000 ด้านการอ่านเด็กไทย อยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย OECD (Organization for Economic Coorperation and Development) อยู่ในลำดับค่อนไปทางท้ายของตาราง ที่ 32 ใน 39 ประเทศ และค่าเฉลี่ย 431 และมีค่าความสามารถในการอ่านระดับ 2 ใน 5 ระดับ
หมายถึง "มีความสามรถในการอ่านระดับพื้น ๆ กล่าวคือสามารถอ่านและจับใจความได้ต่อเมื่อข้อความค่อนข้างตรงไปตรงมา สามารถอ้างอิงหรือเปรียบเทียบได้ในระดับต่ำ"
TIMSS มีประเทศสมาชิกร่วมทดสอบในปี 2007 จำนวน 59 ประเทศ วิชาคณิคศาสตร์ อนู่ในอันดับที่ 29 ด้วย 441 คะแนน ส่วนวิชาวิทยาศาสตร์ อยู่ในอันดับที่ 21 ด้วย 571 คะแนน

คงไม่จำเป็นต้องลงรายละเอียดระดับเขตพื้นที่ให้เสียรังวัด แต่หากถามว่าแล้วใครจะเป็นผู้แสดงความรับผิดชอบที่แท้จริงในเรื่องนี้และจะมีวิธีการแก้ไขกันอย่างไร

เรื่องการรับความผิด คงไม่มีใครอยากรับไว้เว้นแต่ความชอบ ถามครูผู้สอนก็อาจจะโบ้ยไปที่ผู้บริหารที่ไม่ให้ความเอาใจใส่ที่ดีพอ หากถามผู้บริหารก็รับรองว่าโบ้ยไปให้เขตพื้นที่ในฐานผู้บังคับบัญชาดูแล ผู้อำนวยการเขตเองก็คงไม่กล้าโบ้ยไปยังสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐานแต่ที่น่าจะทำก็คือโบ้ยไปที่ผู้บริหารโรงเรียนย้อนลงมา คือพูดง่าย ๆ ว่า มันจะต้องมีที่ลงให้ได้ ไม่มีใครหรอกที่อยากจะให้คนอื่นมารุ่มชี้ว่าความผิดอยู่ที่ตนเอง

ใคร...คือองค์กรที่สาธารณชนคาดหวัง
ระดับประชาชนผู้แกครอง ชาวบ้านทั่วไปจะมองไปที่โรงเรียน เพราะโรงเรียนเป็นศูนย์การพัฒนาการเรียนรู้ คุณภาพและมาตรฐานเด็กที่พวกเขาสัมผัสและแตะต้องได้

แต่ในระดับของนักบริหารจัดการ นักการศึกษา นักการเมือง นักปกครอง ตลอดจนผู้นำท้องถิ่นจะมองมาที่ระดับเขตพื้นที่ เพราะเห็นว่าเป็นศูนย์กลางการบริหารจัดการที่เป็นองค์กรเดียวมในพื้นที่ของกระทรวงศึกษาธิการ ที่มีองค์คณะบุคคลสามฝ่าย มีการส่งมอบนโยบายและแนวทางมาให้ดำเนินการ และไม่อาจปัดความรับผิดชอบได้ เพราะทิศทางการบริหารจัดการ จะมีคุณภาพมาตรฐานอย่างไร มีระดับความเข้มข้นในการปฏิบัติงานในโรงเรียนเท่าใดนั้นอยู่ที่เขตพื้นที่การศึกษา
ดังนั้น ผู้นำตัวจริง ก็คือ...เขตพื้นที่การศึกษา

เขตพื้นที่การศึกษา ควรทำอย่างไร
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีบทบาทสำคัญในการเป็นศูนย์กลางการบริหารจัดการศึกษาสูคุณภาพและมาตรฐาน จึงควรแสดงศักยภาพที่จะเอื้อต่อการการสร้าง "คุณภาพผู้เรียน" ในเรื่องต่อไปนี้

1. เข้าใจและเข้าถึงปัญหาด้านคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา
การเตรียมความพร้อมฐานข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ทั้งจากสำนักทดสอบทางการศึกษา (สทศ.)สถาบันส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) สถาบันระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับ PISA และ TIMSS ตลอดจนสถานศึกษาในสังกัดทุกแห่ง มีฐานข้อมูลที่พร้อมครบถ้วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลปฐมภูมิที่จำเป็นต่อการนำมาประมวลผล
สิ่งที่ควรดำเนินการ คือ
1.1 จัดระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อ่การบริหารและวางแผนทางการศึกษาที่เป็นปัจจุบัน โดย พัฒนาระบบข้อมูลด้านคุณภาพ มาตรฐาน ปัจจัยการบริหารจัดการ การลำดับความสำคัญประเด็นปัญหาและอุปสรรค ที่เป็นมาตรฐานเดียวกันใช่ร่วมกันทั้งในระดับองค์กรภายในและสถานศึกษา
1.2 จัดระบบสื่อสารสนเทศและระบบออนไลน์เพื่อการเข้าถึงบริหารจัดการที่สามารถนำไปใช้อย่างมีคุณภาพ
1.3 แผนภูมิ แผนผัง หรือระบบจีพีเอสเพื่อการบริหารเครือข่าย และเขตบริการของโรงเรียน
1.4 การจัดองค์กรประสิทธิภาพต้นแบบและผู้รับผิดชอบที่สอดรับกับภารกิจหลักขององค์กร
1.5 การสร้างความตระหนัก พัฒนาประสิทธิภาพ ศักยภาพบุคลากรให้มีความพร้อมสูงในการทำงาน

2. กำหนดทิศทางการทำงาน
ควรเน้น "คุณภาพผู้เรียนเป็นสำคัญ" เป็นเป้าหมายสุดท้าย ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และมีวิธีดำเนินการ ได้แก่
2.1 การทำแผนกลยุทธ์ วิเคราะห์องค์กร กำหนดวิสัยทัศน์ กำหนดเป้าหมายความสำเร็จ ภารงาน แผนงานระยะยาว 3-5 ปีอย่างชัดเจน เช่น การยกระดับผลสัมฤทธ์ คุณภาพและมาตรฐานที่คาดหวัง สอดคล้องกับมาตรฐานของ สพฐ.และชาติ
2.2 การทำแผนปฏิบัติการ ที่สอดคล้องกับกลยุทธิ์และแนวทางองค์คณะบุคคลทั้งสามฝ่ายเสนอแนะ
2.2 การดำเนินงานขององค์กรระดับเขตพื้นที่ ได้แก่ คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา (ก.พท.) คณะกรรมการนิเทศ ติดตามและประเมินผล (ก.ต.ป.น.) และอนุกรรมการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ).เขตพื้นที่ ให้มุ่งเน้นไปที่"คุณภาพผู้เรียนเป็นสำคัญ" เช่น การบรรจุแต่งตั้ง การย้าย การส่งเสริมวิทยฐานะ และการอบรมพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความสัมพันธ์กับการคุณภาพ ผลสัมฤทธิ์ และการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นประเด็นชี้วัดความสำเร็จ
2.3 การจัดทำปฏิทินประจำปีการศึกษาระดับเขตพื้นที่ โดยกำหนดกิจกรรมหลักของสำนักงานไว้เป็นรายปี วันเปิดเรียน ปิดเรียน วันสำคัญ วันหยุดราชการ วันเรียนสะสมประจำภาคเรียนและปีการศึกษา กิจกรรมระดับเขต เช่น มหกรรมกีฬา มหกรรมวิชาการ เป้นต้น เพื่อให้โรงเรียนได้ถือเป็นแนวทางในการจัดทำปฏิทินและแผนงานประจำปี
2.4 จัดระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา เป็นหน้าที่โดยตรงของสำนักงานเขตตามมาตรา 48 แห่งพระราชบัญัติการศึกษาแห่งชาติ โดยให้มีการประเมินมาตรฐานการศึกษา คือ มาตรฐาน 18++ ในสถานศึกษาทุกแห่งอย่างต่อเนื่อง มีการจัดทำรายงานประจำปี จัดทำรายงานผลการประเมินและเปิดเผยต่อสาธารณชน

ปัจจัยสู่ความสำเร็จ
1. ภาวะผู้นำองค์กรเพื่อการเปลี่ยนแปลง
2. การสรางมุมมองและวิธีคิดใหม่ (Paradigm) ระดับองค์กร ต้องมุ่งไปที่จุดหมายปลายทางเดียวกัน คือ "คุณภาพผู้เรียน"
3. การบริหารจัดการแนวใหม่ (New Public Management -NPM) ที่เน้นผลประโยชน์และความพึงพอใจของผู้รับบริการเป็นสำคัญ เป็นองค์กรประสิทธิภาพต้นแบบ
4. การมีหลักธรรมาภิบาล ที่เน้นการมีส่วนร่วมและความโปร่งใสเป็นสำคัญตลอดแนว
5. โรงเรียนดำเนินการไปก่อนหรือคู่ขนานกับสำนักงานเขต


อ้างอิง

Samuel C.Certo แต่ง แปลโดย ผศ.พัชนี นนทศักดิ์, พ.ต.อ.ดร.ปิยะพันธ์ ปิงเมือง และ ดร.สมศรี ศิริไหวประพันธ์. การจัดการสมัยใหม่ Modern Management :9th. ed กรุงเทพฯ : บริษัทเพียร์สัน เอดูเคชั่น อินโดไชน่า จำกัด. 2549
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค. 2547.
Edwin B. FLippo Management : a behavioral approach. 2nd. Boston : Allyn and Bacon. 1972.
http://www.ipst.ac.th/pisa/index.htm
http://nces.ed.gov/timss/

วันเสาร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2553

เครื่องมือเครื่องใช้รุ่นคุณปู่ที่กำลังหาดูยาก


เครื่องมือเครื่องใช้รุ่นเก่าที่เคยพบในรุ่นคุณพ่อคุณปู่เริ่มจะหาดูได้ยาก เพียงไม่ถึงช่วงอายุคนสิ่งต่าง ๆ ก็เปลี่ยนแปลงมากมายเหลือเกิน การเปลี่ยนแปลงในยุคที่ใช้ใช้หลอดและทรานซิสเตอร์ ดูมันค่อยเป็นค่อยไป วิทยุทรานซิสเตอร์และเครื่องเสียงเป็นที่นิยมแพร่หลายและยาวนานพอสมควร

แต่พอไมโครชิพถูกนำมาใชแทนทรานซิสเตอร์ ระบบเครื่องมือเครื่องใช้ก็เปลี่ยนไป และเมื่อมีการนำระบบดิจิตอลมาทดแทนอนาล็อกเดิมก็ยิ่งทำให้ระบบสื่อสารสนเทศกลับพัฒนาไปอย่างรวดเร็วเป็นหลายเท่า ประดิษฐ์กรรมมีการคิดค้นใหม่ตลอดเวลา ระบบการแข่งขันรุนแรง เครื่องมือเครื่องใช้ที่เคยพอใจภูมิใจกลับตกรุ่นและไร้ค่าไปในเวลาข้ามวันข้ามเดือนจนไม่สามารถปรับต้วได้ทัน เครื่องใช้ไฟฟ้า วิทยุ โทรทัศน์ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เคยมีเคยใช้กลายเป็นของล้าสมัย ของตกรุ่นจำเป็นต้องทิ้ง เป้นของเก่า ไม่เป็นที่ปรารถนา กลายเป็นขยะวิทยาศาสตร์

ที่ตลาดเซฟวัน ริมถนนมิตรภาพขาเข้าด้านชวามือ ก่อนถึงนครราชสีมา จะพบว่า มีสินค้าทั้งเก่าและใหม่วางจำหน่ายกันอย่างคึกคักตั้งแต่หัวค่ำทุกวันยันดึก มีของเก่าสมัยคุณปู่ อย่างภาพข้างล่าง ดูดี ๆ จึงเห็นว่าเป็นวิทยุ รุ่นนี้ไม่น่าจะต่ำกว่า 60 ปี


เครื่องเล่นแผ่นเสียงอายุราว 50 ปีที่เด็กรุ่นใหม่อาจนึกไม่ออกว่าเล่นอย่างไร


เครื่องเล่นเทปหรือแถบแม่เหล็กโอเพนรีล (Open Real)ในระยะ 40 ปีที่ผ่านมา ชั่วเวลาไม่นานถูกที่แทนด้วยตลับคาสเซต (Casette) ที่ครองตลาดต่อมาอีกนานประมาณ 30 ปี และปัจจุบัน การใช้แถบบันทึกทั้งสองได้หายไปจากความนิยมของตลาดบันเทิงไปแล้วโดยสมบูรณ์


ของที่เหมือนจะเป็นชยะแต่ก็ยังมีวางขายได้ สนนราคาต่อรองกัตามความสามารถ
ลูกค้าต่างวัย ต่างวิธีคิด ต่างเป้าหมายการค้นหา
ส่วนผม....
เลือกไม่เป็น ใช้ไม่เป็น
กินไม่เป็น หร้อก...กก
จ๊ากกกกกกกกกกกกฝ

วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2553

เขื่อนน้ำอูนหน้าแล้ง2553

ความแห้งแล้งส่อเค้าชัดเจนขึ้น หลังจากมีพายุฝนตกมาผิดปกติระหว่างวันที่ 21-26 มกราคม 2553 คลุมพื้นที่ภาคอีสานตอนบอนทั้งหมดตั้งแต่มุกดาหารไปจนถึงจังหวัดเลย

เมื่อย่างเข้าเดือนกุมภ่าพันธ์ เดือน 3 (มาฆบูขา 28 กุภาพันธ์ - เดือน 8 สองหน) ที่เคยมีฝนตกก็ไม่มีแล้ว เดือนมีนาคมทั้งเดือนก็คงจะแห้งต่อไปตามการคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวัทยา รอฝนที่จะมาอีกครั้งในช่วงสงกรานต์

การที่ฝนตกลงมาก่อนหน้านี้ในเดือนมกราคม 2553 ส่งผลดีทำให้พื้นดินมีหญ้าและพืชพรรณเขียวชอุ่มขึ้นบ้าง พอบรรเทาความแห้งกรอบที่พบเห็นโดยทั่วไปทั้งภาคอีสาน

เขื่อนน้ำอูน เป็นเขื่อนดินที่สรางไว้เพื่อการฃลประทาน ได้รับปริมาณน้ำปีที่ผ่านมาน้อย น้ำไม่ล้นกระโถน ที่มีความสูงจากฐานขึ้นมาเขียนบอกว่า 185 เมตร ซึ่งปกติแล้วหากมีนำเกินปริมาณ ก็จะไหลตกลงปากกระโถนและไหลลงไปยังลำน้ำอูน สู่แม่น้ำสงครามและแม่น้ำโขงต่อไป

ถึงเดือนมีนาคม 53 นี้ จะพบว่าปริมาณน้ำลดลงมากอย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อน
เก็บภาพมาฝาก





















ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

สรุป พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ ppt ดาวน์โหลด

สรุป พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ ppt ดาวน์โหลด : หมวด 1 บททั่วไป ความมุ่งหมายและหลักการ มาตรา 6-7 จัดการศึกษา เพื่อ เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เก่ง ...