วันจันทร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2557

กาลครั้งนั้นกับการเป็นช่างของ AIR AMERICA

กาลครั้งนั้น...

ในปี 2514-2516 ได้มีโอกาสเป็นหนึ่งในทีมงานช่างภาคสนาม (Line Service Mechanic) ในตำแหน่งช่างซ่อมอากาศยานชั้นสาม (Aircraft Mechenic III) ของบริษัทแอร์อเมริกา (Air America Inc.) ที่ฐานบินอุดรธานี ซึ่งเป็นบริษัทรับซ่อมเครื่องบินบางรุ่นให้กับฐานทัพสหรัฐ รับผู้ที่จบระดับอนุปริญญา แต่เราก็จบเหมือนกันแต่เป็นวุฒิทางครู (ป.กศ.สูง-จากวิทยาลัยครูมหาสารคาม) เขาก็รับและฝึกอบรมหลักสูตรช่างซ่อมเครื่องบิน (Mechanic Trainee) ที่ศูนย์ฝึกของบริษัท มีผู้เข้ารับการอบรม 25 คน สามเดือนแรกต้องเรียนภาษาอังกฤษแบบเร่งรัด 300 600 900 และ 1200 ตามด้วยหลักสูตรเร่งรัดทฤษฎีการบิน เครื่องยนต์ เครื่องมือ และอื่นๆ 
หกเดือนจบหลักสูตร ถูกจัดแยกย้ายลงกลุ่มงานต่างๆ มีชุดทำงาน ด้านหลังเสื่อปักคำว่า AIR AMERICA สีแดงในชุดสีเทาและซื้อเครื่องมือช่างชื่อตรา Proto (Profesional Tools) หรือ Snap-on ประแจเป็นระบบนิ้วฟุต ใช้เรียกขนาดตามสัดส่วนของนิ้วฟุต ต่างจากญี่ปุ่นที่เป็นระบบเซินติเมตร และราคาค่อนข้างแพงแต่บริษัทให้ผ่อนส่ง

กลุ่มงานที่ถูกส่งไปประจำ 
บริษัท จะส่งผู้จบการอบรม ไปประจำฐานทันที โดยไม่ได้สอบถามความสมัครใจ ได้แก่
1) ช่างประจำฐานซ่อมในโรงงาน 
ที่เป็นงานประจำห้องซ่อมเฉพาะด้าน เช่น เครื่องยนต์ กลไก ใบพัด ที่จะต้องนำไปเปลี่ยนเมื่อชำรุดเสียหายที่ภาคสนาม 
2) ช่างซ่อมบำรุงภาคสนาม (Line Maintenance
ทำงานแก้ปัญหาด่วนปกคิเป็นลานจอดเครื่องบิน มี 2 ส่วน คือ
1. ฝ่ายเครื่องบินปีกทั่วไป (Fixed Wings) ที่พบมีเครื่องบินลำเลียงขนาดกลาง ๒ เครื่องยนต์ รุ่น C123 เครื่องบินลำเลียงขนาดใหญ่ 4 เครื่องยนต์รุ่น C130 เครื่องบินโจมตี 2 ที่นั่ง รุ่น T28 และเครื่องบินตรวจการลาดตระเวน 4 ที่นั่ง 6 ลูกสูบ รุ่น L19) เป็นต้น (แต่ไม่พบ DC8) และ
2. เครื่องบินปีกหมุน (Rotary Wings) คือเฮลิคอปเตอร์ มีแบบ UH34D ชิคอร์สกี้ 4 ใบพัด ใช้เครื่องยนต์ลูกสูบ และแบบ BELL แบบ 2 ใบพัด ใช้เครื่องยนต์เทอร์โบหมุนโรเตอร์

เฮลิคอปเตอร์ แบบ UH34D-Sycorsky
ผมถูกจัดเข้าทำงานภาคสนาม ประจำเครื่องปีกหมุนของชิคอร์สกี้ มีชุดงานภาคสนาม 3 ชุดหมุนเวียนตามกะงาน ชุดละ 6 10 คน มีหัวหน้าชุดขาวหนึ่งคน คือ
ชุดของนาวาล (Naval Crew) หัวหน้าเป็นชาวฟิลิปปินส์ 
ชุดสาริพงค์ (Saribongse Crew) ชาวไทย และ
ชุดหง (Hunk Crew) หัวหน้าหง (H.K Hung) เป็นคนเกาลูน-ฮ่องกง ได้ร่วมงานก่อนกลับฮ่องกง ต่อมาเป็นคนไทยชื่อสนิท (ลืมนามสกุล)และวีระศักดิ์ หิรัญรักษ์ มีช่างผู้ร่วมทีมชุดสีเทาที่พอจำได้ แรกๆมีชาวฟิลิปปินส์คือคุณเรย์ ก่อนที่จะกลับไป และแทนด้วยคนไทยทั้งหมด มี คุณเยี่ยม พิมสมาน จากสงขลา คุณประเสริฐ ชินธรรม จากนครศรีธรรมราช คุณนิกร คำมีศรีสุข จาก กทม. คุณประชุม โสภณพงศ์ จาก กทม. คุณอิทธิบูรณ์ จันปลั่ง จากจันทบุรี เป็นต้น และมีคนงานลูกมือชุดสีน้ำเงิน (labor) 3 คน

การทำงานภาคสนาม 3 ทีมช่างจะเปลี่ยนเวลาทุก 3 เดือน มี 3 กะ คือ
กะเช้า เวลา 06.00-14.00
กะบ่าย เวลา 14.00-22.00 และ
กะกลางคืน เวลา 22.00-06.00 มักเรียกว่า Grape yard หรือ night shift หรือกะผีหลอก (ในยุโรปมักพบต้นองุ่นเกิดคลุมสุสาน) 

การเข้างานจะใช้การตอกต้องก่อนเวลางานเสมอช้าไม่ได้แม้แต่ 1 นาทีที่จะต้องถูกขีดด้วยหมึกแดงและจะถูกเตือนทันทีทุกครั้ง หากถึงสามครั้งก็จะได้รับซองขาวเชิญออกไป ซึ่งทีมงานไม่เคยมีสักคนแม้ว่าชอบที่จะดื่มเที่ยวหลังงานด้วยกันบ่อยๆ

สมุดปูมเครื่องบิน - Log book 
          มีปกเป็นโลหะอลูมินั่มให้ทนสภาพ นักบิน (Pilot) จะบันทึกปัญหาของเครื่องหลังการบินปฏบัติงานในสมุดปูมประจำเครื่อง การบันทึกปัญหา เราเรียกว่า Squawk สมุดปูมจะถูกนำมาที่ศูนย์ซ่อม (Line Shack) บางปัญหาสามารถซ่อมได้บนลานจอดแม้แต่เปลี่ยนเครื่องยนต์ ส่วนปัญหาใหญ่ที่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษและหลายวันจะต้องนำมาซ่อมที่โรงซ่อม

ปัญหาของเครื่องบิน UH34D ที่ต้องซ่อม ได้แก่

เครื่องสั่นอย่างรุนแรง (High Frequency Vibration
สาเหตุมาจากเครื่องยนต์ เช่นจุดระเบิดไม่ปกติที่สามารถแก้ไขได้ การสันดาบไม่สมบูรณ์ บางครั้งเสียหายต้องเปลี่ยนเครื่องยนต์ทั้งชุด เป็นเครื่องที่ผ่านการซ่อมและรันอินในแผนกซ่อมมาแล้วเท่านั้น

สั่นระดับกลาง (Medium Vibration
เป็นการชองเครื่องสั่นแบบเขย่าแนวตั้ง (Vertical Vibration) มาจากใบพัดใหญ่ใหญ่ (Main Roters)  และห้องเกียร์ใบพัดใหญ่ (Gear Box) จากการหลวมของข้อต่อต่างๆ จนถึงแกนใบพัดใหญ่หลวม ต้องกวดให้ให้ได้ค่า เป็นงานใหญ่ทีเดียวเพราะต้องใช้เครื่องมือพิเศษ

สั่นด้านข้าง (Low/Lateral Vibration)
มาจากใบพัดหาง (Tail Rotor Blade) ตั้งค่าองศาผิดหรือหลวมต้องปรับแก้

เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ซิคอร์สกี (UH34D) 4 ใบพัด รุ่นนี้มีปัญหาจุกจิกมากกว่าเครื่องเบลล์ (UH1) แบบ 2 ใบพัด เพราะใช้พลังจากเครื่องเจ็ต และมีปัญหาน้อยกว่า

ใบงาน (Worksheet Procedure) คือใบสั่ง TO-Technical Order
กฎเหล็กของช่างซ่อมเครื่องบิน คือ ต้องทำตามขั้นตอนของใบงาน (ใบสั่ง TO-Technical Order) งานซ่อมใหญ่จะปฏบัติตามใบงาน (Worksheet Procedure) ทุกครั้ง ใบงานจะบอกวิธีการทำซ่อมอย่างละเอียด มีขั้นตอนครบถ้วนตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ มีที่ลงชื่อช่างผู้ซ่อม (Mechanic) หัวหน้าทีม (Chief) และผู้ตรวจรับรอง (Supervisor) 
           คนที่จะต้องอ่านบ่อยที่สุดคือหัวหน้าทีม คอยกำกับตรวจ ชี้นำ เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด ที่เรียกว่า "ชุ่ย" หรือ fuck up เป็นเรื่องร้ายแรงทีเดียว โดยปกติก่อนปฏิบัติการบินจะมีผู้ตรวจสอบคุณภาพ (Quality Control- QC) ประทับตราประจำตัวรับรอง หากเป็นงานใหญ่ นักบินทดสอบจะต้องบินทดสอบรับรองก่อนเสมอ
โดยสรุป แม้ว่าช่าง หัวหน้าช่าง ผู้ตรวจคุณภาพจะรู้การเครื่องบินเป็นอย่างดี แต่ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้บินคือนักบินเท่านั้น
เฮลิคอปเตอร์รุ่น UH34D ชิคอร์สกี (Sikorsky) ชาวรัสเซียเป็นผู้ออกแบบ มีพลังขับจากเครื่องยนต์แบบวงกลม 2 แถวๆ ละ 9 รวม 18 ลูกสูบ ส่งพลังขึ้นไปขับห้องเกียร์(Main Rotor Gear Box) และใบพัดใหญ่ 4 ตัวบน (Main Rotor Blades) และใบพัดหาง 4 ตัว (Tail Rotor Blades) เคยใช้ในสงครามลาวและเวียดนาม ปัญหาเครื่องคือเสียงดัง สิ้นเปลือง และจุกจิกมาก ตอนหลังถูกปรับเป็นเครื่องโบเจ็ต 2 ตัวที่มีน้ำหนักเบาเป็นต้นกำลัง เรียก Twinpac ก่อนที่จะปลดระวางมา 40 ปีแล้วเนื่องจากชิ้นส่วนข้อต่อย่อยต่างๆ จุกจิกมาก ชำรุดเสียหายบ่อย ต้นทุนการซ่อมสูง

ปัจจุบัน เครื่องเทอร์โบเจ็ตถูกนำไปใช้กับเครื่องบินแทนเครื่องยนต์ลูกสูบแล้ว เช่น เรื่องบินลำเลียงสัมภาระ (Carco) รุ่น C123 และ รุ่น C130 ในทุกวันนี้

มารู้จักเครื่องบินที่กล่าวถึง
Helicopter UH34D Sycorsky 
ใช้เครื่องยนต์วงกลม 2 แถว 18 ลูกสูบ มีที่นั่งนักบินสองคน
นักบิน (Pilot) อยู่ด้านซ้าย นักบินมือสอง (Co-pilot) อยู่ด้านขวา
มีหน้าปัทม์และเกจ์วัดต่างๆสองชุดเหมือนกัน

Helicopter Bell - UH1 
เครื่องเบลล์ 2 ใบพัดขับด้วยเครื่องยนต์เทอร์โบคู่
นักบิน (Pilot) อยู่ด้านซ้าย นักบินมือสอง (Co-pilot) อยู่ด้านขวา
มีหน้าปัทม์และเกจ์วัดต่างๆสองชุดเหมือนกัน

C123 - Carco Aircraft 
เป็นเครื่องลำเลียงสัมภาระขนาดกลาง เครื่องยนต์วงกลม 2 แถว 18 ลูกสูบ 2 เครื่อง 
ระยะต่อมาเปลี่ยนใช้เป็นเคร่ื่องยนต์กังหันที่เบาและกินน้ำมันน้อย เรียกว่า Turboprop-Turbo Propeller
นักบิน (Pilot) อยู่ด้านซ้าย นักบินมือสอง (Co-pilot) อยู่ด้านขวา
มีหน้าปัทม์และเกจ์วัดต่างๆสองชุดเหมือนกัน


T28 - Attack Aircraft (ลาว - เต้ซาวแปด) 
เป็นเคร่ื่องบินโจมตี 2 ที่นั้ง ทั้งยิงปืนและทิ้ง
ระเบิด ใช้เครื่องยนต์วงกลม 2 แถว 18 ลูกสูบ 
นักบิน(Pilot)อยู่หน้า นักบินมือสอง(Co-pilot)อยู่หลัง


L19 - Observe Aircraft (Light Aircraft) 
เป็นเครื่องบินลาดตระเวนและตรวจการ ใช้เครื่องยนต์ 6 แนวนอนลูกสูบ

การจัดการอารมณ์ผู้เป็นผู้นำ

วิธีหนึ่งของการจัดการอารมณ์ผู้เป็นผู้นำ

ขณะที่ช่างทีมหัวหน้าหง (Hung crew) มีสมาชิก 6-10 คน กำลังซ่อมคอปเตอร์รุ่น UH34D ของชิคอร์สกี้ บริษัทแอร์อเมริกา ฐานบินอุดร เมื่อปี 2515 ช่างเยี่ยม และนิกร ได้ทำงานอยู่ที่แพลตฟอร์มข้างบนที่เป็นห้องเกียร์ใบพัดใหญ่ ช่างเยี่ยมทำฆ้อนหัวมนหลุดมือหล่นไล่ลงมาตามบานที่ปิดเครื่องยนต์แล้วหล่นลงพื้นซีเมนต์เสียงดังทีเดียว เฉียดหัวมาลานา (Mr.Malana) ผู้ตรวจงานชุดขาว (Supervisor) ชาวฟิลิปปินส์ ขณะกำลังตรวจความเรียบร้อยของเครื่องยนต์ขนาด 18 ลูกสูบอยู่ด้านล่างอยู่พอดี
ก็เห็น มร.มาลานา ยืนขี้น แล้วก็ตะโกนขึ้นไปบนแพลตฟอร์ม ว่า...

"If your hammer hit my head. You'll go to see the doctor, ahh."

แปลแบบชาวบ้านว่า...ถ้าฆ้อนแกถูกหัวฉัน แกนั่นแหลที่จะต้องไปหาหมอ ..เด้อ

ผมได้ฟังก็หัวเราะ รู้สึกดี เป็นการรูจักการจัดการกับอารมณ์ที่ไม่มีผู้เสีย (the win win solution) และมักพบกับระดับผู้นำบ่อยๆ จึงเป็นเอกลักษณ์ของเอกบุรุษ

เอาภาพใหดูกลัวนึกไม่ออก

เฮลิคอปเตอร์รุ่นนี้ ชื่อรุ่น UH34D ออกแบบชิคอร์สกี (Sikorsky) ชาวรัสเซีย
มีพลังขับจากเครื่องยนต์แบบวงกลม 2 แถวๆละ 9 รวม 18 ลูกสูบ ส่งพลังขึ้นไปขับห้องเกียร์และใบพัด(Main rotor blades) 4 ตัวบน และ 4 ตัวหาง เคยใชในสงครามลาวและเวียดนาม ปัญหาเครื่องเสียงดัง สิ้นเปลือง และจุกจิกมาก ถูกปรับมาใช้พลังเครื่องเจ็ตคู่ (twinpac) ก่อนที่จะปลดระวางมา 40 ปีแล้ว เครื่องเทอร์ไบน์เจ็ตทีี่่มีนำหนักเบามีพลังสูงปัญหาน้อยถูกนำมาใช้แทน สะดวกที่จะนำไปติดตั้งไว้กับห้องเกียร์ข้างบนที่นิยมในปัจจุบัน

รูปภาพ : ข้างบนเป็นที่ปฏิบัติงานได้ข้างละ 1 คน เรียก Main rotor platform
เพิ่มคำอธิบายภาพ


รูปภาพ : ๊UH34D - Utility Helicopter รุ่น 34 ใช้เครื่องยนต์ 18 ลูกสูบ 2 แถว ส่งกำลังขับขึ้นไปห้องเกียร์ใบพัด (main rotor gearbox) นำ้หนักมาก เสียงดัง กินพื้นที่ ปัญหามาก
รูปภาพ : ใช้เครื่องเทอร์ไบน์เจ็ตคู่ - twinpac

สรุป พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ ppt ดาวน์โหลด

สรุป พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ ppt ดาวน์โหลด : หมวด 1 บททั่วไป ความมุ่งหมายและหลักการ มาตรา 6-7 จัดการศึกษา เพื่อ เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เก่ง ...