วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ครูกับการบริหารจัดการชั้นเรียน

การบริหารจัดการชั้นเรียน 

           เป็นทักษะหลักของความเป็นครู การขาดหลักบริหารจัดการชั้นเป็นความเสี่ยงของการจัดการเรียนรู้ในชั้น ครูเป็นผู้มีบทบาทอันสำคัญต่อภารกิจนี้และผู้บริหารโรงเรียนต้องเอาใจใส่ด้วยการชี้นำ การนิเทศติดตามผล ตลอดจนการประเมินศักยภาพครูเพื่อการพัฒนา เป็นที่ทราบว่าการศึกษาของไทยได้เข้าอยู่ในระบบการเฝ้าระวังข้ามชาติด้วยการเป็นสมาชิกของ OECD ที่มีการวัดประเมินตามระบบของ PISA และ TIMMS ด้วยมีเป้าหมายการยกระดับคุณภาพการศึกษาด้วยคำว่า “การรู้หนังสือ” ที่มีการวัด ๓ ด้าน คือ ด้านความสามารถในการอ่านเขียนเรียนรู้ ความสามารถทางคณิตศาสตร์และความสามารถทางวิทยาศาสตร์ ที่น่าจะถือเอาว่า เป็นพื้นฐานหลักของความเป็นพลโลกในยุคนี้ ก็แล้วกันเพราะไม่พบสัณญาณใดที่น่าเชื่อได้มาว่านี้

         การจัดการศึกษานับแต่อดีตก็จะพบว่ามีแต่ครูและผู้เรียนรวมตัวกันเพื่อแสวงหาสิ่งที่เป็นองค์ความรู้ บางครั้งครูอาจเป็นผู้จัดให้ผู้เรียน แต่มีไม่น้อยที่ผู้เรียนใช้สิ่งแวดล้อมและสถานการณ์ที่มีอยู่เป็นครู ไม่ก็ทำไปแล้วเอาความผิดพลาดมาเป็นครูที่เคยได้ยินกัน แต่ปัจจุบันเราให้ความสำคัญกับโรงเรียนและครู งบประมาณและสิ่งล่อใจที่อาจเป็นตำแหน่งทางวิชาการถูกนำมาใช้นำเป็นจำนวนมหาศาลในประเทศไทย กล่าวกันว่ากระทรวงศึกษาธิการแม้จะมีงบประมาณจำนวนมากกว่ากระทรวงใด แต่มากกว่าร้อยละ ๘๒ ถูกใช้เป็นค่าค่าจ้างและเงินเดือนเงิน มีเหลื่อเพื่อพัฒนาไม่กี่เปอร์เซ็นต์ เมื่อต้องลงทุนสูงเช่นนี้ จำเป็นที่โรงเรียนต้องส่งเสริมให้ครูจัดคุณภาพการทำงานจึงจะเป็นการยกระดับคุณภาพการประเมินที่พบได้จากผลการทดสอบโอเน็ตที่ยังถือว่าด้อยทั่งประเทศ 
           
          ครูควรรู้วิธีการบริหารจัดการที่จะให้เกิดผลต่อผู้เรียน ได้อ่านบทความซึ่งยังหาที่มาไม่พบเขียนห้วเรื่องว่า THE TEACHER AS AN ORGANIZER แปลว่า ครูในฐานะผู้จัดระเบียบการเรียนรู้ (มีต้นฉบับอยู่ที่ท้ายบทความ) เสนอไว้น่าสนใจมีคุณค่าต่อครูจึงนำมาเรียบเรียงไว้ให้ศึกษา มันเป็นการบริหารจัดการชั้นเรียนที่ครูควรพัฒนาเป็นทักษะ อ่านก่อนได้ก่อน นำไปทำแล้วเก็บผลงานแล้วจึงขยายให้เพื่อนครู ก็จะได้ประโยชน์ยิ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เรียนที่เราดูแลอยู่ ดังนี้

๑.     บทนำ
การสอน อาจจำกัดความได้ว่าเป็นการจัดระเบียบของการเรียนรู้ ดังนั้น ข้อปัญหาของการสอนที่จะให้ประสบผลสำเร็จคือจัดระเบียบการเรียนรู้เพื่อให้ได้ผลที่แท้จริง
การสอนอาจคิดถึงการสร้างสถานการณ์ซึ่งจะให้ความหวังและความเชื่อมั่นว่าจะเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพเกิดขึ้น สถานการณ์จะต้องมีความซับซ้อนและประกอบด้วยหลายส่วน ได้แก่

  1. ต้องมีผู้เรียน หรือกลุ่มผู้เรียน
  2. ต้องมีเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ เป็นต้นว่า กำหนดสถานที่และเวลาเพื่อการประชุม ตำราเอกสารต่างๆ และสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆเพื่อการเรียนรู้
  3. ต้องมีคำสั่งและใบงานที่เข้าใจได้ (แนวทาง และงานปกติที่ต้องทำ หรืองานอื่นๆที่ซับซ้อนขึ้น) เพื่อการนำเสนอ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและการประเมินผลงาน
  4. ต้องมีผู้จัดระเบียบผู้คอยนำทางทีละส่วนจนครบ คือครูนั่นเอง

๒.    คุณลักษณะของครูในฐานะผู้จัดระเบียบที่ดี
1.      ไม่ยึดเอาตนเป็นหลัก ไม่พยายามตัดสินใจหรือบอกทุกคนในรายละเอียดที่ต้องทำว่าจะทำอย่างไรและเมื่อใด
2.      ไม่ทำตนเสมือนเป็นสมาชิกของกลุ่ม ไม่มีสิทธิพิเศษหรืออำนาใจใดๆในกลุ่ม กลุ่มต้องการผู้นำที่ดีเพื่อทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ สะสางภารงานให้บรรลุผลตามความประสงค์และความตั้งใจ
      1. ช่วยกลุ่มและผู้เรียนแต่ละคนในการค้นหา รวมผล และสะสางทุกงานให้ครบตามความประสงค์  ไม่เพียงสั่งผู้เรียนว่าพวกเขาต้องเรียนรู้เอา และทำอย่างนี้อย่างนั้น
      2. กระจายและแบ่งความรับผิดชอบให้กว้างเท่าที่ทำได้ พยายามให้ความรู้แก่เพื่อกลุ่มจะได้จัดการกับภารกิจให้กว้างไกลเท่าที่เขาจะทำได้ สำหรับกลุ่มที่ยังไม่พร้อมและด้อยประสบการณ์ครูที่ดีจะคอยทำหน้าอธิบายขยายความชี้แนะฐานะผู้อำนวยการให้ เพราะต้องทำหน้าที่เช่นนี้กับขั้นเรียนที่ต้องไปที่ใดๆ ที่ผู้เรียนจะต้องได้เรียนรู้ร่วมกัน แต่ละคนจะได้เรียนรู้รอบด้านในรายวิชา
      3. ส่งเสริมและให้คุณค่าต่อการคิดริเริมสิ่งใหม่ แต่การริเริมจะไม่ต้องลอยหายและหายออกจากเส้นทาง ให้การริเริมเป็นกรอบงานของจุดประสงค์ชั้นเรียนเสมอ
      4. สร้างให้เกิดความเข้มแข็งมกกว่าการตอกย้ำในความอ่อนแอ มีสมมติฐานอย่างคงที่ว่าทุกคนจะต้องได้รับความสำเร็จบางอย่างได้ ให้ความช่วยเหลือบางอย่างได้ แม้ว่าความสำเร็จนั้นอาจเป็นรูปแบบ และบางทีมีความแตกต่างไปจากความคาดวังหรือความตั้งใจของครูผู้คอยจัดระเบียบ
      5. สงเสริมการวิจารณ์ตนเอง การประเมินตนเองขณะร่วมกลุ่ม ฐานะผู้นำ ผู้อำนวยการ ผู้นำทาง โดยครูจะต้องเรียกหาบ่อยๆให้เขาและเธอแสดงให้เห็นว่าได้รับความสำเร็จตรงไหน ล้มเหลวตรงไหน อย่างไรก็ตาม เขาต้องพัฒนาความสามารถให้เป็นกระจกส่องให้กลุ่มเห็นและตัดสินในความสำเร็จและความล้มเหลวพวกเขาด้วยตัวเขาเอง
      6. ยึดมั่นในการควบคุม เพราะหากขาดการควบคุมและฐานะผู้ควบคุม และ

           กระบวนการบริหารจัดการชั้นเรียนดังกล่าวนี้ จึงมีฐานะเป็นผู้จัดระเบียบ ผู้อำนวยความสะดวกในสิ่งที่ผู้เรียนขาดโอกาสที่จะเข้าถึง ที่สำคัญคือ ครูเป็นผู้คอยเก็บผลจากการเรียนรู้ร่วมกับผู้เรียน นี่คือวิธีการส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็น บุคคลแห่งการเรียนรู้ (Learner Person - LP) ที่พัฒนาทักษะทุกด้านไม่ว่าจะเป็นการสืบค้น การแสวงหา การแก้ปัญหา ความตื่นรู้ แม้กระทั่งการคิดวิเคราะห์ที่กำลังน่าห่วงใยอยู่

          อย่างไรก็ตาม ในระบบการศึกษาก็ยังคาดหวังในความเอาใจใส่ที่ เข้าใจ เข้าถึงและพัฒนา จากเบอร์หนึ่งของสถานศึกษาคือผู้บริหารว่า

-          เข้าใจ คือ นำครูให้เข้าใจภารกิจ ว่าภารกิจหลักคืออะไรที่เรารับเงินเดือนภาครัฐมาให้ทำ
-          เข้าถึง คือ การเข้าถึงองค์ความรู้ ทฤษฎี แนวคิดต่างๆ ที่มีอยู่อย่างถ่องแท้ไม่เบี่ยงเบน
-          พัฒนา คือ การเอาหลักคิดทฤษฎีไปทำต่อยอด เกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ สามารถเกิดได้เฉพาะที่และเป็นผลงานเฉพาะตน
หลักคิดที่ในหลวงทรงพระราชทาน ถือเป็นหลักคิดหลวงที่ทรงคุณค่าต่อการพัฒนาทุกองคาพยพในระบบราชการแม้กระทั้งการบริหารจัดการชั้นเรียน




THE TEACHER AS AN ORGANIZER
Source Unknown
Introduction

Teaching may best be defined as the organization of learning. So the problem of successful teaching is to organize learning for authentic results. Teaching may be thought of as the establishment of a situation in which it is hoped and believed that effective learning will take place. This situation is complicated and made up of many parts.
2.         There must be a learner, or more usually a group of learners.
3.         There must be facilities; a stated place and time for meeting, and books and other printed materials for learning.
4.         There must be an orderly and understood procedure (routine and regular, or highly varied) for presenting, discussing and evaluating.
5.         There must be some way of grading so that the teacher and more importantly the pupil, will know how the learning is coming along.
6.         There must be an organizer who brings these parts into a whole -- in other words, the teacher.
Teaching is the organization of learning. Thus it follows that a teacher is essentially an organizer. The task of any organizer is to enable a group and the individuals in it to function effectively together for the achievement of a common purpose. This is precisely your proper role as a teacher.
Characteristics of a Teacher as an Organizer
1.         A good organizer is not an autocrat. He or she does not make all the decisions or try to tell everybody in detail what to do and how and when to do it.
2.         A good organizer, however, does not simply behave like any other member of the group, without any special rights, privileges, or powers. The group needs positive leadership in order to function effectively, clarify its purpose and achieve its desired results.
3.         A good organizer helps the group and the individuals in it to discover, to formulate, and to clarify their own purposes. He or she will not merely tell the learners that they must learn and do this and do that.
4.         A good organizer delegates and distributes responsibility as widely as possible. He or she will try to educate the group to manage its own affairs just as far as it can. With an immature and inexperienced group a good organizer will function to a considerable extent as a director, because he must function this way for the class to get anywhere. As the class learns how to work together, and as individuals in it learn to steer their own course, the function of the organizer merges more and more into guidance.
5.         A good organizer encourages and values initiative. But the initiative is not just drifting and getting off the path. It is initiative that is always within in the framework of the purpose of the class.
6.         A good organizer builds on strengths rather that emphasizing weakness. He or she goes on the constant assumption that everyone is capable of some achievement, some contribution, even though that achievement may be very modest, and perhaps very different from what the organizer expected or intended.
7.         A good organizer fosters self-criticism and self-evaluation within the group. As leader, as director, as guide, the organizer must often take it upon himself or herself to reveal to the group where they have succeeded and where they have failed. However, he must develop the ability to hold a mirror up to the group do they can see and judge their own accomplishments and failings.
8.         A good organizer maintains control, because without control and as controller, and constantly strives to develop within the class its own self-control in terms of its common purpose.
These are some of the operating characteristics of any good organizer. They are the operating characteristics of a first-rate teacher. A teacher organizes learning. Thus, a teacher's work is different in many important specific and detailed respects from the work of a factory manager, the head of a business department, or the administrator of a school system. But the teacher, like any other organizer, works primarily with people, and his task and responsibility are to create situations in which people can do their best and achieve their best.


สรุป พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ ppt ดาวน์โหลด

สรุป พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ ppt ดาวน์โหลด : หมวด 1 บททั่วไป ความมุ่งหมายและหลักการ มาตรา 6-7 จัดการศึกษา เพื่อ เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เก่ง ...