วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ราชวงศ์หมิงจากพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งของปักกิ่ง ตอน 2

ฉากที่ 7 ยุคความรุ่งเรืองของหยงเล่อ (The Glorious age of Yongle)

จักรพรรดิเฉิงสู่ (Chengzu) ไช้นามรัชศกว่า หยงเล่อ (Yongle) เป็นผู้ที่เข้มแข็งและเก่งกล้า ปรีชาสามารถ มีการตั้งที่ปรึกษาฮ่องเต้ มีการย้ายเมืองหลวงไปยังเป่ยผิง (Beiping) เพื่อการรณรงค์ต่อต้านพวกมองโกลทางเหนือ ด้วยการตั้งหน่วยงานดูแลทางเหนือและแนวชายแดน มีการส่งกองเรือที่ใหญ่ที่สุดของโลกไปยังมหาสมุทรอินเดีย ถึง 7 ครั้ง โดยการควบคุมบังคับการโดยเจิ้ง เหอ (Zheng He) เพื่อแสดงพลังอำนาจของจักรวรรดิ

ฉากที่ 8 ย้ายเมืองหลวงไปปักกิ่ง (The Capital Moves to Beijing)


ศัตรูสำคัญของราชวงศ์หมิงคือเผ่ามองโกล ที่ตั้งมั่นอยู่ในทะเลทรายทางตอนเหนือ เมืองหลวงนานจิงตั้งอยู่ห่างไกลขาดเอกภาพในการป้องกัน จักรพรรดิเฉิงสู่ตั้งชื่อรัชศกว่า หยงเล่อ และเปลี่ยนนามเมือง เป่ยผิง เป็นเป่ยจิง (Beijing) และตัดสินใจย้ายเมืองหลวงไปที่เป่ยจิง (ปักกิ่ง) ในปี 1406 การก่อสร้างพระราชวังเริ่มขึ้นในปี 1407 และเสร็จสิ้นในปี 1420 ใช้เวลารวม 13 ปี การก่อสร้างได้ขยายและเพิ่มเติมแบบอย่างที่มาจากราชวงศ์หยวนโบราณ มีการขุดคลองเสร็จสิ้นการขนส่งมีความปลอดภัยและราบเรียบดีแล้วจึงมีการย้ายเมืองหลวงหลังจากที่จักรพรรดิเฉิงสู่ได้กระทำพิธีบวงสรวงเทพยดาฟ้าดินที่หอบวงสรวงฟ้าดินแล้ว นับจากนั้นเป็นต้นมาเป่ยจิงก็ได้กลายเป็นศูนย์กลางทางการเมือง การทหาร เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของจีน

ฉากที่ 9 จักรพรรดิผู้มีเมตตา (A Benevolent and Filial Emperor)



จู เกาชื่อ (Zhu Gaochi) โอรสองค์แรกของจักรพรรดิเฉิงสู่ ครองราชย์เป็นจักรพรรดิเหยินจง (Renzong 1377-1425) ในระหว่างที่มีเหตุการณ์เคลื่อนไหวกำจัดขุนนางกังฉินนั้นเขาก็มีกำลังจำนวนเพียง 1 หมื่นคนในการรับมือกับกองทัพจำนวน 5 แสนของหลี่ จิงหลงเพื่อปกป้องเมืองหลวง ได้รับแต่งตั้งเป็นรัชทายาทในปี 1405 ครองราชย์ใช้นามรัชศกว่า หงชี (Hongxi) ผู้มีเมตตาช่วยเหลือประชาชนผู้อดอยาก สิ้นพระชนม์ในเดือนกรกฎาคมปีเดียวกัน พระศพถูกฝังไว้ที่สุสานราชวงศ์หมิงที่เมืองเฉียนหลิง



ฉากที่ 10 กบฏจู เกาสู (Zhu Gaoxu) - The Rebellion of Zhu Gaoxu

จู จานจี (Zhu Zhanzi - 1399-1435) เป็นโอรสองค์แรกของจักรพรรดิเหยินจง ขึ้นครองราชย์นามจักรพรรดิชวนชง (Xuanzong) ใช้นามรัชศกว่า ชวนเต๋อ (Xuande) ในตอนต้นรัชกาลมีกบฏแต่ก็ไม่ได้ลงโทษ บ้านเมืองมีความมั่นคง แต่ยังมีกบฏจูเกาสู เป็นองค์ชายชาวฮั่น จูเกาสู มีพลังกายที่เข้มแข็งสามารถยกอ่างสำริดนาดใหญ่คลุมตัวได้ ด้วยความกลัวพลังของเขา จักรพรรดิชวนชงจึงสั่งให้เผาจูเกาสู ให้ตายในอ่างใบนั้น มีเสียงร้องครวญครางในฉากที่แสดงด้วย



ฉากที่ 11 เหตุการณ์ที่ tumupu – The Tumupu Incident


ฤดูใบไม้ร่วง ปี 1449 อีเซิน (Esen) ผู้นำมองโกลเผ่าออยีแรต (Oirat) เข้าตีเมืองต้าถ่ง(Datong) มณฑลซานซี สมัยจักรพรรดิหยิงจง(Yingzong) (หรือ จู ซีเจิ้น – Zhu Qizhen, 1427-1464) อำนาจการสั่งการเป็นของขันทีหวางเจิน (Wang Zhen) ตัดสินใจจัดทัพเข้าต่อสู้ 5 แสนคน ท่ามกลางการคัดค้านของขุนนาง เมื่อยกทัพไปถึงเมืองต้าถ่ง หวางเจิ้นได้ชวนฮ่องเต้ไปเที่ยวชมเมืองเว่ยจู(Weizhou)บ้านเกิดของหวางเจิ้น เพื่ออวดอำนาจและศักดา ให้กองทัพของออยีแรตก็สามารถเข้าทำลายกองทัพได้ที่ Tumupu ขุนนางก่วงเย้ จางปู และจิงหยวนถูกฆ่าตาย และจักรพรรดิถูกจับเป็นเชลย หวางเจินถูกค้อนตีจนตายโดยแม่ทัพฟานจง(Fan Zhong) เหตุการณ์นี้แสดงถึงความเสื่อมถอยของราชวงศหมิง



ฉากที่ 12 ปกป้องปักกิ่ง (Defending Beijing)

หลังจากอีเซินจับตัวจักรพรรดิหยิงจงแล้วได้เคลื่อนทัพประชิดปักกิ่งในปี 1449 ได้รับการต้อต้านจาก หยูเชียน(Yu Qian) เจ้ากรมกลาโหม เขาได้แจ้งจักรพรรดิหยิงจงถึงการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการ องค์ชายจูชีหยู (Zhu Qiyu) อนุชาพระองค์เป็นจักรพรรดิไท่จง (Daizong, 1428 -1457) และโจมตีศัตรูด้วยปืนใหญ่ กองทัพมองโกลเสียขวัญถอยร่นไปเหนือกำแพง

ในฉากเป็นการบัญชารบของจักรพรรดิไท่จงและหยูเชียนที่กำแพงพระนคร

ไม่มีความคิดเห็น:

สรุป พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ ppt ดาวน์โหลด

สรุป พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ ppt ดาวน์โหลด : หมวด 1 บททั่วไป ความมุ่งหมายและหลักการ มาตรา 6-7 จัดการศึกษา เพื่อ เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เก่ง ...