วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

สรุป พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ ppt ดาวน์โหลด

สรุป พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ ppt ดาวน์โหลด: หมวด 1 บททั่วไป ความมุ่งหมายและหลักการ มาตรา 6-7 จัดการศึกษา เพื่อ เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เก่ง ดี มีสุข ปลูกจิสำนึกที่ถูกต้อง การเมือง การปกครอง สิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ ภาคภูมิใจในความเป็นไทย อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2561

สังคม ภูมิพันธ์ุ ดร.จิ๊กโก๋

สังคม ภูมิพันธ์_ดร.โก๋

รู้สึกอาลัยเพื่อน จิ๊กโก๋ ที่เราเรียกติดปากสมัยเรียน ป.กศ.ที่วิทยาลัยครูมหาสารคามเมื่อครั้ง พ.ศ.๒๕๐๙ ชื่อเล่นจากร้อยเอ็ดว่า นาย ชื่อจริง สังคม ภูมิพันธุ์ เล่นดนตรีเครื่องแซกโซโฟน เตเนอร์ ของวงวิรุณคอมโบ้ จนจบชั้น ปก.ศสูง วิชาเอกภาษาอังกฤษ ตลอดเวลา ๔ ปีเขาเป็นที่รักของเพื่อนด้วยความสามารถด้านโสตทัศนวัสดุ ดนตรี และมีอัธยาศัยไมตรีที่เพื่อนรัก จบชั้นนี้เราก็แยกหายจากกันที่แยกไปก่อนสองปีเป็นรุ่น ปก.ศ ต้น รุ่น ๑๒ 
ผมไปทำงานที่ไม่เคยเรียนมาก่อน คือ วิชาช่างซ่อมครื่องบิน ได้รับหน้าที่ช่างซ่อมเฮลิคอปเตอร์ รุ่น UH34D ของบริษัทแอร์ อเมริกา ทีฐานบินอุดรธานี เก็บประสบการณ์ชีวิตใหม่กับทีมงาน ๗ คนและสนุกตามประสาวัยซน

มาพบกันอีกทีตอน พ.ศ.๒๕๑๖ ได้เรียนต่อระดับ กศ.บ. วิทยาลัยการศึกษามหาสารคามซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม ในปีต่อมา ก็ได้พบว่าเพื่อนของเราได้มาเป็นอาจารย์แล้ว ๒ คน คือคุณสังคม ภูมิพันธุ์ และคุณบุญถิ่น คิดไร

ชีวิตใน มศว.ก็เป็นลูกศิษย์ทั้งสองท่านนี้โดยปริยาย แต่ก็ยังผูกพันเหมือนเดิม 

คุณบุญถิ่น คิดไร คนนี้เรียนวิชาเอกสังคมศึกษาด้วยกันแต่เก่งทางอีเลคทรอนิกส์ ต่อวิทยุได้เอง สร้างเครื่องส่งได้เอง ในหน้าที่บรรณรักษ์ห้องสมุดที่ผมได้ไปขอทำงานระหว่างเรียนเวลาว่างด้วยการเขียนสันปกหนังสือได้ค่าตอบแทนชั่วโมงละ ๖ บาท ช่วยลดค่าใช้จ่ายทางบ้านที่มีพ่อเป็นครูใหญ่โรงเรียนวัด

ส่วน คุณสังคม ภูมิพันธุ์ ก็ได้สำเร็จการศึกษาดุษฎีบัณฑิตแล้ว เพื่อนก็เรียก ดร.โก๋ ติดปากมา ติดหนวด ยังไม่มีเครา ภาพลักษณ์จะหนวดดำ เข้มทีเดียว รับให้เป็นนักดนตรีในวง มศว.ด้วยตำแหน่งกีตาร์ ดร.โก๋ ก็เล่นแซกโซโฟน เตเนอร์เหมือนเดิม มีคุณบุญคุ้ม เพิ่มสินธุ์ วิชาเอกคณิตศาสตร์ รุ่น ๗ เป็นผู้แกะเพลงจากเทปและทำโน้ตดนตรีแจกทุกตำแหน่งและเล่นดนตรีแซกโซโฟน ตำแหน่งอัลโต้ ด้วย ก็เป็นประสบการณ์ตรงที่เรียนรู้ได้ดี วง มศว.ก็เป็นที่รู้จัก มีงานรื่นเริงและแสดงต่างมากขึ้น ไกลขึ้นถึงสุรินทร์ วง มศว.เหนียวแน่นกันมาก เป็นกิจกรรมที่คู่ไปกับการเียนได้ดี เพราะไม่เครียด สนุก ได้ทักษะชีวิต

จนถึงปี ๒๕๑๘ วงก็สลายตัวเมื่อมีอุบัติเหตุต้องแยกกันไปเรียนตามเครื่อข่ายของ มศว.ในตอนนั้น เช่น บางแสน พระนคร ประสานมิตร เป็นช่วงที่ห่างหายกันอีกเป็นครั้งที่สอง เพื่อรับราชการเก็บประสบการณ์ใหม่
งานพบเพื่อนรุ่นโหล มหาสารคามเจ้าภาพ ๒๕๕๔
  พบกันอีกที่ในปี ๒๕๕๓ งานรุ่น ปก.ศ.๑๒ ที่อ่างเก็บน้ำแก่งเลิงจาน มหาสารคาม เห็นความสดใส ทุกคนก็ให้ความรักและสนิทสนมดีมาก ต่อมาได้ไปปฏิบัติหน้าที่อธิการบดี มหาวิทยาลัยนครพนมขณะที่ผมเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอาจารย์พิเศษก็ได้พบกับอีกเป็นครั้งสุดท้ายในงานสถาปนาวิทยาลัยสงฆ์นครพนม ณ วัดธาตุพนมเมื่อ ๒ ธันวาคม ๒๕๖๑ ที่ผ่านมา ดูยังสดใสดีมาก รู้ภายหลังว่าเพื่อบ่นเรื่องสุขภาพต้องหาหมอจากทนายเอื้อ มูลสิงห์ อาจารย์พิเศษวิชากฎหมายเล่าให้ฟัง และได้ลาออกไปพักรักษาสุขภาพที่บ้านจังหวัดมหาสาคามและร้อยเอ็ด การโพสต์เฟสบุ้คที่พบก็มีแต่การโพสต์เชิงบวก ความภูมิใจ ความปิติกับครอบครัว ลูก ลูกศิษย์ดูแล้วอิ่มใจ 
งานวันสถาปนาและลงนามความร่วมมือวิทยาลัยสงฆ์นครพนม ๒ ธันวาคม ๒๕๖๑

มุฑิตาดระพรหมบัณฑิต อธิการ มจร.

               และมาได้พบไลน์จากคุณบุญถิ่นในวันที่ ๒ ธนวาคม ๒๕๖๑ ว่าอยู่ในห้อง ไอซียู เมื่ออยู่ในอยู่ในเสียมเรียบแล้ว การสื่อสารจึงอาศัยสัณญาณเน็ตจากโรงแรม จึงได้คุยกับและได้แจ้งเพื่อนรุ่น ๑๒ ได้ทราบ แต่ต้องพบว่าเพื่อน ดร.โก๋ ที่เรารักจากไปเสียแล้วยังไม่ทันที่เพื่อนจะได้เข้าเยี่ยม เร็วด่วนจนไม่คาดคิด ในวันนี่ที่ไปเที่ยวในตอนพลบค่ำที่แหลมตอนเลแซบ ก็ได้แจ้งกับเพื่อน มศ.ว มหาสารคามรุ่น ๖ ได้ทราบทุกคนบนรถ

...นายจิกโก๋ ล่วงหน้าไปก่อน ไปที่ปลายฟ้าที่คนมีชีวิตไม่เคยเห็น ที่ทุกชีวิตต้องไป แต่เพื่อนที่ยีงเดินทางอยู่ นายยังอยู่ในความทรงจำเสมอ



วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ขับรถเมืองไทยไม่ใส่ใจ ไม่ได้แล้ว



ขับรถเมืองไทยไม่ใส่ใจ ไม่ได้แล้ว...ว่ามั้ย?
บ้านเรารถชุมมากกว่าที่คิดแล้ว แทบทุกบ้านนิยมมีรถและหลายคัน ถนนจึงเป็นที่รวมภัยจนกลายเป็นอุบัติเหตุเสียชีวิตบนท้องถนนติดอันดับโลก (Countries With The Highest Road Traffic Death Rate) อันดับสองของโลกที่อัตราการตายจำนวน ๓๘.๑ ต่อ ๑๐๐,๐๐๐ คน รองจากสาธารณรัฐโดมินิกัน (๔๑.๗)
รัฐบาลก็ไม่รู้จะทำอย่างไร
ออกรณรงค์เพื่อสร้างจิตสำนึก ให้หน่วยงานดำเนินการ จงเห็นแต่ละหน่วยใช้กลวิธีต่างๆ เช่น เจ็ดวันอันตราย เขตห้ามตาย ฯลฯ แต่จะพบว่ายังมียอดการตายสูงอยู่เรื่องจากยังไม่สามารถแก้ปัญหาวินัยการจราจร การใช่รถ การเมาสุรา ไม่ได้ แม้จะใช้กำลังพลตั้งด่านกันทั่วประเทศก็ตาม
วินัยการใช้รถที่น่าห่วง
คือ วินัยที่มาจากผู้ขับขี่ ที่อาจคาดหวังว่าจะได้รับคำชี้แจงจากผู้เกี่ยวข้องคือตำรวจ แต่จะพบว่าเข้าใจผิด เพราะเขาจะทำหน้าที่อย่างเอาจริงเอาจังกับผู้ที่ทำผิดกฎหมาย เช่นการไม่รัดเข็มขัด ป้ายภาษี ไฟหน้า ไฟท้าย ไฟเบรค สมุดคู่มือรถ การใช้โทรศัพท์ ฯลฯ จิปาถะ เมื่อโดนโบกให้จอด เขาเดินวนหนึ่งรอบอย่างน้อยต้องได้หนึ่งกระทงปรับ เขาจะเอากฎหมายมาเปรียบเทียบปรับอย่างเอาเป็นเอาตาย เขาจะไม่เสียเวลาเตือนเพราะไม่ได้ประโยชน์(ที่เป็นเงิน)และจะไม่แนะนำและเตือนถือว่าผู้ใช้รถรู้กฎหมายดีแล้ว นี่คือเหตุผลว่าทำไมจึงต้องตั้งด่าน

บนท้องถนน
จะพบนักขับด้วยกันนี่แหละ ที่เป็นต้นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุได้ความความสูญเสียได้เช่นกัน สิ่งควรบอกเล่าต่อ และสรา้งความตระหนัก พอคิดได้ คือ
๑. การเปิดกระพริบไฟคู่
อันตรายมาก เพราะผู้ส่วนมากไม่เข้าใจว่าเป็นไฟให้ทางผู้อื่น มักเข้าใจว่าเป็นไฟผ่าหมากทางนี้เป็นของฉัน ที่สำคัญคือผู้อยู่ทางแยกจะไม่เห็นไปทุกดวงคิดว่าเป็นไฟเลี้ยวมาเส้นทางตน จึงมักเกิดอุบัติเหตุ
๒. การใช้ไฟกลางคืนขณะจอด
รถที่จอดสนิทที่ต้องลดเป็นไฟหรี่ทันที เพื่อให้ทางรถข้างหน้า ที่น่าห่วงคือการจอดอีกฟากถนน คือริมขวาของถนนที่เราใช้แล้วยังเปิดไฟสูง เป็นอันตรายมาก มีการเสียชีวิตมาเป็นจำนวนมากเพราะการหักรถเข้าเส้นทางผิดเพราะคิดว่าเป็นเส้นทางจราจร แล้วพลิกคว่ำ
๓. การขับจี้แล้วเปิดไฟไล่ให้ทาง
เป็นมารยาทที่ไม่ควรกระทำ มักจะไม่พบการกระทำในเขต กทม. แต่จะพบในต่างจังหวัด สิ่งที่ควรทำคือการรักษาเส้นทาง หากจะมีระยะพอก็เปลี่ยนเส้นทางเพื่อเดินหน้าแทนการไล่จี้
๔. รถชอบเบ่ง
ควรระวังพิเศษประจำ คือ รถ SUV รถสองตอน รองมาคือรถแคบ
ส่วนรถตู้ รถเก๋ง รถกระบะธรรมดา ดูมีมารยาทดี โดยเฉพาะรถสิบล้อเขามักให้ไฟให้ทางน่ารักดี อย่าลืมกดแตรขอบคุณพวกเขานะครับ กดสองครั้งคือ “ขอบคุณ” จะได้รับคำหนึ่งครั้งต่อวา “ครับ”

วันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2558

การปฏิรูปการศึกษาไทย

การปฏิรูปการศึกษาไทย
เพื่อความก้าวหน้าของชาติไทย

          การสร้างชาติผู้นำโลก มาจากฐานครอบครัวและการมุ่งให้ความสำคัญต่อการสร้างพลังแก่เด็กผู้จะเป็นอนาคตชาติ การดูแล ปลูกฝัง กล่อมเกลา ฝึกฝน และอบรมที่ดีให้มีพลังเพื่อเป็นพลเมืองและเป็นผู้นำที่ดี รัฐจะดูแลฝึกฝนอบรมอย่างสำคัญแต่เยาว์วัย เพื่อเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง อาทิ กรีกโบราณ ที่สร้างพลเมืองตนสู่ความรุ่งโรจน์ ประเทศผู้นำต่างๆปัจจุบันก็มีแนวทางไม่ต่างกัน
การมีการประเมินของ PISA-OECD ในระดับสากล เป็นเพียงการศึกษาเปรียบเทียบปทัสถานระดับสังคมโลก แต่สิ่งสำคัญคือประเทศต่างๆย่อมก้าวไปตามทิศทางสังคม วัฒนธรรมและอัตลักษณ์เฉพาะตน อาทิ จีน ญี่ปุ่น อาหรับ และยุโรป
ไอน์สไตน์ แสดงแนวคิดว่าว่า “การศึกษาที่ถือเป็นการสืบทอดมรดกสังคม”[1] ความรุ่งโรจน์และอัตลักษณ์ชาติ ย่อมหมายถึง การธำรงความงดงามในมรดกที่เป็นรากฐานสังคมตน อันเป็นความงดงามในความหลากหลายของชุมชนโลก
การจัดการศึกษาไทยที่เป็นอยู่ นับตั้งแต่การเปลี่ยนแบบเรียนจากจินดามณีเป็นต้นมา วงรอบการปรับเปลี่ยนหลักสูตรถี่ขึ้น ยังไม่อาจต่อยอดมรดกสังคมดังกล่าวได้ นักปราชญ์ราชบัณฑิตค่อยๆหายไป มีทิศทางเป็นไปตามกระแส “สังคมพึ่งพา-นักบริโภค-วัตถุนิยม”  ที่รุกเข้ามารุนแรงและกำลังกลืนฐานมรดกที่งดงามของชาติไป
การปฏิรูปการศึกษาของชาติ ได้มีความพยายามมายาวนาน ตั้งแต่ ปี ๒๕๑๘ แต่ยังพบว่า การให้ความสำคัญยงไม่ใช่เด็ก พบแต่การเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรครั้งแล้วครั้งเล่า แต่ละครั้งต้องใช้เวลาถึง ๒๐ ปี ทิศทางการสร้างเด็กให้เป็นพลเมืองคุณภาพดูลางเลือน เด็กมีพฤติกรรมและจริยธรรมที่เบี่ยงเบนมากกว่าเคยพบในอดีต และกำลังเป็นผู้ใหญ่ด้อยความน่าเชื่อถือมากขึ้น
การปฏิรูปการศึกษาในปัจจุบัน จึงควรเป็นวาระแห่งชาติ ที่เป็นของทุกคนที่ต้องมาช่วยคิดออกแบบ และที่ผ่านมายังไม่พบความก้าวหน้าและความชัดเจน อาทิ วิสัยทัศน์การศึกษาชาติ ระบบหลักสูตร ระบบการบริหารจัดการ ควรตกผลึกและชัดเจนแล้ว หาไม่คงต้องอยู่ภายใต้อำนาจกลุ่มนิยมเข้ามากำหนดทิศทางตามอำเภอใจให้หลักชัยของชาติมืดดำต่อไป

๑. หลักคิดต่อการปฏิรูปการศึกษา
๑) การสร้างชาติ - สู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนของชาติไทย
๒) สร้างบุคลิกภาพ คนไทย พลเมืองไทยคุณภาพ” เก่งคิด เก่งทำ (สมองซีกซ้ายและขวา)  มีบุคลิกภาพดี กล้าหาญ รักสามัคคี สุขภาพดี มีวินัย เป็นพลเมืองการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ
๓) การสืบทอดความมั่งคั่งมรดกไทย - เพื่อความงดงามในอัตลักษณ์ชาติสู่ชุมชนโลก
๔) การเตรียมคนพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงโลก – สามารถสร้างนวัตกรรมเพื่อนำชาติ และพร้อมรับกระแสการเปลี่ยนแปลง เช่น กรณี Clean Disruption of Energy and Transportation (ของ Tony Seba) ที่เหลือเวลาอีกไม่นาน (2030)

๒. โอกาสและปัจจัยต้นทุน ประเทศไทยมีต้นทุนที่ควรเก็บเกี่ยว ได้แก่
๒.๑ ความเป็นศูนย์กลางโดยธรรมชาติที่ ประเทศไทยตั้งอยู่ในชัยภูมิคลาสสิก (Classical Landform) เป็นชัยภูมิดีที่สุดของโลก ( ตย. ที่ตั้งพระราชวังปักกิ่ง คือชัยภูมิ-ฮวงจุ้ยดีที่สุดของจีนโบราณ) เป็นศูนย์กลางระหว่างประเทศทางตะวันออก ๓ ทวีป และตะวันตก ๒ ทวีป โดยไม่รวมเอเชีย เป็นต้นทุนที่มีคุณค่ายิ่ง เป็นศูนย์กลาง ด้านเศรษฐกิจ การค้า การคมนาคมของโลก
๒.๒ มีความมั่งคั่งในทรัพยากร อยู่ในเขตมรสุม มีความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นแหล่งอาหารและยาโลก มีทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่าและงดงาม
๓.๓ มีเอกลักษณ์โดดเด่น มีประวัติศาสตร์สืบทอดมายาวนาน มีมรดกสังคมที่โดดเด่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทางภาษา วรรณกรรม ศิลปกรรม ความหลากหลายทางกลุ่มสังคม ขนบประเพณี วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย ที่ควรหวงแหน และอนุรักษ์ฟื้นฟู

๓. ปัญหาการศึกษา สู่การปฏิรูป ได้แก่ (อย่างน้อย)
๑) คุณภาพผู้เรียนจากการประเมิน ONET, PISA(OECD), TIMMS อยู่ในระดับควรพัฒนา
๒) ระบบบริหารจัดการ มีสายการควบคุมที่ยาวไกล พึ่งพา อ่อนล้า
๓) การบริหารจัดการระดับโรงเรียน ผู้บริหารและครูด้อยการควบคุมจากผู้มีส่วนได้เสีย
๔) จำนวนผู้เรียนลดลง โรงเรียนขนาดเล็กเพิ่มจำนวน
๕) หลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนรู้ ควรทบทวน ให้เหมาะกับวัยและจิตวิทยาพัฒนาการ ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ

๖) ผลผลิตการศึกษา ที่เน้นปริมาณแต่มีคุณภาพที่น่าเป็นห่วง ด้อยทักษะพื้นฐาน การแสวงหาความรู้ การสื่อสารสู่สากล พฤติกรรมทางสังคมเบี่ยงเบนด้านกลุ่มนิยม ทะเลาะวิวาทและความรุนแรง 


๔. ประเด็นเสนอเพื่อการปฏิรูปการศึกษา
ภายใต้หลักคิด ความจำเป็น ต้นทุนของชาติ และปัญหาการศึกษา ที่กล่าวข้างต้น ประเด็นที่ควรทบทวนเพื่อการปฏิรูปการศึกษา คือ

                     ๔.๑ ยุทธศาสตร์การศึกษ­­าชาติ

ยุทธศาสตร์การศึกษาชาติ
ปัจจัยปัญหาบ่งชี้และความเสี่ยง
สร้างพลเมืองคุณภาพ
ด้านศาสตร์-ศิลป์ (สมอง) และบุคลิกภาพ (กาย)
สืบทอดมรดก สู่อนาคตที่มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนและ ก้าวหน้า
-ด้านการค้า
-อุตสาหกรรม
-การเกษตรกรรม
-อาหาร
-เทคโนโลยี
-วัฒนธรรม
-การท่องเที่ยว

๑. ค่านิยมการศึกษาที่ผ่านมา
    การมุ่งเรียนสูง แข่งขัน ปริญญาบัตร รับราชการ มีผลผลิตล้นตลาด เน้นจำนวนและมากกว่าคุณภาพ
๒. การสร้างงานสร้างนวัตกรรมชาติ
   พึ่งพาเทคโนโลยี ด้อยการประดิษฐ์คิดค้นการสร้างนวัตกรรม (๔.๐) ที่จะเป็นสมบัติของชาติ
   (ตย. สหรัฐ ญี่ปุ่น จีน เยอรมนี ฯลฯ ที่สามารถครองตลาดโลกด้วยสินค้าตน ใช้วิศวกรตน ส่งออกแม้กระทั่งที่ปรึกษาที่ผูกขาดแม้กระทั่งวิธีคิด)
๓. พลเมืองคุณภาพ
    ระบบเรียนที่ยาวนาน ต้นทุนสูง เวลาทำงานสร้างชีวิตและการสร้างประชากรในวัยเจริญพันธุ์น้อยลง กระทบโครงสร้างประชากร พลเมืองคุณภาพมาจากครอบครัวคุณภาพที่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและอบอุ่น

แนวทางนำเสนอ
กำหนดแผนยุทธศาสตร์การศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองดี นิสัยดี รักชาติ นักคิด สร้างนวัตกรรม รักงาน สู่การสร้างชาติ  ที่มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน

- เด็กเป็นสมบัติของรัฐ ได้รับการดูแลศึกษาอบรมเป็นพิเศษ ทั่วถึง เท่าเทียมเพื่อเป็นพลเมืองคุณภาพของชาติ เป็น “พลังของเมือง” คือ
   เป็น คนไทย” ที่กล้าหาญ กล้าคิด กล้าทำ เป็นผู้นำ ใฝ่เรียนรู้ สู้ชีวิต มีจิตสำนึกคุณธรรม
   เป็นฐานเศรษฐกิจ มุ่งการทำงาน สร้างงาน (ตย.เยอรมนี -มีงานรองรับในระดับอาชีวะ)
  


๔.๒  แผนและกฎหมายการศึกษาแห่งชาติ

กฎหมายการศึกษา
ปัจจัยปัญหาบ่งชี้และความเสี่ยง
พระราชบัญญัติปัจจุบัน... ควรได้รับการทบทวนให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ อาทิ
-ความมุ่งหมายและหลักการ
-สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา
-ระบบการศึกษา
-แนวการจัดการศึกษา
-การบริหารและการจัดการศึกษาของรัฐ
-การบริหารและการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
-การบริหารและการจัดการศึกษาของเอกชน
-มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา
-ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา
-ทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา
-เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

๑) โลกนวัตกรรมสั้นและเร็วขึ้น
    พลวัตรนวัตกรรมเกิดอย่างต่อเนื่องและเร็ว ผู้แพ้คือผู้พึ่งพาที่คอยผลผลิตเทคโนโลยี ตย. กรณี Glass Technology-2025 และ Disruptive Technology - 2030 ของ Tony Seba ที่เหลือเวลามานาน บางสาขาวิชาเรียนต้องเรียนรู้แต่เด็ก
   เป็นสิ่งบ่งชี้ว่า จะเกิดความเสี่ยงหากยังคงไม่ทบทวนทิศทาง ระบบ รูปแบบที่ดำเนินการอยู่ กฎหมายเป็นกรอบจำกัดอิสรภาพทางการศึกษาเรียนรู้


แนวทางนำเสนอ
๑) การศึกษาภาคบังคับ
   มีระยะเวลาไม่ยาวนาน สนองจิตวิทยาพัฒนาการ และมีคุณภาพและมาตรฐาน พร้อมเป็นพลเมืองที่ดี มีทักษะการคิดริเริ่ม สร้างงานและเป็นแรงงานคุณภาพ ส่งเสริมเรียนต่อหลังทำงานแล้วเพื่อพัฒนาอาชีพ (ตย.สิงคโปร์)
๓) มาตรฐานการศึกษา
มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ วิสัยทัศน์ชาติ
๔) ระดับการศึกษา
   ระดับชั้นเรียนควรเรียกเป็นระดับ (level   1,2,311/12 ) แทนคำว่า “ประถมและมัธยม” ซึ่งเป็นการแบ่งแยกและตั้งองค์กรใหม่
  - อาจจัดชั้นตามวัยและพัฒนาการเพื่อเฝ้าระวังและปลูกฝังเป็นพลเมืองคุณภาพและมีทักษะชีวิตที่พึงประสงค์

๔.๓ ปีการศึกษา

ปีการศึกษา
ปัจจัยปัญหาและความเสี่ยง

ปีการศึกษาและปีงบประมาณ เป็นปีเดียวกัน
  งบประมาณการศึกษา ปัญหาคลาสสิกยาวนาน
  - ปีงบประมาณของรัฐและปีการศึกษาขาดความสอดคล้องในทุกระดับ
  - ระดับนโยบาย รวมทั้งระดับส่งผ่านจะไม่พบว่าสำคัญเพราะไม่กระทบต่อการปฏิบัติเพราะเป็นปีงบประมาณ
   - แต่ระดับปฏิบัติคือโรงเรียน ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก เพราะใช้ปีการศึกษาจากต้นทุนปีงบประมาณ ที่ไม่อาจวางแผนปฏิบัติ (Action Plan) ได้อย่างสอดคล้องและมีคุณภาพ
      ข้อเท็จจริง
    - สถานศึกษารับนักเรียน เดือนเมษายน เปิดเรียน ในเดือนพฤษภาคม ส่งข้อมูลนักเรียนขอรับงบประมาณเดือนมิถุนายน
    - สภาอนุมัติงบประมาณในเดือนตุลาคม ได้รับการจัดสรรเงินอย่างเร็วเดือนธันวาคม นานถึง ๘ เดือนหลังการเปิดเรียน ช้านานมากเกือบชนปีงบประมาณใหม่ ไม่ทันการและส่อปัญหาการทุจริตจากความเร่งรีบ

แนวทางนำเสนอ
    ๑) กำหนดปีงบประมาณและปีการศึกษา เป็นปีที่สอดคลองกัน
สอดคล้องกันและสัมพันธ์กับฤดูการผลผลิตของภูมิภาคมรสุม
    ๒) กำหนดรอบปีการศึกษาที่ชัดเจน
   รอบปีการศึกษา มีวันเริ่มต้นและสิ้นสุดชัดเจน (มักเข้าใจว่าวันเปิดเรียน ๑๖ พฤษภาคม เป็นวันเริ่มต้นปีการศึกษา)
   - การกำหนดวาระของโรงเรียน (School Agenda) / ปฏิทิน (Calendar) / การวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Plan) และ แผนปฏิบัติการ (Action Plan) ของสถานศึกษา


๔.๔ โครงสร้างการบริหารจัดการ

  โครงสร้างการบริหารจัดการ
ปัจจัยบ่งชีและความเสี่ยง
๔.๔.๑ ระดับส่วนกลาง
การจัดองค์กรที่ขาดเอกภาพ (Unity)
- ปลัดกระทรวงไม่อาจควบคุม กำกับ ดูแลขับเคลื่อน ยุทธศาสตร์ ควรเป็นหนึ่งเดียว
- ลดความเป็นอิสระ การแบ่งแยก เป็นความเสี่ยง สร้างต้นทุนและทรัพยากรลักษณะเป็นเบี้ยหัวแตก และยากต่อการควบคุมคุณภาพ

แนวทางนำเสนอ
  จัดโครงสร้างการบริหารของกระทรวง   แบบ Single Command
     สอดคล้องกับทฤษฎีองค์การ (Org. Theory) มีเสถียรภาพในการสร้างและกำกับนโยบาย มุ่งการจัดสรรงบประมาณและการประเมินคุณภาพ วิจัยและพัฒนา



ระดับส่งผ่าน
ปัจจัยบ่งชีและความเสี่ยง
๔.๔.๒ ระดับส่งผ่าน/ดูแลกำกับ (Intermediate Office)
ควรจัดให้น้อยที่สุด สั้น รวดเร็ว เป็นหนึ่งเดียว
- มีหน่วยงานเดียวในการควบคุม ประเมินคุณภาพตามนโยบาย
- มีส่วนร่วมจากภาคี ดูแลการศึกษา

ขาดเอกภาพ
- มีหน่วยงานที่เป็นตัวแทนกระทรวงหลายองค์กร ต่างคนต่างทำ ต่างสายการบังคับบัญชา ขาดความสอดคล้อง (อาทิ การประถมศึกษา / การมัธยมศึกษา / การศึกษาเอกชน / การอาชีวศึกษา / การศึกษานอกโรงเรียน / การศึกษาพิเศษ และสูงขึ้น
- กระทบต่อประสิทธิภาพและคุณภาพการกำกับนโยบาย การรับนักเรียน การบริหารงบประมาณ ฯลฯ

แนวทางนำเสนอ
หน่วยงานการศึกษาประจำภาคหรือจังหวัด เพียงองค์กรเดียว
   ใช้คณะบุคคลจากภาคีและหลักธรรมบาลในการบริหารจัดหาร และกำหนดนโยบายการศึกษาของจังหวัด
  ทำหน้าที่
    - การกำกับติดตามด้านนโยบายและ ยุทธศาสตร์
    - ประเมินคุณภาพการศึกษาของหน่วยปฏิบัติ
    - วิจัยและพัฒนา


ระดับสถานศึกษา
ปัจจัยบ่งชีและความเสี่ยง
๔.๔.๓ ระดับสถานศึกษา
ประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
มีระบบการกำกับดูแลทรัพยากรการบริหาร (งบประมาณ บุคลากร) ที่ยาวไกล
- ระบบนิเทศภายใน การพัฒนาตนเอง ควรได้รับการกระตุ้นเร่งเร้า อาทิทักษะและผลงานครูมืออาชีพตลอดจน ผลงานวิจัยและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้
- คณะกรรมการสถานศึกษา ด้อยบทบาทในการกำกับดูแลคุณภาพการบริหารจัดการ 
   ชุมชน และผู้มีส่วนได้เสีย รวมทั้งครูผู้สอนด้อยความเชื่อถือและเชื่อมั่น จึงมักส่งเด็กเดินทางไปเรียนนอกที่พบเห็นได้ทั่วประเทศ ถือเป็นการลงทุนระดับครัวเรือน เป็นความเสี่ยงทั้งผลตอบแทนและอุบัติเหตุ

แนวทางนำเสนอ
๑) โรงเรียนเป็นของรัฐและเป็นนิติบุคคล 
     บริหารจัดการศึกษาคุณภาพให้เขตบริการ ตามนโยบายรัฐ ภายใต้หลักธรรมาภิบาล
  ๒) มีคณะผู้ดูแล จากผู้มีส่วนได้เสียและภาคีชุมชน
     ควรเป็นลักษณะ คณะผู้จัดการ (Trustee) แทนชื่อคำว่า คณะกรรมการ (Committee) ที่สามารถ(ร่วม)ดูแล ช่วยเหลือ สรรหาผู้บริหาร-ครู (ใช้ในนิวซีแลนด์)
   ๓) สามารถจัดการศึกษาภาคบังคับแก่ชุมชนได้ทุกแห่ง (ปัจจุบันภาคบังคับ ๙ ปี เด็กจบชั้นประถม ๖ ปีแล้วต้องหาที่เรียนใหม่)


๔.๕  หลักสูตร

หลักสูตร
ปัจจัยบ่งชีและความเสี่ยง
๕.๕.๑ หลักสูตรกลาง

ควรสอดคล้องกับ ...สากล
- ยุทธศาสตร์ชาติ
- จิตวิทยาพัฒนาการ
   ๑) หลักสูตรกลุ่มสาระ มีรายละเอียด และมาตรฐานอย่างละเอียดมาก
  - สร้างปัญหาการบริหารจัดการหลักสูตร
  - ครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้เฉพาะอย่างยิ่งในชั้นประถมศึกษา
   ๒) หลักสูตรใช้ห้องเรียนเป็นหลักเน้นวิชาการ ไม่อาจสอดคล้องกับพัฒนาสมอง แรงขับ ชีวิตและเศรษฐกิจฐานรากของชาติ ไม่อาจเข้าถึงยุทธศาสตร์ชาติได้
    ๓) เด็กด้อยคุณภาพด้านการอ่านเขียน การคิดวิเคราะห์ ไม่อาจเข้าใจประเด็นปัญหาจากการทดสอบมาตรฐานชาติและนานาชาติ ที่พบการแก้ปัญหาโดยการจัดติวข้อสอบ

แนวทางนำเสนอ
  หลักสูตรกลาง
 ๑) หลอมรวมหลักสูตรที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ กรอบกว้าง กระชับ มีรายละเอียดตามสถานศึกษาและท้องถิ่นกำหนด
๒) ควรแบ่งเป็นช่วงชั้น ช่วงชั้นต้น เป็นการเรียนแบบรู้บูรณาการ ในด้านการอ่าน พูด เขียน คิด
 ๓) สอดคล้องจิตวิทยาพัฒนาการ
   - ระดับต้น ใช้หลักสูตรบูรณาการ มากกว่าการแยกสาระ เหมาะกับจำนวนครูเน้นทักษะพื้นฐานการอ่าน เขียน คิด และพัฒนาบุคลิกภาพ
   - วัยที่สูงขึ้นอายุ 9 ปีขึ้นไป ที่เป็นวัยเริ่มค้นหาศักยภาพและทักษะชีวิตตน เป็นวัยที่กำลังใช้พลังกาย พลังสติปัญญา เน้นการพัฒนาทักษะเฉพาะตน ทักษะชีวิตและวิชาชีพให้เพียงพอ เพื่อเป็นฐานเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตพลเมือง

  
๕.๕.๒หลักสูตรสถานศึกษา
ยึดกรอบหลักสูตรกลาง
- สามารถปฏิบัติได้
- เหมาะสมกับการจัดการเรียนรู้
  - หลักสูตรที่จัดเป็น 8 กลุ่มสาระตามแนวของหลักสูตรกลาง สร้างปัญหาในการจัดครูเข้ากลุ่มสาระ ตั้งแต่โรงเรียนขนาดกลางลงไปจนถึงโรงเรียนเล็กที่เพิ่มจำนวนทุกปี
  - บุคลากรในโรงเรียนระดับประถม ไม่อาจใช้ศักยภาพที่มีอยู่ปฏิบัติหน้าที่ครบ มีคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาได้ 
โรงเรียนด้อยคุณภาพขาดความเชื่อถือเชื่อมั่นต้องไปเรียนที่อื่น (รวมทั้งบุตรของครู)

แนวทางนำเสนอ
หลักสูตรสถานศึกษา
   เป็นหลักสูตรที่สนองจิตวิทยาพัฒนาการ   ด้านสมองซีกซ้าย ซีกขวา บุคลิกภาพ วัยเพศ และทักษะชีวิต ครบถ้วนทั้งศาสตร์และศิลป์
    จุดเน้นหลักสูตร
 ๑) ระดับต้นอายุ ๗ ๙ (ปีที่ ๑ ๓)  
    ให้อ่านเขียนคิดคล่อง-เน้นทักษะด้านภาษา ทักษะการคิด การวิเคราะห์และการสื่อสาร ในภาคเช้า ­­
การปฏิบัติกิจกรรมภาคสนามในภาคบ่าย พัฒนาบุคลิกภาพ กายภาพ ความแข็งแรง ทักษะกล้ามเนื้อ ฝึกสมรรถนะที่ถูกวิธี
   ๒)  ในระดับที่ 4 (อายุ ๑๐ ปี)
    เน้นพัฒนาทักษะความสามารถเฉพาะตัว  ความถนัด การเสาะแสวงหา ใฝ่บันทึก ใฝ่เรียนรู้ การฝึกทดลอง การค้นคว้า ฝึกฝนทักษะอาชีพและพัฒนาคุณสมบัติที่พึงประสงค์ เน้นการประกอบอาชีพ และสร้างงานได้

  
๔.๖ การนำระบบคุณภาพสู่ปฏิบัติงานระดับ

การนำระบบคุณภาพสู่ปฏิบัติงานระดับ
ปัจจัยบ่งชีและความเสี่ยง
นำ ศาสตร์พระราชา
- เป็นระบบคุณภาพหลักของชาติ สามารถสร้างนวัตกรรมได้ทุกระบบงาน
 - การปฏิบัติงานที่ล่าช้า รอการสั่งการตามสายงาน มีขั้นตอนมาก อิงระบบราชการ กรอบ กฎ มาก จนขาดทักษะในการคิดนอกกรอบ
 - เปิดโอกาสการแสวงประโยชน์และอำนาจที่มักได้มาจากฝ่ายการเมือง เกิดระบบรวน และปล่อยเกียร์ว่าง ด้อยผลงานจากการคิดริเริ่ม ด้อยคุณภาพ

แนวทางนำเสนอ
  ๑) นำระบบคุณภาพด้วย ศาสตร์พระราชา  ทุกระดับงาน
   เมื่อ 
  เข้าใจ เข้าใจตน คน และงาน
  เข้าถึง องค์ความรู้ หลักคิด ทฤษฎีต่างๆ
  พัฒนา – ต่อยอดองค์ความรู้ได้องค์ความรู้ใหม่ (๔.๐) ผลงานใหม่ วิธีคิดใหม่
  ๒) สนับสนุนด้วยวงจรคุณภาพสากล    (Deming / PDCA – Model)
  ๓) ประเมินผลระบบจากนวัตกรรม (ไทยแลนด์ ๔.๐)

 ๔.๗ ผู้บริหารโรงเรียนและครู

ผู้บริหารโรงเรียนและครู
ปัจจัยบ่งชีและความเสี่ยง
- ผู้บริหารและครูเป็นมืออาชีพ


-  การถูกคัดเลือก โดยผู้มีส่วนได้เสียไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง
- ถูกควบคุมและครอบงำจากฝ่ายการเมือง


แนวทางนำเสนอ
 ๑) ผู้บริหาร
   - เน้นมืออาชีพอย่างแท้จริง มีวิสัยทัศน์ และมีผลงานตาม MOU
   - ควรเป็น ครูใหญ่ (Master / Principal)มากกว่าผู้อำนวยการ (Director) เหมาะกับคำว่า School

  ๒) ครู
   - เป็นครูมีทักษะความสามารถ มีมาตรฐาน
   - ทุกโรงเรียนมีพร้อมทั้งครูศาสตร์ และครูศิลป์ พัฒนาการสมองซีกซ้าย-ขวา และบุคลิกภาพอย่างมีคุณภาพ
   - ปราชญ์ ผู้นำศาสนา ศิลปิน ผู้ทรงคุณธรรมจากชุมชนได้มีบทบาทเป็นครูพ่อครูแม่กล่อมเกลาเยาวชน
   - การเลือกจากคนเก่งมีความสามารถก่อนแล้วเรียนรู้ผ่านวิชาชีพครูภายหลัง
   - มีองค์กร (อาทิ คุรุสภา) ดูแลสวัสดิการครูทุกคนตลอดชีวิต (กองทุนเลี้ยงชีพ)





[1]...The school has always been the most important means of transferring the wealth of tradition from one generation to the next…Albert Einstein. Out of My Later Years : Idias and Openions P.60 (https://namnews.files.wordpress.com/2012/04/29289146-ideas-and-opinions-by-albert-einstein.pdf) 


วันเสาร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

การบริหารความเสี่ยงในการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน


วามเสี่ยง เป็นสภาวะที่อาจทำให้เกิดความเสียหาย บาดเจ็บ สูญเสียและเกิดผลลบจาการทำงาน[1] เป็นความสำคัญยิ่งของการบริหารจัดการแนวใหม่ (NPM) เป็นแนวทางเชิงรุกเพราะได้กระทำกับปัญหาด้านคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษาอย่างมีสติ
หากถือเอาผู้เรียนเป็นศูนย์กลางแท้จริงแล้ว ใครจะเชื่อว่าการจัดการเรียนรู้ในชั้นไม่มีความเสี่ยงแฝงเร้นอยู่ เสมือนสนิมที่คอยโอกาสในเนื้อเหล็ก ผู้ปกครองทั้งหลายก็ชอบที่จะเชื่อมั่นให้ครูอบรมสั่งสอนลูกหลานเด็กแทนตน ให้เป็นบ้านหลังที่สองหรือเป็นพ่อแม่คนที่สอง ผู้บริหารและโดยเฉพาะอย่างยิ่งครูจึงมีความสำคัญยิ่ง
 แล้วความเชื่อมั่นในคุณภาพในการจัดการเรียนรู้ก็เป็นความเสี่ยงสำคัญ โดยมักพบว่าผู้บริหารโรงเรียนและครูจำนวนไม่น้อยที่ให้บุตรของตนไปเรียนในสถานศึกษาอื่นที่เห็นว่าน่าจะมีคุณภาพกว่า  ทั้งที่พยายามอ้างว่าสถานศึกษาตนมีการพัฒนา มีบุคลากรผู้ทรงคุณวุฒิและวิทยฐานะสูงโดยจำนวนไม่น้อยมีการศึกษาระดับมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต ถือว่ายังขาดความเชื่อมั่นและมีภาวะเสี่ยงแฝงอยู่  ปล่อยให้บุตรหลานในชุมชนผู้ด้อยโอกาสรับไป สภาพเช่นนี้ กล่าวได้ว่า ผู้เรียนได้รับความเสี่ยงแน่นอน

อะไรคือความเสี่ยงของผู้เรียน?
แค่สองประเด็นนี้ ถือว่า เจ็บปวดมากพอ
1. การจัดการเรียนการสอนที่ขาดคุณภาพ ไร้ทิศทาง
2. ครูทิ้งชั้นเรียน ละเลยความรับผิดชอบ เอาใจใส่กับผู้เรียน ความมุ่งมั่น การมีจิตวิญาณ

จะแก้ความเสี่ยงอย่างไร?
สามารถแก้ได้ง่ายโดยการนำวงจรคุณภาพลงให้ถึงชั้นเรียน จากการกำหนดกรอบวิธีการทำงานจากผู้อำนวยการสถานศึกษาที่เป็นผู้ขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ ให้สถานศึกษาไปสู่มาตรฐานการศึกษาชาติ ทั้ง 3 ประการ ที่ถูกกำหนดมาเป็นเวลาหนึ่งทศวรรษแล้ว อันเป็นเงื่อนไขสำคัญระดับชาติเป็นตัวตั้ง นำสู่เงื่อนไขระดับปฏิบัติการ อย่างน้อยได้แก่
เงื่อนไขระดับสถานศึกษา ผู้บริหารและทีมงาน
เป็นสิ่งที่ผู้อำนวยการและผู้เกี่ยวของควรแสวงหาด้วยวิธีคิด (Paradigm-กระบวนทัศน์) ให้เหมาะกับสภาพสถานศึกษา อย่างน้อย ควรมีเงื่อนไขระดับสถานศึกษา ดังนี้
1.      การกำหนดปีการศึกษา (ตอนนี้ยังไม่มีความชัดเจนว่าแท้จริงแล้ว ปีการศึกษาเริ่มต้นเมื่อใดและสิ้นสุดเมื่อใด อนุมานเอาเองว่า 1 พฤษภาคม – 30 เมษายน น่าจะพอทำให้งานเดินได้) เมื่อจะมีการเปิดเรียนเป็นทางการในวันที่ 16 พฤษภาคมเพราะยังไม่ปรับกับประชาคมอาเซียน เพื่อให้เป็นลู่วิ่งมีจุดเริ่มต้นและสิ้นสุด
2.      มอบหมายกำหนดภาระงานครูและวางแผน ทั้งแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการ ซึ่งปกติก็ทำอยู่แล้ว แต่ปัญหาที่พบก็คือ ปีการศึกษาและปีงบประมาณไม่ตรงกัน งบประมาณรายหัวที่จำเป็นต้องใช้ในวันเปิดเรียนเดือนพฤษภาคม ก็ต้องรอไปนานกว่าครึ่งปี แต่จำเป็นต้องให้แผนสู่การปฏิบัติได้อย่างสมจริง
3.      การกำหนดวันทำการโรงเรียน ได้แก่
1. วาระโรงเรียน (School Agenda[2]) ซึ่งหมายถึงวาระที่เป็นห้วงเวลาอันสำคัญที่จะต้องจัดประชุมปฏิบัติการสำคัญที่จะต้องแสวงหาข้อตกลง การติดตาม และสรุปประเมินผลงาน ให้เห็นว่าสถานศึกษามีชีวิต มีจังหวะในการทำงาน เห็นภาพการเริ่มต้น การเคลื่อนไหวและความสำเร็จที่ตรงกันทุกฝ่ายจากวาระที่กำหนด
2. ปฏิทินโรงเรียน (School Calendar) กำหนดวันปฏิบัติงานไว้ตลอดปี อย่างน้อยให้มีวันเรียนตามกรอบหลักสูตรที่กำหนดไว้ 200 วัน (40 สัปดาห์) ให้ชัด ประกันความเสี่ยงการใช้เวลาเรียนไปทำอย่างอื่น ที่พบได้แก่ วันเด็กที่มักจัดในวันศุกร์ วันแม่ และอื่นๆ อาจพิมพ์แจกหรือบรรจุไว้ในเว็บของโรงเรียนเพราะทำง่าย


เงื่อนไขสำหรับครู
ที่ผ่านมาครูมีภาระงานคู่ คือ งานหลักคือการสอน และงานสนับสนุนได้แก่งานโครงการพัฒนาต่างๆ ของสถานศึกษา

ภาระงานหลัก คือ งานสอน ควรกำหนดให้ครูได้เดินทางด้วยวงจรคุณภาพ คือ

P – Plan คือ การวางแผนหลักสูตร
เป็นการทำหลักสูตรรายวิชา (ระดับมัธยม) หรือ หลักสูตรชั้นเรียน (แบบบูรณาการ-สำหรับระดับประถมศึกษา ที่มิอาจแยกสาระได้เนื่องจากครูมีจำกัด)
          มาจากคำว่า Syllabus ที่แปลว่า “หลักสูตร” เป็นคำว่า กำหนดการสอน (กรมสามัญเดิม) หน่วยการสอน (สพฐ.) ประมวลการสอน (อุดม-เดิม) รายละเอียดการสอน (มคอ.3 – อุดม) แต่จะใช้คำใหนก็ใช้ไปก่อนเถอะ ให้ครูทำ Syllabus (หลักสูตร)ได้ เป็นอันใช้ได้แล้ว
          เป็นการจัดทำหลักสูตรเพื่อการสอน เป็นเสมือนเค้าโครง โครงการสอน แผนการสอนรายเทอม/รายปี มีการกำหนดเนื้อหา จำนวนคาบ วันเดือนปี และสาระที่จำเป็น เช่น ข้อตกลง (House rules) การจัดกลุ่มผู้เรียน วิธีการประเมิน ที่จำเป็นให้ผู้บริหารและผู้เรียนได้ทราบ
          หลักสูตร จึงเป็นสิ่งแรกที่ครูจะต้องทำให้เสร็จก่อนเปิดเทอม เป็นหลักประกันความเสี่ยงขั้นต้น และไม่ควรที่จะอนุญาตให้ครูเข้าชั้นโดยที่ยังไม่ดำเนินการให้สำเร็จ

            D - Do คือ การจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน
หลักประกันความเสี่ยง คือ การทำแผนการจัดการเรียนรู้ (Lesson Plan) วางแผนจากการเนื้อหาที่กำหนดในหลักสูตรมากำหนดเป้าประสงค์ กระบวนการ กิจกรรม สื่อ การประเมิน และการเก็บผลการจัดการที่ได้ตั้งเป้าประสงค์ไว้ทุกข้อ และปรับปรุงแผนข้างหน้า
แผนการสอนจึงเป็นแผนเปล่า จัดโครงสร้างไว้เพื่อจดรายละเอียดโดยย่อลงด้วยมือ เป็นการเตรียมล่วงหน้าเสมอ ผู้บริหารอาจขอดูและนิเทศภายในได้

C - Check เป็นการตรวจทาน ตรวจสอบ
          การตรวจสอบจากการจัดการเรียนรู้ที่ผ่านไป เก็บข้อมูล วิเคราะห์สภาพการใช้แผนการจัดการ สนเทศ ข้อเด่น ข้อด้อย จากการนิเทศ ข้อเสนอแนะของผู้นิเทศ และการแสวงหาองค์ความรู้เพื่อปรับแนวทางการจัดการเรียนรู้

4. A - Act คือ การสรุปเป็นองค์ความรู้ไปพัฒนาต่อยอด
          เป็นการวิเคราะห์ สรุปและรายงานผลการจัดการเรียนรู้ เมื่อ Syllabus เป็นเค้าโครงการวิจัย บทสุดท้ายคือการสรุป จากแผนและร่องรอยที่เกิดจากทุกแผนในภาคเรียน จากการตอบวัตถุประสงค์จองเค้าโครงการวิจัย ถือเป็นบทที่ ๕ ของงานวิจัย จะพบ ผลการจัดการเรียนรู้ อภิปรายผล ปัญหา ข้อเสนอแนะ
          ผลการจัดการ คือผลการวิจัย แต่ ข้อเสนอแนะก็คือการปรับปรุงหลักสูตร ที่เรียกว่า การพัฒนาหลักสูตรรายวิชา
          ผู้บริหาร นอกจากจะบริหารความเสี่ยงได้ระดับหนึ่ง และมีของแถมคือ ผลจากข้อเสนอแนะของครูทุกคนนำไปสู้การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา จัดระบบการบันทึกให้เป็นรูปแบบการวิจัย ก็จะเป็นผลงานที่สำคัญที่สุด...ทีเดียว
          เอาภารกิจหลัก คือ งานจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตร ด้วยหลักประกันความเสี่ยง ด้วยวงจรคุณภาพ ก็คุ้มพอแล้ว แต่ภารกิจสนับสนุน ต้องว่ากันอีกแบบเหมือนกันแต่ไม่เหมือนกัน
          ดังนั้น ระยะเวลาของการเปิดภาคเรียนกระชั้นเข้ามา ไม่สายไปที่จะฝันถึงผู้เรียนที่มีคุณภาพ ด้วยการสกัดความเสี่ยงในการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา
          ...ดีไหมเอ่ย...




[1] A probability or threat of damage, injury, liability, loss, or any other negative occurrence that is caused by external or internal vulnerabilities, and that may be avoided through preemptive action.Read more: http://www.businessdictionary.com/definition/risk.html#ixzz3Ys9vmynz
[2] agenda : กำหนดการ,ระเบียบวาระ - Syn. program, plan, schedule

สรุป พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ ppt ดาวน์โหลด

สรุป พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ ppt ดาวน์โหลด : หมวด 1 บททั่วไป ความมุ่งหมายและหลักการ มาตรา 6-7 จัดการศึกษา เพื่อ เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เก่ง ...