วันเสาร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

การบริหารความเสี่ยงในการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน


วามเสี่ยง เป็นสภาวะที่อาจทำให้เกิดความเสียหาย บาดเจ็บ สูญเสียและเกิดผลลบจาการทำงาน[1] เป็นความสำคัญยิ่งของการบริหารจัดการแนวใหม่ (NPM) เป็นแนวทางเชิงรุกเพราะได้กระทำกับปัญหาด้านคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษาอย่างมีสติ
หากถือเอาผู้เรียนเป็นศูนย์กลางแท้จริงแล้ว ใครจะเชื่อว่าการจัดการเรียนรู้ในชั้นไม่มีความเสี่ยงแฝงเร้นอยู่ เสมือนสนิมที่คอยโอกาสในเนื้อเหล็ก ผู้ปกครองทั้งหลายก็ชอบที่จะเชื่อมั่นให้ครูอบรมสั่งสอนลูกหลานเด็กแทนตน ให้เป็นบ้านหลังที่สองหรือเป็นพ่อแม่คนที่สอง ผู้บริหารและโดยเฉพาะอย่างยิ่งครูจึงมีความสำคัญยิ่ง
 แล้วความเชื่อมั่นในคุณภาพในการจัดการเรียนรู้ก็เป็นความเสี่ยงสำคัญ โดยมักพบว่าผู้บริหารโรงเรียนและครูจำนวนไม่น้อยที่ให้บุตรของตนไปเรียนในสถานศึกษาอื่นที่เห็นว่าน่าจะมีคุณภาพกว่า  ทั้งที่พยายามอ้างว่าสถานศึกษาตนมีการพัฒนา มีบุคลากรผู้ทรงคุณวุฒิและวิทยฐานะสูงโดยจำนวนไม่น้อยมีการศึกษาระดับมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต ถือว่ายังขาดความเชื่อมั่นและมีภาวะเสี่ยงแฝงอยู่  ปล่อยให้บุตรหลานในชุมชนผู้ด้อยโอกาสรับไป สภาพเช่นนี้ กล่าวได้ว่า ผู้เรียนได้รับความเสี่ยงแน่นอน

อะไรคือความเสี่ยงของผู้เรียน?
แค่สองประเด็นนี้ ถือว่า เจ็บปวดมากพอ
1. การจัดการเรียนการสอนที่ขาดคุณภาพ ไร้ทิศทาง
2. ครูทิ้งชั้นเรียน ละเลยความรับผิดชอบ เอาใจใส่กับผู้เรียน ความมุ่งมั่น การมีจิตวิญาณ

จะแก้ความเสี่ยงอย่างไร?
สามารถแก้ได้ง่ายโดยการนำวงจรคุณภาพลงให้ถึงชั้นเรียน จากการกำหนดกรอบวิธีการทำงานจากผู้อำนวยการสถานศึกษาที่เป็นผู้ขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ ให้สถานศึกษาไปสู่มาตรฐานการศึกษาชาติ ทั้ง 3 ประการ ที่ถูกกำหนดมาเป็นเวลาหนึ่งทศวรรษแล้ว อันเป็นเงื่อนไขสำคัญระดับชาติเป็นตัวตั้ง นำสู่เงื่อนไขระดับปฏิบัติการ อย่างน้อยได้แก่
เงื่อนไขระดับสถานศึกษา ผู้บริหารและทีมงาน
เป็นสิ่งที่ผู้อำนวยการและผู้เกี่ยวของควรแสวงหาด้วยวิธีคิด (Paradigm-กระบวนทัศน์) ให้เหมาะกับสภาพสถานศึกษา อย่างน้อย ควรมีเงื่อนไขระดับสถานศึกษา ดังนี้
1.      การกำหนดปีการศึกษา (ตอนนี้ยังไม่มีความชัดเจนว่าแท้จริงแล้ว ปีการศึกษาเริ่มต้นเมื่อใดและสิ้นสุดเมื่อใด อนุมานเอาเองว่า 1 พฤษภาคม – 30 เมษายน น่าจะพอทำให้งานเดินได้) เมื่อจะมีการเปิดเรียนเป็นทางการในวันที่ 16 พฤษภาคมเพราะยังไม่ปรับกับประชาคมอาเซียน เพื่อให้เป็นลู่วิ่งมีจุดเริ่มต้นและสิ้นสุด
2.      มอบหมายกำหนดภาระงานครูและวางแผน ทั้งแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการ ซึ่งปกติก็ทำอยู่แล้ว แต่ปัญหาที่พบก็คือ ปีการศึกษาและปีงบประมาณไม่ตรงกัน งบประมาณรายหัวที่จำเป็นต้องใช้ในวันเปิดเรียนเดือนพฤษภาคม ก็ต้องรอไปนานกว่าครึ่งปี แต่จำเป็นต้องให้แผนสู่การปฏิบัติได้อย่างสมจริง
3.      การกำหนดวันทำการโรงเรียน ได้แก่
1. วาระโรงเรียน (School Agenda[2]) ซึ่งหมายถึงวาระที่เป็นห้วงเวลาอันสำคัญที่จะต้องจัดประชุมปฏิบัติการสำคัญที่จะต้องแสวงหาข้อตกลง การติดตาม และสรุปประเมินผลงาน ให้เห็นว่าสถานศึกษามีชีวิต มีจังหวะในการทำงาน เห็นภาพการเริ่มต้น การเคลื่อนไหวและความสำเร็จที่ตรงกันทุกฝ่ายจากวาระที่กำหนด
2. ปฏิทินโรงเรียน (School Calendar) กำหนดวันปฏิบัติงานไว้ตลอดปี อย่างน้อยให้มีวันเรียนตามกรอบหลักสูตรที่กำหนดไว้ 200 วัน (40 สัปดาห์) ให้ชัด ประกันความเสี่ยงการใช้เวลาเรียนไปทำอย่างอื่น ที่พบได้แก่ วันเด็กที่มักจัดในวันศุกร์ วันแม่ และอื่นๆ อาจพิมพ์แจกหรือบรรจุไว้ในเว็บของโรงเรียนเพราะทำง่าย


เงื่อนไขสำหรับครู
ที่ผ่านมาครูมีภาระงานคู่ คือ งานหลักคือการสอน และงานสนับสนุนได้แก่งานโครงการพัฒนาต่างๆ ของสถานศึกษา

ภาระงานหลัก คือ งานสอน ควรกำหนดให้ครูได้เดินทางด้วยวงจรคุณภาพ คือ

P – Plan คือ การวางแผนหลักสูตร
เป็นการทำหลักสูตรรายวิชา (ระดับมัธยม) หรือ หลักสูตรชั้นเรียน (แบบบูรณาการ-สำหรับระดับประถมศึกษา ที่มิอาจแยกสาระได้เนื่องจากครูมีจำกัด)
          มาจากคำว่า Syllabus ที่แปลว่า “หลักสูตร” เป็นคำว่า กำหนดการสอน (กรมสามัญเดิม) หน่วยการสอน (สพฐ.) ประมวลการสอน (อุดม-เดิม) รายละเอียดการสอน (มคอ.3 – อุดม) แต่จะใช้คำใหนก็ใช้ไปก่อนเถอะ ให้ครูทำ Syllabus (หลักสูตร)ได้ เป็นอันใช้ได้แล้ว
          เป็นการจัดทำหลักสูตรเพื่อการสอน เป็นเสมือนเค้าโครง โครงการสอน แผนการสอนรายเทอม/รายปี มีการกำหนดเนื้อหา จำนวนคาบ วันเดือนปี และสาระที่จำเป็น เช่น ข้อตกลง (House rules) การจัดกลุ่มผู้เรียน วิธีการประเมิน ที่จำเป็นให้ผู้บริหารและผู้เรียนได้ทราบ
          หลักสูตร จึงเป็นสิ่งแรกที่ครูจะต้องทำให้เสร็จก่อนเปิดเทอม เป็นหลักประกันความเสี่ยงขั้นต้น และไม่ควรที่จะอนุญาตให้ครูเข้าชั้นโดยที่ยังไม่ดำเนินการให้สำเร็จ

            D - Do คือ การจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน
หลักประกันความเสี่ยง คือ การทำแผนการจัดการเรียนรู้ (Lesson Plan) วางแผนจากการเนื้อหาที่กำหนดในหลักสูตรมากำหนดเป้าประสงค์ กระบวนการ กิจกรรม สื่อ การประเมิน และการเก็บผลการจัดการที่ได้ตั้งเป้าประสงค์ไว้ทุกข้อ และปรับปรุงแผนข้างหน้า
แผนการสอนจึงเป็นแผนเปล่า จัดโครงสร้างไว้เพื่อจดรายละเอียดโดยย่อลงด้วยมือ เป็นการเตรียมล่วงหน้าเสมอ ผู้บริหารอาจขอดูและนิเทศภายในได้

C - Check เป็นการตรวจทาน ตรวจสอบ
          การตรวจสอบจากการจัดการเรียนรู้ที่ผ่านไป เก็บข้อมูล วิเคราะห์สภาพการใช้แผนการจัดการ สนเทศ ข้อเด่น ข้อด้อย จากการนิเทศ ข้อเสนอแนะของผู้นิเทศ และการแสวงหาองค์ความรู้เพื่อปรับแนวทางการจัดการเรียนรู้

4. A - Act คือ การสรุปเป็นองค์ความรู้ไปพัฒนาต่อยอด
          เป็นการวิเคราะห์ สรุปและรายงานผลการจัดการเรียนรู้ เมื่อ Syllabus เป็นเค้าโครงการวิจัย บทสุดท้ายคือการสรุป จากแผนและร่องรอยที่เกิดจากทุกแผนในภาคเรียน จากการตอบวัตถุประสงค์จองเค้าโครงการวิจัย ถือเป็นบทที่ ๕ ของงานวิจัย จะพบ ผลการจัดการเรียนรู้ อภิปรายผล ปัญหา ข้อเสนอแนะ
          ผลการจัดการ คือผลการวิจัย แต่ ข้อเสนอแนะก็คือการปรับปรุงหลักสูตร ที่เรียกว่า การพัฒนาหลักสูตรรายวิชา
          ผู้บริหาร นอกจากจะบริหารความเสี่ยงได้ระดับหนึ่ง และมีของแถมคือ ผลจากข้อเสนอแนะของครูทุกคนนำไปสู้การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา จัดระบบการบันทึกให้เป็นรูปแบบการวิจัย ก็จะเป็นผลงานที่สำคัญที่สุด...ทีเดียว
          เอาภารกิจหลัก คือ งานจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตร ด้วยหลักประกันความเสี่ยง ด้วยวงจรคุณภาพ ก็คุ้มพอแล้ว แต่ภารกิจสนับสนุน ต้องว่ากันอีกแบบเหมือนกันแต่ไม่เหมือนกัน
          ดังนั้น ระยะเวลาของการเปิดภาคเรียนกระชั้นเข้ามา ไม่สายไปที่จะฝันถึงผู้เรียนที่มีคุณภาพ ด้วยการสกัดความเสี่ยงในการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา
          ...ดีไหมเอ่ย...




[1] A probability or threat of damage, injury, liability, loss, or any other negative occurrence that is caused by external or internal vulnerabilities, and that may be avoided through preemptive action.Read more: http://www.businessdictionary.com/definition/risk.html#ixzz3Ys9vmynz
[2] agenda : กำหนดการ,ระเบียบวาระ - Syn. program, plan, schedule

ไม่มีความคิดเห็น:

สรุป พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ ppt ดาวน์โหลด

สรุป พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ ppt ดาวน์โหลด : หมวด 1 บททั่วไป ความมุ่งหมายและหลักการ มาตรา 6-7 จัดการศึกษา เพื่อ เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เก่ง ...