ความนำ
เป็นที่ทราบดีว่าการลงทุนทางการศึกษาต้องใช้งบประมาณที่มหาศาล
มากกว่าการพัฒนาด้านใด ๆ
มีบุคลากรและผู้ที่ใช้บริการในระบบการจัดการศึกษานับสิบล้านคน
แต่เม็ดเงินที่ทุ่มลงไปเป็นค่าจ้างและเงินเดือนเกือบหมด
เหลือเป็นงบประมาณเพื่อการพัฒนาไม่เกิน ร้อยละ ๑๒ เท่านั้น แต่แม้จะทุ่มเงินให้ปัจจัยการผลิตที่เป็นเงินเดือน
ก็ยังมีปัญหาด้านคุณภาพ ทั้งที่ มีปัจจัยด้านทรัพยากรที่มีความพร้อม ผู้บริหารสถานศึกษาจบปริญญาโทเป็นอย่างต่ำ
ครูมีการศึกษาระดับปริญญาตรี โท และเอกกันมากขึ้น มีเงินเดือนสูง มีวิทยฐานะและเงินประจำตำแหน่งกันเกือบครบถ้วน
บางแห่งมีอัตราส่วนครูและนักเรียนที่ดีมาก คือมีนักเรียนน้อย ไม่มีปัจจัยใดที่จะส่งผลต่อการด้อยคุณภาพของผู้เรียน
แต่ผลการประเมินทั้งในระหว่าประเทศอย่าง PISA / TIMSS และการประเมินคุณภาพภายในของสำนักงานทดสอบทางการศึกษา
(สทศ.) มีผู้ที่ผ่านขีดจำกัดล่าง (จมูกพ้นน้ำ) ในปีการศึกษา ๒๕๕๓ จนสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
(สมศ.) ต้องปรับกลยุทธ์และปรับค่าการประเมินตัวบ่งชี้ที่ ๕ เป็นการใหญ่ก่อนการประเมินรอบที่สามครั้งแรกในเดือนมิถุนายน
๒๕๕๔ น่าทบทวนอย่างยิ่งว่า
เมื่อต้นทุนการผลิตดีอะไรเล่าคือความเสี่ยงที่ทำให้คุณภาพและมาตรฐานด้อยและน่าเป็นห่วงอยู่ทุกวันนี้
อะไรคือความเสี่ยงของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ปัจจัยความเสี่ยงที่ฝังอยู่ในระบบการบริหารจัดการสถานศึกษา
ผู้บริหารทุกระดับและผู้รับบริการอาจรู้เห็นอยู่แต่ไม่อาจทำอะไรได้ เห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดาจนถึงกับมองข้ามไปด้วยซ้ำ
หรือเห็นว่าเป็นเรื่องยากจนต้องคอยให้มีผู้มาชี้นำชี้แนะบอกทางให้ หากวิเคราะห์อย่างหยาบๆ
สิ่งที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของผู้บริหารและครู โดยอาจเป็นความสำคัญอันดับแรกได้ทุกข้อ
ได้แก่
๑. การขาดความเข้าใจที่ชัดเจนในทิศทางและเป้าหมาย โดยเฉพาะตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ
(ที่ ครม.ให้ความเห็นชอบเมื่อ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๔๗)
๒. การขาดความรู้หลักคิดทฤษฏีและกระบวนทัศน์ที่เหมาะสม ในการจัดในการบริหารจัดการโรงเรียนและชั้นเรียนของผู้บริหารและครู
๒. การขาดความรู้หลักคิดทฤษฏีและกระบวนทัศน์ที่เหมาะสม ในการจัดในการบริหารจัดการโรงเรียนและชั้นเรียนของผู้บริหารและครู
๓. ขาดวิธีการทำงาน การกำกับติดตามนิเทศ
การประเมินผลและการสังเคราะห์องค์ความรู้จากการปฏิบัติที่เป็นระบบและต่อเนื่อง
๔. การขาดความเข้าใจในบทบาทในหน้าที่ (misconcept of role playing) หมายถึงความรู้ความเข้าใจในภารหน้าที่ตามคำพรรณนางาน (Job Description) แต่ละตำแหน่งมีคำพรรณนางานว่าอย่างไร
จึงต้องทบทวนว่าสิ่งใดคือภารกิจหลัก ภารกิจรอง และสิ่งที่ไม่ใช่ภารกิจของผู้บริหารและครู อาจมีผู้บริหารและครูบางคนหลงใหลได้ปลื้มกับการเป็นกรรมการตามองค์กรที่อยู่นอกสถานศึกษา ได้แก่ กรรมการสหกรณ์ออมทรัพย์ครู กรรมการสมาคมต่าง ๆ ที่ต้องทุ่มเททั้งพลังทรัพย์ สติปัญญาและความสามารถมากมาย ทั้งที่สิ่งนั้นมัน “ธุระไม่ใช่ – ฝรั่งพูดว่า it’s not your business” เพราะเป็นอาการเบี่ยงเบนทำให้ไม่สนใจโรงเรียนภารกิจหลักเสียหาย ซึ่งมักเกิดกับผู้บริหารเป็นส่วนใหญ่
๔. การขาดความเข้าใจในบทบาทในหน้าที่ (misconcept of role playing) หมายถึงความรู้ความเข้าใจในภารหน้าที่ตามคำพรรณนางาน (Job Description) แต่ละตำแหน่งมีคำพรรณนางานว่าอย่างไร
จึงต้องทบทวนว่าสิ่งใดคือภารกิจหลัก ภารกิจรอง และสิ่งที่ไม่ใช่ภารกิจของผู้บริหารและครู อาจมีผู้บริหารและครูบางคนหลงใหลได้ปลื้มกับการเป็นกรรมการตามองค์กรที่อยู่นอกสถานศึกษา ได้แก่ กรรมการสหกรณ์ออมทรัพย์ครู กรรมการสมาคมต่าง ๆ ที่ต้องทุ่มเททั้งพลังทรัพย์ สติปัญญาและความสามารถมากมาย ทั้งที่สิ่งนั้นมัน “ธุระไม่ใช่ – ฝรั่งพูดว่า it’s not your business” เพราะเป็นอาการเบี่ยงเบนทำให้ไม่สนใจโรงเรียนภารกิจหลักเสียหาย ซึ่งมักเกิดกับผู้บริหารเป็นส่วนใหญ่
ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบในปัจจัยความเสี่ยงทั้งหมดนี้
สำหรับสถานศึกษาคือ “เบอร์หนึ่ง”
คือผู้อำนวยการโรงเรียนเท่านั้น ไม่อาจปัดความรับผิดชอบได้ คนผู้นี้จะต้องเชี่ยว(ลื่นไหลพรั่งพรู) ต้องชาญ(ฉลาดหลักแหลมในหลักคิดทฤษฎี) เป็นพิเศษจึงจะเป็นผู้นำองค์กรได้ ซึ่งคุณสมบัตินี้มีกันทุกคนจึงสามารถผ่านด่านอรหันต์เข้ามาได้ แต่ผลงานเป็นสิ่งสะท้อนความเชี่ยวชาญ ซึ่งจะต้องสั่งสมให้เกิดในสถานศึกษาให้เห็นเป็นรูปธรรม เห็นระบบการทำงาน เห็นผลงานความสำเร็จและความภูมิใจของโรงเรียน นี้คือมาตรวัดความเชี่ยวชาญในวิชาชีพ
ที่สำคัญคือการกำหนดกรอบการทำงานที่แสดงให้เห็นกระบวนการทำงานที่มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างมีระบบ ที่ถือว่าเป็นเรื่องที่จำเป็นสำหรับผู้บริหารที่ถือว่าเป็นผู้นำองค์กรระดับสถานศึกษาและแม้กระทั่งครูที่จะเป็นผู้นำในการบริหารจัดการชั้นเรียน เมื่อไม่สามารถกำหนดกรอบการทำงานได้ก็ส่งผลให้กระบวนการทำงานขาดระบบ
การคิดกรอบการทำงานที่เป็นระบบจึงมีความจำเป็น ต้องง่าย ชัดเจน ไม่ซับซ้อน เป็นไปได้ ปฏิบัติได้ ตัวอย่างกรอบแนวคิดแผ่นเดียวที่เสนอต่อไปนี้ เป็นตัวอย่างที่อาจนำสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ หลักคิดแผ่นเดียวแทนคำบรรยายหลายชั่วโมงและเสียกระดาษเป็นร้อยหน้า ซึ่งน่าเบื่อ ต้องหาวิธีหารง่าย หากหลักคิดถูก ดูงานออก บอกงานได้ ใช้คนเป็น งานก็ตรงเป้า ก็ Happy Solution ทั้งนักเรียน ผู้ปกครอง ผู้บริหาร และครู จริงไหมเอ่ย ???
ตัวอย่างกระดานเดี่ยว
ขยายใหญ่เพื่อศึกษารายละเอียด(เป็นภาพสกุล jpg)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น