กระทรวงศึกษาธิการที่แต่เดิมมีบทบาทหน้าที่ในด้านการศึกษา
ศาสนาและวัฒนธรรม อันเป็นภารกิจที่กว้างครอบคลุมหลายองค์กร ศึกษาธิการอำเภอและศึกษาธิการจังหวัด
เป็นตำแหน่งข้าราชการส่วนภูมิภาค
ที่มีความเกี่ยวพันกับส่วนกลางคือสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่รัฐบาลมีเจตนาส่งไปเป็นผู้ดูแลการจัดการศึกษาในภูมิภาคคือจังหวัดและอำเภอทั่วประเทศตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
โดยจัดให้สำนักงานศึกษาธิการอำเภอเป็นส่วนงานหนึ่งในระดับอำเภอและจังหวัดเหมือนกับหลายกระทรวงอันได้แก่
กระทรวงเกษตร กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย อันได้ชื่อว่า ๔ กระทรวงหลัก จะพบเกษตรอำเภอ
สาธารณสุขอำเภอ ปลัดอำเภอ และศึกษาธิการอำเภอเป็นขุนพลหลักในการปฏิบัติงานในระดับในภูมิภาค
โดยมีนายอำเภอเป็นแม่งานใหญ่ ภายใต้แม่ทัพใหญ่ที่เป็นพ่อเมืองคือผู้ว่าราชการจังหวัด
มีความผูกพันและบูรณาการการทำงานด้วยกันเป็นกลุ่มก้อน ได้รับความเชื่อมั่นและเข้าถึงประชาชน
สร้างคุณูปการในการพัฒนาท้องถิ่นชุมชนและประเทศชาติมาอย่างน่าภาคภูมิใจ
ก่อนที่จะถึงคราวต้องล่มสลายของหลายกระทรวงอันได้แก่กระทรวงเกษตร กระทรวงสาธารณสุข
และกระทรวงศึกษาธิการ ที่ต้องยุบ โอน
ย้ายหน่วยงานและสังกัดไปยังส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น
รวมทั้งตำแหน่งศึกษาธิการอำเภอและจังหวัดที่มีมาพร้อมกับการเกิดพระราชบัญญัติระเบียบบริการราชการแผ่นดิน
ราชการส่วนภูมิภาคถูกสั่นคลอน ถูกลดบทบาทลง
ด้วยทั้งจากกระแสทางการเมือง กระแสการปฏิรูปของนักวิชาการ ตลอดจนการแสวงหาความเจริญเติบโตในตำแหน่งของข้าราชการ
ก็มีการปรับแก้กฎหมายรัฐธรรมนูญเรื่อยมา ที่เปลี่ยนไปมากคือฉบับปี ๒๕๔๐ ที่อาศัยเสียงประชาพิจารณ์เป็นฐาน
มีการแก้กฎหมายลูกและสร้างหน่วยงานขึ้นมาอย่างซ้ำซ้อน ด้านการศึกษาก็ถูกคลื่นกระทบด้วย คือ มีหัวหน้าส่วนการศึกษา ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดมาดูแลโรงเรียนประชาบาลแทนศึกษาธิการอำเภอที่เคยดูแลในปี
๒๕๐๙ ก่อนที่จะโอนไปสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติในในสองทศวรรษต่อมาปี
๒๕๒๓ แล้วจึงกลับเข้าไปสังกัดกระทรวงศึกษาธิการอีกในปี ๒๕๔๗
ที่ตำแหน่งศึกษาธิการอำเภอ และหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอและจังหวัดก็มีอันต้องถูกยุบไปพร้อมกันหลอมมาเป็นครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำเขตพื้นที่การศึกษาด้วย
โดยกระแสอิทธิพลทางการเมืองทั้งในและนอกระบบเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญ
จนแม้ปัจจุบันกระทรวงศึกษาก็ยังมีความจำเป็นที่ต้องมีการปฏิรูปการศึกษา แม้จะเริ่มมาตามแนวคิดของนายสิปนนท์
เกตุทัศน์ตั้งแต่ปี ๒๕๑๘ แล้วแต่ยังพบว่าคุณภาพและความสัมฤทธิผลก็ยังเป็นสิ่งที่ยังแสวงหา
ผู้เขียนในฐานที่เคยเป็นครูสังกัดกรมสามัญ ก่อนที่เข้าไปสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงในตำแหน่งเป็นผู้ช่วยศึกษาธิการอำเภอ
และศึกษาธิการอำเภอ
อยากจะบันทึกไว้เพื่อให้เป็นอนุทินสำหรับชาวอำเภอธาตุพนมและนครพนมว่า นายวิบูลย์
แมนสถิตย์ คือ ศึกษาธิการอำเภอคนสุดท้าย ที่มีทั้งหมด ๒๕ คน เวลายาวนานมาถึง ๘๔ ปี
รายชื่อศึกษาธิการอำเภอธาตุพนม
จังหวัดนครพนม
๑. นายทองมี ปริปุณณะ ปี พ.ศ.2463 - 2465 ระยะเวลา 2 ปี
๒. นายน้อย คำภูศิริ ปี พ.ศ.2465 - 2472
ระยะเวลา 7 ปี
๓. นายภูวงศ์ ไขแสงจันทร์ ปี พ.ศ.2472 - 2476
ระยะเวลา 4 ปี
๔. นายเวียง มณีพรรณ ปี พ.ศ.2476 - 2481
ระยะเวลา 5 ปี
๕. นายเฮง ปรีดีสนิท ปี พ.ศ.2481 - 2483
ระยะเวลา 2 ปี
๖. นายจู บุญชิต ปี พ.ศ.2483 - 2486
ระยะเวลา 3 ปี
๗. นายสุทิน บุพศิริ ปี พ.ศ.2486 - 2488
ระยะเวลา 2 ปี
๘. นายจันทร์ โมราราษฎร์ ปี พ.ศ.2488 - 2490
ระยะเวลา 2 ปี
๙. นายจันทร์ วิภาวิน ปี พ.ศ.2490 - 2492
ระยะเวลา 2 ปี
๑๐.นายเปรื่องณ
นครพนม ปี พ.ศ.2492 - 2495
ระยะเวลา 3 ปี
๑๑.นายเขียน ทินกูล ปี พ.ศ.2495 - 2498
ระยะเวลา 3 ปี
๑๒.นายมิตร สิงหะวาระ ปี พ.ศ.2498 - 2500
ระยะเวลา 2 ปี
๑๓.นายคะนึง จันทวงศ์ ปี พ.ศ.2500 - 2504
ระยะเวลา 4 ปี
๑๔.นายมี
กุลสิงห์ ปี พ.ศ.2504 - 2512
ระยะเวลา 8 ปี
๑๕.นายพิสิฏฐ์ บัวแย้ม ปี พ.ศ.2512 - 2514
ระยะเวลา 2 ปี
๑๖.นายพยนต์
พลศรีพิมพ์ ปี พ.ศ.2514 - 2515
ระยะเวลา 1 ปีv
๑๗.นายทองคำ
สุนทร ปี พ.ศ.2515 - 2520
ระยะเวลา 5 ปี
๑๘.นายอุดม จุลรัตน์ ปี พ.ศ.2520 - 2524
ระยะเวลา 4 ปี
๑๙.นายจันที หาคม ปี พ.ศ.2524 - 2528
ระยะเวลา 4 ปี
๒๐.นายเฉลิมชัย
ทัศคร ปี พ.ศ.2528 - 2529
ระยะเวลา 1 ปี
๒๑.นายไพรัตน์
ทองเสี่ยน ปี พ.ศ.2529 - 2530
ระยะเวลา 1 ปี
๒๒.นายประมงค์
ไตรยราช ปี พ.ศ.2530 - 2531
ระยะเวลา 1 ปี
๒๓.นายกิตติพล
แผ่นแก้ว ปี พ.ศ.2531 - .2534
ระยะเวลา 3 ปี
๒๔.นายสุวรรณ
ทิมมณี ปี พ.ศ.2534 - 2537
ระยะเวลา 3 ปี
๒๕.นายวิบูลย์ แมนสถิตย์ ปี พ.ศ.2537 - 2547 ระยะเวลา 10 ปี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น