การบริโภคเชื้อเพลิงนับวันจะเพิ่มขึ้น
ดูจากปริมาณรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นบนถนนในปัจจุบัน
เครื่องยนต์มีแทบทุกบ้านตั้งแต่เครื่องยนต์เล็ก รถจักรยานยนต์
บางบ้านมีรถยนต์หลายคันแม้ว่าราคาน้ำมันเชื้อเพลิงจะสูงขึ้น มีการคิดหาเชื้อเพลิงทางเลือก
อาทิ สบู่ดำ และแอลกอฮอล์ สำหรับกลุ่มเครื่องยนต์ดีเซลแล้วน้ำมันยางขาดการศึกษาและพัฒนาที่เป็นระบบ
ยางนา
เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่เมื่อโตเต็มที่จะได้ขนาด ๓-๔ คนโอบ อายุยืนยาวมากกว่าอายุคน
เป็นไม้เนื้อแข็งมีน้ำมันมีกลิ่นฉุนเล็กน้อย ปลวกไม่กิน
จึงนิยมนำมาสร้างบ้านอยู่อาศัย เกิดในที่ราบใกล้ลำน้ำ ในประเทศไทยพบได้ทั่วไปมักเกิดขึ้นหนาแน่นรวมกันเป็นดง
ลูกยางจะถูกลมพัดไปที่ไกลๆได้ด้วยใบพัดในตัว ลูกยางที่ร่วงจากต้นใหม่ๆ
สามารถนำไปเพาะง่ายเพียงแช่น้ำให้เปียกชุ่มแล้วลงถุงเพาะไม่นานก็เกิดยอดแล้ว ปลูกง่ายโตเร็ว
ยังพบว่าไม้ขนาดใหญ่ที่สามารถขึ้นรวมกับไม้ยืนต้นอื่นเป็นป่าเบญจพรรณที่เป็นทั้งแหล่งอาหารและเครื่องใช้ไม้สอยต่างๆ
ชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณลุ่มน้ำชี
แม่น้ำมูล แม่น้ำโขงตลอดจนลำน้ำสาขา สำเนียงอีสานมักเรียกว่า “ต้นยาง” โดยใช้กลางลิ้นกดเพดานปากแล้วจึงออกเสียงออกเสียงออกครึ่งปากครึ่งจมูก
จะเป็นเอกลักษณ์และชี้ต้นไม้ได้ถูก อาจเขียนเป็น ยาง หรือ ญาง อักษร ย และ ญ
อาจใช้แทนภาษาเขียนได้แต่ยังไม่มีอักษรแทนสำเนียงอีสานแท้ๆ ได้ตรงนัก โดยทั่วไปรู้จักในชื่อยางนาเพื่อการสื่อที่ถูกต้องในภาษากลางว่าไม่หมายถึงยางพาราที่เรียกสั้นๆ
ว่า “ยาง” เช่นเดียวกัน กว่า ๕๐ ปีคืนไปคนไทยรู้จักน้ำมันยางเป็นอย่างดี
รู้จักวิธีใช้ประโยชน์ที่หลากหลายตั้งแต่ใช้เป็นน้ำมันตะเกียง เป็นเชื้อเพลิง
เป็นสารต้นและสารผสมในการทำเครื่องใช้ เครื่องมือ ได้แก่ ผสมกับชันเพื่อยาเรือ ยาตะกร้าไม้ไผ่เป็นคุตักน้ำได้
จนถึงเป็นยารักษาโรค
วิถีชีวิตดั้งเดิมมีความผูกพันกับยางมานาน
เป็นตำนานคู่กับท้องถิ่นมาแต่โบราณที่เดียว จะพบว่าใช้เป็นชื่ออำเภอ อาทิ อำเภอยางชุม
ที่ยโสธร อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี และชื่อหมู่บ้านอีกมากมาย
บางดงยาง (เชียงขวัญ ร้อยเอ็ด บ้านท่าขอนยาง (มหาสารคาม) บ้านยางเดี่ยว (ธาตุพนม)
บ้านยางโล้น (กุดบาก สกลนคร) บ้านยางสาว (จำปาสัก) ฯลฯ
การเจาะน้ำมันยาง
เมื่อ ๕๐ ปีก่อนใช้วิธีการเจาะลำต้นส่วนล่างให้เป็นเบ้าเข้าไปในเนื้อไม้แล้วใช้ไฟเผาเบ้าให้ลุกไหม้แล้วใช้ใบไม้ตีให้ไฟดับ
น้ำมันก็จะไหลลงมาที่เบ้าทั้งวันและจะตักเอาไปใช้ได้ในวันรุ่งขึ้น
ต้นยางนาขนาดหนึ่งคนโอบ(อายุประมาณ ๒๐ ปี)จะให้น้ำยางเกือบครึ่งลิตรและจะไปเก็บรวมจากต้นอื่นอีก
เมื่อน้ำมันหยุดไหลก็จะใช้ไฟเผาอีก จะได้น้ำมันใช้ตลอดถูกนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงกับตะเกียง
ต้นยางเก่าแก่ในหมู่บ้านแถบภาคอีสานจะพบเบ้าไฟดังที่กล่าวนี้เสมอ แต่หลังจากมีการใช้น้ำมันก๊าดมาแทนการเอาน้ำมันจากต้นยางที่ไม่ต้องซื้อก็หายไป
ไม่พบการเจาะลำต้นยางอย่างที่เห็นแต่เดิม ส่วนวิธีการใหม่จากผลงานวิจัยของดร.สมพร เกษแก้ว ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ใช้วิธีการเจาะด้วยสว่านลึกเข้าไปพร้อมกับเสียบท่อรับน้ำยางที่ไหลออกมาแทนการเผา
เมื่อนำมาสกัดแล้วจะเป็นเชื้อเพลิงกับเครื่องยนต์เป็นพลังงานทดแทนได้
พลังงานที่เราใช้ทุกวันนี้
เป็นการขุดเจาะดูดเอามาจากแหล่งนำมันดิบใต้ดิน ซึ่งเกิดมาตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ที่เรียกวาคาร์บอนิเฟอรัส
เมื่อ ๓๖๐ ล้านปีผ่านมาและไม่ช้าก็จะหมดไป แต่ที่ผ่านมาโลกยังสร้างพลังงานบนดินทดแทนอย่างสมบูรณ์
พืชสัตว์หลายชนิดมีน้ำมันและไขมันในตัว
ยางนาก็เป็นพืชน้ำมันที่เป็นแหล่งเชื้อเพลิงเป็นไม้เศรษฐกิจมาแต่โบราณ แต่ขาดการศึกษาและพัฒนามาใช้
สาเหตุสำคัญหนึ่งก็คือรัฐได้กำหนดให้ยางนาเป็นไม้หวงห้าม ห้ามตัด
ห้ามแปรรูปและมีไว้ครอบครอง ใครตัดต้องได้รับโทษจำคุก คนจึงหวาดกลัว จึงขาดความตระหนักที่จะปลูกและรักษาในที่ดินตนเพราะเกรงจะมีความผิด
พบว่า มีการปล่อยให้ตายจากการถมดินที่โคนต้นยางไม่กี่เซนติเมตรเพื่อสร้างหมู่บ้านก็ทำให้ตายทั้งยืนแล้วและจะปล่อยให้ผุโค่นลงเองอย่างไร้ค่าไม่สามารถตัดโค่นมาใช้ประโยชน์ได้
อนาคตอาจจะไม่เหลือต้นยางในแผ่นดินไว้ให้รุ่นลูกหลานเห็นก็เป็นได้
น่าจะถึงเวลาที่พระราชบัญญัติเกี่ยวกับไม้หวงห้ามควรได้รับการทบทวนแก้ไข มีการวิจัยและพัฒนาพลังงานบนดินเพื่อทดแทนพลังงานนำเข้าและพึ่งพา
ส่งเสริมโอกาสการปลูกและนำไม้ไปใช้สอยในที่ดินตนเอง ส่งเสริมการปลูกสร้างชุมชนป่าเพื่อเป็นแหล่งพลังงานบนดิน
สร้างความหลากหลายทางชีวภาพให้แหล่งอาหาร ใบที่ร่วงสะสมเป็นอินทรีย์สารสร้างเห็ดดินทั้งหลายที่ไม่สามารถเพาะในโรงเรือนได้
เช่น เห็ดโคน เห็ดเผาะ เห็ดน้ำหมาก เห็ดระโงก เห็ดตับเต่า จึงเป็นแหล่งเศรษฐกิจชุมชนที่ยั่งยืน
แนวทางสำคัญในการพัฒนาส่งเสริมพลังงานจากยางนา
ควรนำกระบวนการคุณภาพองค์สามตามแนวพระราชดำริของในหลวง เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา คือ
เข้าใจ คือ มีการศึกษาคุณประโยชน์ของยางนา
ทบทวนกฎหมายด้านทรัพยากรป่าไม้ที่ใช้มาแต่อดีต มีการวิจัยสร้างองค์ความรู้ด้านพลังงานบนบก
ความสำคัญและแนวโน้มด้านพลังงานบนบก
เข้าถึง นำองค์ความรู้ด้านทฤษฎีไปสู่การพัฒนาและส่งเสริมกระบวนการผลิตพลังงานบนบก
วิจัยและพัฒนาเป็นต้นพลังกับเครื่องยนต์กลไก และ
พัฒนา คือ นำองค์ความรู้ที่พบไปต่อยอด
วางแผน การกำหนดทิศทางการวิจัยและพัฒนาสร้างองค์ความรู้ใหม่เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน
ประเทศไทยตั้งอยู่ในภูมิภาคที่เหมาะสม
เป็นเขตมรสุม มีปริมาณน้ำฝน อุณหภูมิ แสงแดด และความชื้นที่เหมาะกับความเจริญและความหลากหลายทางชีวภาพเหนือกว่าหลายประเทศเพียงแต่แสวงหาองค์ความรู้มาพัฒนาส่งเสริม
ก็จะเป็นผู้นำในการสร้างความยั่งยืนคืนสุขได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น