วันพฤหัสบดีที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2557

พระธาตุอิงฮัง ไม่ลึกไม่ลับ

พระธาตุอิงฮัง มีลักษณะทรงเหลี่ยมหรือสถูปทรงฟองน้ำ (อาจารย์จิตต์ บัวบุศย์) เช่นเดียวกับพระธาตุพนม พระธาตุหลวงนครเวียงจันทน์ อยู่ห่างจากเมืองสวันนะเขต สปป.ลาว ไปทางเหนือสิบกว่ากิโลเมตร
กำแพงชั้นนอก เป็นวิหารคดเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปทำด้วยปูนปางมารวิชัย เบื้องล่างให้เป็นที่เก็บอัฐิเจ้าศรัทธาจนเต็มวิหารคด นอกกำแพงด้านตะวันออกเป็นเขตวัดที่ดูแล มีอาคารกุฎีที่พักพระภิกษุ ศาลาการเปรียญ โดยไม่มีการการก่อกำแพงล้อมรอบ



บริเวณภายในจะพบพระธาตุที่ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว โบสถ์ และศาลาพิธีหนึ่งหลังเป็นที่น่าสังเกตว่าไม่พบโต๊ะหมู่บูชาอย่างที่พบทั่วไป 

ภายในกำแพงแก้วล้อม ถือเป็นเขตพิเศษกล่าวว่ามีพระพุทธรูปฝั่งไว้เต็มไปหมดจึงห้ามผู้หญิงเข้าเกรงไปเหยียบย่ำ มีองค์พระธาตุอิงฮัง ที่ก่ออิฐถือปูนสูงเด่น มีสภาพของธรรมชาติดูแลไม่มีการบูรณะ คงพบแต่ประตูด้านตะวันออกเท่านั้นที่ทาด้วยสีทองให้เด่นเหนือส่วนอื่นและเป็นประตูเดียวที่เปิดได้ โดยประตูที่เหลือมีรูปปั้นตามแนวของขอมยืนปิดทางเข้าไว้หมด ใครไปกราบไหว้สักการะก็จะมีธูปเทียนจำหน่าย ที่น่าสนใจก็จะเป็นกระทงดอกไม้ และมะพร้าวอ่อนที่เป็นแนวปฏิบัติของชาวบ้าน

ที่พบไม่ลึกและไม่ลับ คือ ภาพและรูปปั้นที่ปรากฏให้เห็นทั้งสี่ด้าน นับจากประตูที่ปิดทองด้านตะวันออก ประตู ๒ บานมีภาพสลักตามคติความเชื่อของขอมในลัทธิไศวะของศาสนาฮินดูที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย


ศาสนาฮินดู เชื่อในเหล่าเทพที่สถิตที่เขาพระสุเมรุบนสวรรค์ ที่ถือว่าเป็นแกนของจักรวาล คือ พระพรหมเป็นผู้สร้างโลก พระศิวะเป็นผู้ทำลาย และพระวิษณุเป็นผู้ปกป้องรักษา จึงทำให้เกิดความเชื่อหลายลัทธิ เช่น ลัทธิเชื่อในพระวิษณุหรือพระนารายณ์เป็นเทพสูงสุด ลัทธิเชื่อในพระศิวะ ลัทธิเชื่อในพระเทวีซึ่งพระชายาเทพทั้งหลาย เป็นต้น
ความเชื่อในนิกายพระศิวะ เชื่อในพลังศิวลึงค์ที่เป็นความคิดที่พราหมณ์ในสมัยก่อนคิดขึ้นมาเพื่อแสดงเป็นสัญลักษณ์เพื่อบูขาพระศิวะ มีการสร้างรูปปั้นเป็นศิวลึงค์บนฐานโยนีพระอุมาที่ไหญ่กว่า มีพิธีสวดมนต์ บวงสรวง สรงด้วยน้ำเพื่อให้เจ้าแม่กาลีหายโกรธ (เจ้าแม่กาลีเป็นอีกภาคหนึ่งของพระอุมา) ชาวบ้านรองเอาน้ำไปใช้ภัยพิบัติก็จะไม่เกิด







ภาพปั้นและสลักในพระธาตุอิงฮัง จะพบแนวความเชื่อในลัทธิไศวะเป็นพื้นฐาน โดยบานประตูด้านตะวันออกทั้งสองบาน เป็นภาพแสดงการเสพสมด้วยท่าทางต่างๆ ทั้งหมดบานละสี่ภาพ









รูปปั้นด้วยปูนเสมือนเทพ เป็นภาพที่แสดงความพิสดารของศิวลึงค์ในรูปแบบต่างๆ ทั้งสี่ทิศโดยด้านตะวันออกมีเทพ ๒ องค์ บ้างก็เอามาถือ พาดไหล รองนั่ง พันเอว เป็นต้น ซึ่งความเชื่อตามลัทธิไม่ถือว่าเป็นเรื่องลามกแต่เป็นการแสดงพลังของพระศิวะต่อพระอุมาให้พึงพอใจจะได้ไม่โกรธเป็นเจ้าแม่กาลีที่นำเอาความชั่วร้ายมาให้ เชื่อว่าเป็นการขจัดภัยอันแต่เดิมคือโรคภัยไข้เจ็บและโรคระบาดตามแนวคิดฮินดู





ไม่มีความคิดเห็น:

สรุป พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ ppt ดาวน์โหลด

สรุป พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ ppt ดาวน์โหลด : หมวด 1 บททั่วไป ความมุ่งหมายและหลักการ มาตรา 6-7 จัดการศึกษา เพื่อ เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เก่ง ...