เด็กไทยกับภาษาอังกฤษ
ประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่ความเป็นประเทศเปิดในกลุ่ม ๑๐ อาเซียน และภาษาอังกฤษจะเป็นภาษาที่สอง
มีการประชาสัมพันธ์กันมาอย่างยาวนาน
ถือว่าประเทศเราน่าจะมีความพร้อมในระดับหนึ่งโดยเฉพาะในหมู่นักเรียนนักศึกษาตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานขึ้นไป
แต่โดยรวมเท่าที่เห็นดูเหมือนภาษาอังกฤษในกลุ่มนักเรียนและนักศึกษาจะไม่กระดิกหู นักเรียนจำนวนมากที่พูด
อ่านและเขียนทั้งไม่มีทักษะและไม่ได้ ผู้เรียนในระดับปริญญาก็อยู่ในปัญหาเดียวกันที่ในระดับนี้จำเป็นต้องใช้ศัพท์เทคนิคที่เป็นสากล
แต่กลับอ่าน แปลและใช้สื่อสารไม่ค่อยได้
ทั้งที่กระทรวงได้กำหนดให้เรียนภาษาต่างประเทศตั้งแต่ระดับประถมศึกษา
อีกทั้งครูผู้สอนในโรงเรียนถูกกำหนดให้จบปริญญาตรีทุกคน โดยสถานศึกษาไม่น้อยที่มีวุฒิปริญญาโทและเอก
คำถามที่น่าห่วงในตลาดการแข่งขันในอาเซียนคือ เราจะถูกจัดให้ยืนอยู่อันดับที่เท่าใดของตลาดแรงงาน
ภาพจากhttp://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9570000121241 |
กระทรวงศึกษาธิการ หน่วยงานส่งผ่านและสถานศึกษาจึงถูกสังคมจ้องมองในฐานะผู้จัดการศึกษาให้กับลูกหลาน
ถึงเวลาที่ควรจะเร่งปรับกระบวนท่าการจัดการเรียนการสอนที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองได้แล้ว
แทนคำว่าภาษาต่างประเทศที่ทำให้ความหมายและความสำคัญหายไปเป็นอย่างมาก
ภาษาอังกฤษ : ภาษาที่สองของอาเซียน
คำว่า “ภาษาที่สอง” หากกระทรวงศึกษาธิการยังไม่เคลื่อนไหว เขตพื้นที่และสถานศึกษาก็ประกาศใช้เป็นนโยบายก็ไม่น่าจะผิดต้องถึงขั้นถูกสอบสวนวินัยหรอก การบริหารการเปลี่ยนแปลงด้วยหลักคิดใหม่ๆ (Paradigm) กระทรวงส่งเสริมมาหลายปีแล้ว จึงสามารถคิดได้เองโดยไม่รอสั่งการ
ลูกเสือ สด.ณ ค่ายลูกเสือเอราวัณ |
ผู้บริหารครูอาจารย์ มีโอกาสได้คิดได้ตื่นตัวสร้างความพร้อมให้กับตนเอง ฐานบุคลากรเราดีอยู่แล้วติดปีกแนวคิดให้นิดเดียวก็บินได้ สามารถสรา้งแบบปูพรมได้พร้อมกันด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น