ความนำ
ในการจัดการศึกษาปัจจุบันมีจุดมุ่งหมายสูงสุด (Ultimately Goals) คือ "คุณภาพผู้เรียน" การศึกษาเรากำลังประสบอยู่ก็คือ "คุณภาพผู้เรียน" นั่นเอง
หากมองในภาพรวมระดับประเทศจะพบว่าผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนจากการประเมินของ สำนักทดสอบทางการศึกษา (สทศ.) ส่วนใหญ่จะมีความน่าห่วงคือการมีค่าเฉลี่ยที่ตำกว่าค่าเฉลี่ยกลางของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังกัดของ สพฐ.
หากเปรียบเทียบกับสากลจากการทดสอบ PISA (Programme for International Student Assessment) และTIMSS (Trends in International Mathematics and Science Study) แล้ว สสวท.มีผลการวิเคราะห์ดังนี้
PISA เป็นการวัดเรื่องการรู้หนังสือ (Literacy) เน้นการนำความรู้และทักษะไปใช้ในชีวิตประจำวัน การเผชิญเหตุการณ์จริง การเตรียมตัวเป็นประชาชนในอนาคต โดยประเมินเด็กอายุ 15 ปีที่จบการศึกษาภาคบังคับของประเทศสมาชิก 3 ด้าน คือด้านการอ่าน ด้านคณิตศาสตร์ และด้านวิทยาศาสตร์ พบว่า ในปี 2000 ด้านการอ่านเด็กไทย อยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย OECD (Organization for Economic Coorperation and Development) อยู่ในลำดับค่อนไปทางท้ายของตาราง ที่ 32 ใน 39 ประเทศ และค่าเฉลี่ย 431 และมีค่าความสามารถในการอ่านระดับ 2 ใน 5 ระดับ
หมายถึง "มีความสามรถในการอ่านระดับพื้น ๆ กล่าวคือสามารถอ่านและจับใจความได้ต่อเมื่อข้อความค่อนข้างตรงไปตรงมา สามารถอ้างอิงหรือเปรียบเทียบได้ในระดับต่ำ"
TIMSS มีประเทศสมาชิกร่วมทดสอบในปี 2007 จำนวน 59 ประเทศ วิชาคณิคศาสตร์ อนู่ในอันดับที่ 29 ด้วย 441 คะแนน ส่วนวิชาวิทยาศาสตร์ อยู่ในอันดับที่ 21 ด้วย 571 คะแนน
เขตพื้นที่การศึกษา ควรทำอย่างไร
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีบทบาทสำคัญในการเป็นศูนย์กลางการบริหารจัดการศึกษาสูคุณภาพและมาตรฐาน จึงควรแสดงศักยภาพที่จะเอื้อต่อการการสร้าง "คุณภาพผู้เรียน" ในเรื่องต่อไปนี้
1. เข้าใจและเข้าถึงปัญหาด้านคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา
การเตรียมความพร้อมฐานข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ทั้งจากสำนักทดสอบทางการศึกษา (สทศ.)สถาบันส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) สถาบันระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับ PISA และ TIMSS ตลอดจนสถานศึกษาในสังกัดทุกแห่ง มีฐานข้อมูลที่พร้อมครบถ้วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลปฐมภูมิที่จำเป็นต่อการนำมาประมวลผล
สิ่งที่ควรดำเนินการ คือ
1.1 จัดระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อ่การบริหารและวางแผนทางการศึกษาที่เป็นปัจจุบัน โดย พัฒนาระบบข้อมูลด้านคุณภาพ มาตรฐาน ปัจจัยการบริหารจัดการ การลำดับความสำคัญประเด็นปัญหาและอุปสรรค ที่เป็นมาตรฐานเดียวกันใช่ร่วมกันทั้งในระดับองค์กรภายในและสถานศึกษา
1.2 จัดระบบสื่อสารสนเทศและระบบออนไลน์เพื่อการเข้าถึงบริหารจัดการที่สามารถนำไปใช้อย่างมีคุณภาพ
1.3 แผนภูมิ แผนผัง หรือระบบจีพีเอสเพื่อการบริหารเครือข่าย และเขตบริการของโรงเรียน
1.4 การจัดองค์กรประสิทธิภาพต้นแบบและผู้รับผิดชอบที่สอดรับกับภารกิจหลักขององค์กร
1.5 การสร้างความตระหนัก พัฒนาประสิทธิภาพ ศักยภาพบุคลากรให้มีความพร้อมสูงในการทำงาน
2. กำหนดทิศทางการทำงาน
ควรเน้น "คุณภาพผู้เรียนเป็นสำคัญ" เป็นเป้าหมายสุดท้าย ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และมีวิธีดำเนินการ ได้แก่
2.1 การทำแผนกลยุทธ์ วิเคราะห์องค์กร กำหนดวิสัยทัศน์ กำหนดเป้าหมายความสำเร็จ ภารงาน แผนงานระยะยาว 3-5 ปีอย่างชัดเจน เช่น การยกระดับผลสัมฤทธ์ คุณภาพและมาตรฐานที่คาดหวัง สอดคล้องกับมาตรฐานของ สพฐ.และชาติ
2.2 การทำแผนปฏิบัติการ ที่สอดคล้องกับกลยุทธิ์และแนวทางองค์คณะบุคคลทั้งสามฝ่ายเสนอแนะ
2.2 การดำเนินงานขององค์กรระดับเขตพื้นที่ ได้แก่ คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา (ก.พท.) คณะกรรมการนิเทศ ติดตามและประเมินผล (ก.ต.ป.น.) และอนุกรรมการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ).เขตพื้นที่ ให้มุ่งเน้นไปที่"คุณภาพผู้เรียนเป็นสำคัญ" เช่น การบรรจุแต่งตั้ง การย้าย การส่งเสริมวิทยฐานะ และการอบรมพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความสัมพันธ์กับการคุณภาพ ผลสัมฤทธิ์ และการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นประเด็นชี้วัดความสำเร็จ
2.3 การจัดทำปฏิทินประจำปีการศึกษาระดับเขตพื้นที่ โดยกำหนดกิจกรรมหลักของสำนักงานไว้เป็นรายปี วันเปิดเรียน ปิดเรียน วันสำคัญ วันหยุดราชการ วันเรียนสะสมประจำภาคเรียนและปีการศึกษา กิจกรรมระดับเขต เช่น มหกรรมกีฬา มหกรรมวิชาการ เป้นต้น เพื่อให้โรงเรียนได้ถือเป็นแนวทางในการจัดทำปฏิทินและแผนงานประจำปี
2.4 จัดระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา เป็นหน้าที่โดยตรงของสำนักงานเขตตามมาตรา 48 แห่งพระราชบัญัติการศึกษาแห่งชาติ โดยให้มีการประเมินมาตรฐานการศึกษา คือ มาตรฐาน 18++ ในสถานศึกษาทุกแห่งอย่างต่อเนื่อง มีการจัดทำรายงานประจำปี จัดทำรายงานผลการประเมินและเปิดเผยต่อสาธารณชน
ปัจจัยสู่ความสำเร็จ
1. ภาวะผู้นำองค์กรเพื่อการเปลี่ยนแปลง
2. การสรางมุมมองและวิธีคิดใหม่ (Paradigm) ระดับองค์กร ต้องมุ่งไปที่จุดหมายปลายทางเดียวกัน คือ "คุณภาพผู้เรียน"
3. การบริหารจัดการแนวใหม่ (New Public Management -NPM) ที่เน้นผลประโยชน์และความพึงพอใจของผู้รับบริการเป็นสำคัญ เป็นองค์กรประสิทธิภาพต้นแบบ
4. การมีหลักธรรมาภิบาล ที่เน้นการมีส่วนร่วมและความโปร่งใสเป็นสำคัญตลอดแนว
5. โรงเรียนดำเนินการไปก่อนหรือคู่ขนานกับสำนักงานเขต
อ้างอิง
Samuel C.Certo แต่ง แปลโดย ผศ.พัชนี นนทศักดิ์, พ.ต.อ.ดร.ปิยะพันธ์ ปิงเมือง และ ดร.สมศรี ศิริไหวประพันธ์. การจัดการสมัยใหม่ Modern Management :9th. ed กรุงเทพฯ : บริษัทเพียร์สัน เอดูเคชั่น อินโดไชน่า จำกัด. 2549
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค. 2547.
Edwin B. FLippo Management : a behavioral approach. 2nd. Boston : Allyn and Bacon. 1972.
http://www.ipst.ac.th/pisa/index.htm
http://nces.ed.gov/timss/
คงไม่จำเป็นต้องลงรายละเอียดระดับเขตพื้นที่ให้เสียรังวัด แต่หากถามว่าแล้วใครจะเป็นผู้แสดงความรับผิดชอบที่แท้จริงในเรื่องนี้และจะมีวิธีการแก้ไขกันอย่างไร
เรื่องการรับความผิด คงไม่มีใครอยากรับไว้เว้นแต่ความชอบ ถามครูผู้สอนก็อาจจะโบ้ยไปที่ผู้บริหารที่ไม่ให้ความเอาใจใส่ที่ดีพอ หากถามผู้บริหารก็รับรองว่าโบ้ยไปให้เขตพื้นที่ในฐานผู้บังคับบัญชาดูแล ผู้อำนวยการเขตเองก็คงไม่กล้าโบ้ยไปยังสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐานแต่ที่น่าจะทำก็คือโบ้ยไปที่ผู้บริหารโรงเรียนย้อนลงมา คือพูดง่าย ๆ ว่า มันจะต้องมีที่ลงให้ได้ ไม่มีใครหรอกที่อยากจะให้คนอื่นมารุ่มชี้ว่าความผิดอยู่ที่ตนเอง
ใคร...คือองค์กรที่สาธารณชนคาดหวัง
ระดับประชาชนผู้แกครอง ชาวบ้านทั่วไปจะมองไปที่โรงเรียน เพราะโรงเรียนเป็นศูนย์การพัฒนาการเรียนรู้ คุณภาพและมาตรฐานเด็กที่พวกเขาสัมผัสและแตะต้องได้
แต่ในระดับของนักบริหารจัดการ นักการศึกษา นักการเมือง นักปกครอง ตลอดจนผู้นำท้องถิ่นจะมองมาที่ระดับเขตพื้นที่ เพราะเห็นว่าเป็นศูนย์กลางการบริหารจัดการที่เป็นองค์กรเดียวมในพื้นที่ของกระทรวงศึกษาธิการ ที่มีองค์คณะบุคคลสามฝ่าย มีการส่งมอบนโยบายและแนวทางมาให้ดำเนินการ และไม่อาจปัดความรับผิดชอบได้ เพราะทิศทางการบริหารจัดการ จะมีคุณภาพมาตรฐานอย่างไร มีระดับความเข้มข้นในการปฏิบัติงานในโรงเรียนเท่าใดนั้นอยู่ที่เขตพื้นที่การศึกษา
ดังนั้น ผู้นำตัวจริง ก็คือ...เขตพื้นที่การศึกษา
เขตพื้นที่การศึกษา ควรทำอย่างไร
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีบทบาทสำคัญในการเป็นศูนย์กลางการบริหารจัดการศึกษาสูคุณภาพและมาตรฐาน จึงควรแสดงศักยภาพที่จะเอื้อต่อการการสร้าง "คุณภาพผู้เรียน" ในเรื่องต่อไปนี้
1. เข้าใจและเข้าถึงปัญหาด้านคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา
การเตรียมความพร้อมฐานข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ทั้งจากสำนักทดสอบทางการศึกษา (สทศ.)สถาบันส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) สถาบันระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับ PISA และ TIMSS ตลอดจนสถานศึกษาในสังกัดทุกแห่ง มีฐานข้อมูลที่พร้อมครบถ้วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลปฐมภูมิที่จำเป็นต่อการนำมาประมวลผล
สิ่งที่ควรดำเนินการ คือ
1.1 จัดระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อ่การบริหารและวางแผนทางการศึกษาที่เป็นปัจจุบัน โดย พัฒนาระบบข้อมูลด้านคุณภาพ มาตรฐาน ปัจจัยการบริหารจัดการ การลำดับความสำคัญประเด็นปัญหาและอุปสรรค ที่เป็นมาตรฐานเดียวกันใช่ร่วมกันทั้งในระดับองค์กรภายในและสถานศึกษา
1.2 จัดระบบสื่อสารสนเทศและระบบออนไลน์เพื่อการเข้าถึงบริหารจัดการที่สามารถนำไปใช้อย่างมีคุณภาพ
1.3 แผนภูมิ แผนผัง หรือระบบจีพีเอสเพื่อการบริหารเครือข่าย และเขตบริการของโรงเรียน
1.4 การจัดองค์กรประสิทธิภาพต้นแบบและผู้รับผิดชอบที่สอดรับกับภารกิจหลักขององค์กร
1.5 การสร้างความตระหนัก พัฒนาประสิทธิภาพ ศักยภาพบุคลากรให้มีความพร้อมสูงในการทำงาน
2. กำหนดทิศทางการทำงาน
ควรเน้น "คุณภาพผู้เรียนเป็นสำคัญ" เป็นเป้าหมายสุดท้าย ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และมีวิธีดำเนินการ ได้แก่
2.1 การทำแผนกลยุทธ์ วิเคราะห์องค์กร กำหนดวิสัยทัศน์ กำหนดเป้าหมายความสำเร็จ ภารงาน แผนงานระยะยาว 3-5 ปีอย่างชัดเจน เช่น การยกระดับผลสัมฤทธ์ คุณภาพและมาตรฐานที่คาดหวัง สอดคล้องกับมาตรฐานของ สพฐ.และชาติ
2.2 การทำแผนปฏิบัติการ ที่สอดคล้องกับกลยุทธิ์และแนวทางองค์คณะบุคคลทั้งสามฝ่ายเสนอแนะ
2.2 การดำเนินงานขององค์กรระดับเขตพื้นที่ ได้แก่ คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา (ก.พท.) คณะกรรมการนิเทศ ติดตามและประเมินผล (ก.ต.ป.น.) และอนุกรรมการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ).เขตพื้นที่ ให้มุ่งเน้นไปที่"คุณภาพผู้เรียนเป็นสำคัญ" เช่น การบรรจุแต่งตั้ง การย้าย การส่งเสริมวิทยฐานะ และการอบรมพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความสัมพันธ์กับการคุณภาพ ผลสัมฤทธิ์ และการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นประเด็นชี้วัดความสำเร็จ
2.3 การจัดทำปฏิทินประจำปีการศึกษาระดับเขตพื้นที่ โดยกำหนดกิจกรรมหลักของสำนักงานไว้เป็นรายปี วันเปิดเรียน ปิดเรียน วันสำคัญ วันหยุดราชการ วันเรียนสะสมประจำภาคเรียนและปีการศึกษา กิจกรรมระดับเขต เช่น มหกรรมกีฬา มหกรรมวิชาการ เป้นต้น เพื่อให้โรงเรียนได้ถือเป็นแนวทางในการจัดทำปฏิทินและแผนงานประจำปี
2.4 จัดระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา เป็นหน้าที่โดยตรงของสำนักงานเขตตามมาตรา 48 แห่งพระราชบัญัติการศึกษาแห่งชาติ โดยให้มีการประเมินมาตรฐานการศึกษา คือ มาตรฐาน 18++ ในสถานศึกษาทุกแห่งอย่างต่อเนื่อง มีการจัดทำรายงานประจำปี จัดทำรายงานผลการประเมินและเปิดเผยต่อสาธารณชน
ปัจจัยสู่ความสำเร็จ
1. ภาวะผู้นำองค์กรเพื่อการเปลี่ยนแปลง
2. การสรางมุมมองและวิธีคิดใหม่ (Paradigm) ระดับองค์กร ต้องมุ่งไปที่จุดหมายปลายทางเดียวกัน คือ "คุณภาพผู้เรียน"
3. การบริหารจัดการแนวใหม่ (New Public Management -NPM) ที่เน้นผลประโยชน์และความพึงพอใจของผู้รับบริการเป็นสำคัญ เป็นองค์กรประสิทธิภาพต้นแบบ
4. การมีหลักธรรมาภิบาล ที่เน้นการมีส่วนร่วมและความโปร่งใสเป็นสำคัญตลอดแนว
5. โรงเรียนดำเนินการไปก่อนหรือคู่ขนานกับสำนักงานเขต
อ้างอิง
Samuel C.Certo แต่ง แปลโดย ผศ.พัชนี นนทศักดิ์, พ.ต.อ.ดร.ปิยะพันธ์ ปิงเมือง และ ดร.สมศรี ศิริไหวประพันธ์. การจัดการสมัยใหม่ Modern Management :9th. ed กรุงเทพฯ : บริษัทเพียร์สัน เอดูเคชั่น อินโดไชน่า จำกัด. 2549
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค. 2547.
Edwin B. FLippo Management : a behavioral approach. 2nd. Boston : Allyn and Bacon. 1972.
http://www.ipst.ac.th/pisa/index.htm
http://nces.ed.gov/timss/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น