วันอาทิตย์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2553

ผู้บริหารจะสร้างความตระหนักห้องเรียนคุณภาพสูงได้อย่างไร

ห้องเรียนคุณภาพ ได้ถูกนำมาเป็นแนวทางในการยกระดับการศึกษาของ สพฐ. มาตั้งแต่ พ.ศ.2552 โดยสนองแนวทางการบริหารการเปลี่ยนแปลง โดยมุ่งการจัดการเรียนการสอนสู่เป้าหมายสูงสุดคือ ผู้เรียนมีคุณภาพ (Quality Learners) ทั้งมีความดี มีความสุขและเป็นคนเก่ง ขณะเดียวกัน ในระดับเขต สพฐ.ก็ได้กำหนดแบบประเมินห้องเรียนคุณภาพมาเพื่อให้สำนักงานเขตพื้นที่ได้นำไปใช้แล้ว

ในระดับโรงเรียน ซึ่งเป็นหน่วยปฏิบัติ การสร้างความตระหนักจะเป็นความยากลำบากในระดับต้น ๆ ของการบริหารจัดการ บ่อยครั้งที่ได้ยินว่า “ได้แจ้งให้ครูทราบแล้ว” หรือไม่ก็บอกว่า “ไม่อยากไปก้าวก่ายหน้าที่ครู” จนถึงขั้นว่า “ช่างเถอะ อย่าไปยึดมั่นถือมั่นนักเลย” เป็นต้น การออกตัวไม่เป็นสิ่งที่ปัดความรับผิดชอบของผู้นำได้ หากไม่มีการเตรียมการที่ดีพอก็แสดงว่าโรงเรียนขาดคุณภาพ เพราะห้องเรียนคุณภาพ (Quality Classroom) จะต้องมาจากโรงเรียนคุณภาพ (Quality School)
ได้พบตัวขี้วัดที่จะป็นเครื่องมือแก่ผู้บริหารโรงเรียนขิ้นหนึ่ง ชื่อว่า How to Recognize a High Quality Classroom สำหรับห้องเรียนเกรด 3 ลงมา หากโรงเรียนลองนำแนวทางในการตรวจสอบการทำงานของครูเพื่อพัฒนา "ห้องเรียนคุณภาพ" เป็นเครื่องมือการบริหาร ก็น่าจะช่วยให้คำว่าห้องเรียนคุณภาพได้เกิดขึ้นอย่างแท้จริง จากแบบตรวจสอบเพื่อสร้างความตระหนัก ข้างล่างนี้

.................................................................
จะสร้างความตระหนักห้องเรียนคุณภาพสูงได้อย่างไร
(How to Recognize a High Quality Classroom)
แปลจาก...รายการตรวจสอบจากของการปฏิบัติงานในห้องเรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น ของ เฮมมีเตอร์ (Hemmeter, M.L) และคณะ ได้พัฒนาเพื่อใช้ในห้องเรียนเกรด 3 ซึ่งอาจกำหนดค่าระดับให้เหมาะสมตามลักษณะงานที่ปฏิบัติ

[ ] ห้องเรียนถูกเตรียมการไว้เป็นอย่างดี ด้วยพื้นที่ทำงานและที่ผ่อนคลาย (ได้แก่ เบาะนั่งขนาดใหญ่ พื้นที่ปูพรม เป็นต้น)
[ ] ผลงานของเด็กได้จัดไว้ที่ห้องในระดับสายตา และเด็กได้เลือกผลงานของเขามาแสดงไว้ด้วย
[ ] โต๊ะและเก้าอี้มีขนาดเหมาะสมให้ทำงานได้สะดวกสบาย
[ ] วัสดุสื่อการเรียนรู้ที่เด็กจับต้องได้ (ได้แก่ เครื่องมือศิลป์ เกมต่างๆ เครื่องวัดต่างๆ เป็นต้น) ต้องเป็นสิ่งที่ช่วยในการเรียนอย่างน้อย 2 วิชาที่แตกต่างกัน (เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เป็นต้น)
[ ] เด็กสามารถใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการสืบค้นตามแนวคิดของเขา (เช่น การใช้อินเตอร์เน็ต การใช้สารานุกรมจากแผ่นซีดีรอม เป็นต้น)
[ ] เด็กมีการเลือกทางเลือกที่หลากหลายในแต่ละวัน
[ ] เมื่อมีเด็กพิการในห้องเรียนปกติ จะต้องได้ทำในสิ่งเดียวกันกับตนอื่น ด้วยการปรับวิธีการที่เหมาะสม
[ ] ครูในห้องเรียนปกติต้องปฏิบัติในบางจุดมุ่งหมายตามแนวทางการจัดการเรียนรู้เฉพาะราย(IEP)สำหรับเด็กที่ผิดปกติในชั้นเรียน
[ ] ครูได้นำข้อมูลสารสนเทศที่เก็บจากความก้าวหน้าของเด็กมาใช้ในการตัดสินการสอน (เช่น การใช้เวลาพิเศษในการฝึกทักษะ)
[ ] ครูมีการปลุกเร้าเด็กในการเสนอรายละเอียดในสิ่งที่พูด (เช่น บอกซิว่าทำไมเธอคิดอย่างนั้น)
[ ] เด็กๆ มีการพูดเกี่ยวกับผลงานพวกเขาบ่อย ๆ
[ ] ครูปรับกิจกรรมและวัสดุต่าง ๆ ให้เป็นไปตามความปรารถนาของเด็กแต่ละคน
[ ] วิชาคณิตศาสตร์ ศิลปะทางภาษา วิทยาศาสตร์ และสังคมศึกษา จะต้องนำมาเล่าเรียนอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง
[ ] เด็ก ๆ ต้องได้ใช้ทักษะทั้งกายทุกวัน (ได้แก่ วิ่ง กระโดด ห้อยโยน โยน...)
[ ] ครูปลุกเร้าให้เด็กทำงานและเล่นกับเด็กอื่น และครูช่วยให้เด็กได้แก้ปัญหากับและกันร่วมกับเด็กคนอื่น
[ ] เด็กได้รับโอกาสอย่างมากในการในการเรียนรู้เกี่ยวกับบุคคลต่างวัฒนธรรมจากการอ่านหนังสือ เล่นเกมกีฬาต่าง ๆ ร่วมกิจกรรมตามคำบอกของครู
[ ] เด็กได้รับอนุญาตให้ทำงานด้วยวิธีการของตนเอง (เช่น การใช้เวลาที่มากขึ้นที่จะทำโครงงานให้สำเร็จ หรือการเคลื่อนไปอีกกิจกรรมหนึ่งเมื่อชิ้นงานสำเร็จแล้ว)
[ ] ครูมีการติดต่อกับครอบครัวบ่อยครั้งเกี่ยวกับความก้าวหน้า (รวมทั้งความสำเร็จ)

......................................................................................


แบบตรวจรายการสำคัญอย่างไร

1. ใช้เป็นแบบตรวจติดตามและกำกับการทำงานครู
2. เหมาะสำหรับระดับบริหาร คือ ผู้อำนวยการหรือครูใหญ่ (Principal) ที่มีการวางแผนและการกำกับให้เป็นไปตามแผน จึงเหมาะที่จะคอยตรวจสอบและกำกับอย่างสม่ำเสมอ เพราะใช้เพียงหน้าเดียว สามารถเก็บข้อมูลของครูได้เป็นรายบุคคล สามารถตรวจสอบความก้าวหน้าอย่างมีระบบ สรุปผลงานเชิงวิจัยได้

แนวทาง/วิธีการประยุกต์ใช้

1) อาจใช้มาตรส่วนประมาณค่า (rating scale) เป็นค่าคะแนน เช่น คะแนน 5 หมายถึง ดีที่สุด /คะแนน 4 หมายถึง ดี / คะแนน 3 หมายถึง ปานกลาง / คะแนน 2 หมายถึง พอใช้ และ คะแนน 1 หมายถึง ไม่พอใช้ เป็นต้น
2) โรงเรียนมีการกำหนดแนวทาง ข้อตกลง ผู้ประเมิน ผู้รับการประเมินและปฏิทินการประเมินให้ชัดเจน
3) กำกับติดตามและประเมินอย่างน้อยภาคเรียนละ 2 ครั้ง
4) มีการประเมินผล สรุปผล และการพัฒนา เช่น แผนกลยุทธ์ แผนพัฒนาการศึกษา

อ้างอิง : http://www.fpg.unc.edu/~fx/PDFs/peec.pdf
เอกสารดาวน์โหลด ที่ http://upload.one2car.com/download.aspx?pku=3A502B39F4D59C5UF7SQYJQ774OFS9

ไม่มีความคิดเห็น:

สรุป พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ ppt ดาวน์โหลด

สรุป พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ ppt ดาวน์โหลด : หมวด 1 บททั่วไป ความมุ่งหมายและหลักการ มาตรา 6-7 จัดการศึกษา เพื่อ เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เก่ง ...