วันจันทร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2553

การวิจัยบทเรียน (Lesson Study) ความสำเร็จการสอนคณิตศาสตร์ของครูญี่ปุ่น

การวิจัยบทเรียน (Lesson Study)
เป็นหนึ่งในกระบวนการร่วมมือของครูเพื่อการพัฒนาวิชาชีพที่ถูกพัฒนาในประเทศญี่ปุ่น ครูเป็นจำนวนมากในสหรัฐและแคนาดามีความสนในในกระบวนการนี้ เฉพาะอย่างยิ่ง ความสามารถในผลการทดสอบด้านคณิตวิทยาศาสตร์ระดับสากล (TIMSS- Trends in International Mathematics and Science Study) ญี่ปุ่นอยู่ในอันดับ 1 ใน 5 ของโลก ซึ่งเห็นจุดเด่นในด้านความสามารถและมีความคิดที่ล้ำลึกทางคณิตศาสตร์ของเด็กญี่ปุ่นเพื่อไปปรับปรุงการสอนและผลสัมฤทธิ์ในวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนของเขา ปัจจัยที่เป็นกุญแจแห่งความสำเร็จของครูคณิตศาสตร์ญี่ปุ่นก็คือ กระบวนการวิจัย(ศึกษา)บทเรียน (Lesson Study) นั่นเอง

การวิจัยบทเรียน (Lesson Study) คืออะไร
การวิจัยบทเรียน เป็นการทำงานร่วมกันของกลุ่มครูเพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย และการพัฒนาแผนการสอนที่มีการสังเกต การวิเคราะห์ และทบทวนร่วมกัน การกำหนดประเด็นของครูผ่านกระบวนการเหล่านี้ก็เพื่อที่จะปรับปรุงวิธีคิดของเด็กและการทำให้บทเรียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น

กระบวนวิจัยบทเรียน มีการดำเนินการตามกระบวนการดังนี้

1. เลือกหัวข้อการการศึกษา (Choose a research theme)
โดยกลุ่มครูร่วมกันสร้างหัวข้อการศึกษาวิจัย เป็นการมองที่ภาพกว้างของโรงเรียน มีจุดเน้นที่คำถามการศึกษาที่เกี่ยวกับทักษะหรือเจตคติการมีส่วนร่วมของนักเรียนที่อยู่ในความดูแล ตัวอย่าง หัวข้อการศึกษาอาจเพื่อหาว่า...จะเพิ่มการอิสระในการคิดของนักเรียนในวิชาคณิตศาสตร์ได้อย่างไร

2. ระบุประเด็นในการศึกษา (Focus the research)ครูเลือกหน่วยและกำหนดจุดมุ่งหมายที่จะศึกษา เพื่อศึกษาความสามารถและความต้องการของผู้เรียนภายใต้หน่วยการเรียนที่กำหนด ตัวอย่าง ครูอาจเลือกหน่วยการเรียนเรื่องการเปลี่ยนรูปทรงเรขาคณิต และจุดมุ่งหมายของการเพิ่มความสามารถของนักเรียน ก็คือการใช้วิธีคิดอย่างมีอิสระที่จะประยุกต์การเปลี่ยนรูปทรง ภายใต้ข้อตกลงร่วมที่สอดคล้องและเหมือนกัน

3. สร้างบทเรียน (Create the lesson)ครูเลือกบทเรียนจากหน่วยนำไปพัฒนาและใช้เป็นต้นแบบแผนการสอนที่ได้สร้างขึ้น(Template) ตันแบบนี้ต้องมีความเหมาะสมตามสาระหลักสูตรโรงเรียน ที่เชื่อมโยงกับชื่อเรื่องบทเรียนและทักษะด้านเนื้อหาที่ได้รับก่อนเรียน และเพื่อเป็นเนื้อหาสู่การเรียนในระดับที่สูงขึ้นต่อไป แม่แบบแผนการสอนนี้ยังเน้นวิธีประเมินการคิดระหว่างบทเรียนอีกด้วย

4. สอนและสังเกตบทเรียน (Teach and observe the lesson)บทเรียนจะถูกสอนโดยสมาชิกของกลุ่มและจะได้รับการสังเกตจากสมาชิกคนอื่น ๆ โดยมุ่งการดูที่วิธีการคิดของเด็ก ไม่ใช่ประเด็นที่ความสามารถการสอนของครู

การสังเกตเก็บรายละเอียดการทำงาน วิธีการคิดและแก้ปัญหาของนักเรียนโดยสมาชิกครู

5. สนทนาบทเรียน (Discuss the lesson)
กลุ่มสมาชิกนำบทเรียนและนำข้อสังเกตต่าง ๆ จากบทเรียนมาสนทนากัน การสนทนาควรทำในวันเดียวกัน เป็นการนำเสนอและวิเคราะห์วิธีคิดและการทำงานของนักเรียนแต่ละคน/กลุ่ม ว่ามีจุดที่เด่นจุดด้อย และสอดคล้องกับบทเรียนที่กำหนดอย่างไร

6. ทบทวนบทเรียน (Revise the lesson)
หมายถึงการนำบทเรียนไปใช้อีกโดยครูสมาชิกที่ได้รับเลือกในกลุ่ม และใช้หลักการเดียวกันคือการสังเกต และการวิเคราะห์ โดยจะต้องทำการสนทนาทบทวนบทเรียนอีกครั้ง ขั้นตอนนี้ จะเป็นการสร้างความชัดเจนของผลการศึกษาคือบทเรียนและทักษะการคิดของนักเรียนที่ได้จากการสอนครั้งที่ผ่านมา

7. การสรุปรายงานข้อค้นพบ (Document the findings)
เมื่อสิ้นสุดกระบวนการ กลุ่มจัดทำรายงานในระบบเครือข่ายในสิ่งที่ได้เรียนรู้จากหัวข้อและจุดมุ่งหมายที่ได้ตั้งไว้

วงจรการวิจัยบทเรียน สรุปได้ดังนี้

กำหนดจุดมุ่งหมาย ==> วิเคราะห์และวางแผน ==> สอนและสังเกต ==>
สนทนาและทบทวน ==> สอนและสังเกต ==> สนทนาและทบทวน ==> รายงานผลตามจุดมุ่งหมาย

ในญี่ปุ่น ระยะเวลาของกระบวนการแตกต่างกันไป แต่สามารถขยายเวลาหลายปี ขนาดของกลุ่มครูก็มีความแตกต่างด้วยแต่โดยทั่วไปอยู่ระหว่าง 4-6 คน รวมทั้งผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญภายนอก โดยแต่ละกลุ่มปกติแล้วจะทำงานปีละ 2-3 บทเรียน
สิ่งที่ดีที่สุดให้คิดว่า การวิจัยบทเรียน เป็นเหมือนสะพาน สะพานที่ก่อแบบขึ้นมาโดยครูมาทำงานและร่วมมือกัน และสะพานก่อวางข้ามหลักสูตร โดยมองว่าจะใช้บทเรียนและทักษะทั้งหลายอย่างไรจึงจะเชื่อมโยงไปยังระดับคะแนนที่ตั้งไว้ได้ ดังนั้น กระบวนการวิจัยบทเรียน จึงเป็นการช่วยเอาความโดดเดี่ยวของครูทิ้งไป ทั้งการทำงานของครูและด้านทักษะการสอนของครู

อุปสรรคและการเอาชนะ

การวิจัยบทเรียน อาจดูเหมือนกระบวนการที่ยิ่งใหญ่ สิ่งหนึ่งที่ต้องการคือการพิจารณาด้านเวลาและความพยายามในการกำหนดตารางการทำงานให้เรียบร้อย อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ได้ลงมือกระทำก็จะเป็นผู้ที่ได้รับรางวัลอย่างไม่น่าเชื่อและกระบวนการที่มีประโยชน์ สร้างคุณค่าด้านการใช้เวลาและความพยายาม
จากในปัจจุบัน ที่มุ่งเน้นที่จะปรับปรุงผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนและการปลูกฝังความตระหนักในที่จะใช้กับนักเรียนญี่ปุ่นในวิชาคณิตศาสตร์อย่างเข้มข้น การวิจัยบทเรียนจึงดูเหมือนเป็นกระบวนการที่ถูกต้องในเวลาที่เหมาะสมนี้ ธรรมชาติของการร่วมมือของการวิจัยบทเรียน จะช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งในหมู่ครูและการปรับปรุงการสอน
ข้อค้นพบจากการวิจัยบทเรียนนี้ ช่วยสร้างความเป็นมืออาชีพในการสอนให้แก่ครู และแน่นอน รางวัลที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือประโยชน์ที่นักเรียนได้รับจากการปรับปรุงการนำไปใช้และวิธีคิดในวิชาคณิตศาสตร์ของพวกเขา แม้ว่ามันจะให้ประโยชน์มาก กระบวนการดังกล่าวยังเหมือนอยู่ในภาวะมีอุปสรรค อย่างไรก็ตาม ครูต้องระลึกว่าจะต้องร่วมกันทำงานเพื่อปรับปรุงการเรียนรู้ของนักเรียน การแลกเปลี่ยนจุดประสงค์ร่วมกันก็สามารถเพิ่มคุณค่าได้เป็นอย่างดีทีเดียว และมันยังช่วยให้ครูได้จดจำในประเด็นที่ได้สังเกต คือ อยู่ที่วิธีคิดของเด็ก ไม่ใช่ความสามารถในการสอนของพวกเขา สิ่งนี้มันสามารถช่วยลดความกังวลลงไปได้สำหรีบครู

จะเริ่มต้นอย่างไร (Getting Started)

จะเป็นการดีที่สุดหากเริ่มจากครูที่มีความสนใจกลุ่มเล็ก ๆ ซึ่งอาสามาร่วมกันและจเป็นการดีมากหากจะหาครูผู้สอนต่างระดับจากโรงเรียนอื่นมาร่วมด้วย กลุ่มริเริ่มอาจต้องการทำจากสิ่งง่าย ๆ ก่อน ในบางสาระของกระบวนการมากกว่าการทำเต็มกระบวนการอย่างสมบูรณ์ เช่น การเพียงได้เข้าร่วมมือกับกลุ่มครู ในการสังเกตการเข้าถึงจุดหมายของนักเรียนก็ถือว่าคุ้มค่าทีเดียว
ดังนั้น การได้พัฒนาบทเรียนร่วมกันและได้ร่วมกันดูว่าจุดมุ่งหมายของบทเรียนและวัตถุประสงค์มีความเหมาะสมกับหลักสูตรที่ใช้กับนักเรียนชั้นต่าง ๆ อย่างไร และจะวัดความคิดของนักเรียนระหว่างบทเรียนนั้นอย่างไร ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่สร้างคุณค่ามาก
การสังเกตบทเรียน (ข้อควรจำ : การเพ่งความสนใจตอความคิดของเด็ก ไม่ใช่ความสามารถของครู) และการสนทนาจากข้อสังเกตร่วมกัน แน่นอนว่า มันจะเกิดพลังการฝึกที่สร้างการหยั่งรู้ที่ยิ่งใหญ่และได้ปรับปรุงความรู้วิชาการด้วย
หากกลุ่มริเริ่มมีเวลาและความสนใจ ก็มีความสำคัญต่อการดำเนินการต่อในกระบวนการทบทวนบทเรียนและการมีครูอื่นนำไปสอนและมีการสังเกตบทเรียนอีก (จะมีความน่าสนใจมาก หากจะให้ครูอื่นได้ทำการสอนนักเรียนของคุณ วิธีการนี้อาจนำไปสู่การหาคุณค่าในวิธีคิด การหาจุดเด่น และจุดด้อยของนักเรียนของคุณ)
ในกลุ่มศึกษาจากบทเรียนใหม่ อาจมีวิธีการจัดการที่จะติดตามเพียงบางส่วน แต่หวังว่า กลุ่มของคุณจะสามารถทำให้สมบูรณ์ตามกระบวนการได้

ลำดับวงจรการวิจัยบทเรียน (Lesson Study Cycle Steps)
1. เลือกจุดประสงค์สาระ (Select a broad goal) เช่น การเพิ่มความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผลวิขาคณิตศาสตร์ หรือ การเพิ่มความมั่นใจในความสามารถทางคณิตศาสตร์ เป็นต้น
2. เลือกหน่วยที่จะสอนและวิเคราะห์ความสามารถและความต้องการในปัจจุบันของประชากรนักเรียนของคุณ
3. เลือกบทเรียนเพื่อไปพัฒนาร่วมกัน (Select a lesson to develop together) ให้มั่นใจว่า ได้มองไปทักษะที่ได้จากบทเรียนนั้นมีความเหมาะกับทักษะตลอดช่วงชั้นอย่างไร โดยคำนึงถึงร่องรอยวิธีคิดของนักเรียนจากการสังเกตระหว่างบทเรียนด้วย
4. สอนและสังเกตบทเรียน
5. ร่วมกันสนทนาและวิเคราะห์บทเรียน
6. ร่วมกันทบทวนบทเรียนหลังการสนทนา และให้ครูอื่นสอนบทเรียน แล้วสังเกตซ้ำและร่วมกันสนทนา

การดำเนินการตามขั้นตอนกระบวนการคุณก็จะได้เก็บเกี่ยวสิ่งที่มีคุณค่ามากมายและมีความใกล้ชิดกับเพื่อนร่วมอาชีพคุณมากขึ้นด้วย

การสนับสนุนจากฝ่ายบริหาร
แน่นอนว่า การให้การสนับสนุนจากฝ่ายบริหารต่อการศึกษาจากบทเรียนย่อมมีความจำเป็น แต่ประกายที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ในปัจจุบันและความตระหนักในด้านความสำเร็จทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนญี่ปุ่น อย่างน้อยจะต้องได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายบริหาร เมื่อมีการเริ่มต้นที่แห่งหนึ่งอาจต้องให้มีโรงเรียนอื่นได้เดินตาม เช่น โรงเรียนอิลลินอยส์ และคอนเนคติกัต เป็นต้น

กำหนดความคาดหวังที่เป็นไปได้

สุดท้าย ไม่ลืมที่จะกำหนดความคาดหวังที่เป็นไปได้ ไม่จำเป็นต้องมากเมื่อเริ่มต้น จำไว้ว่าองค์ประกอบเดียวที่เริ่มต้นของการศึกษาจากบทเรียนนั่นคือ กระบวนการที่ได้ดำเนินการแล้ว

กระบวนที่เป็นกุญแจสู่การปฏิบัติ ได้แก่
• ความร่วมมือ (Collaborating)
• การวางแผน (Planning)
• การสอน (Teaching)
• การสังเกต (Observing)
• การสะท้อนความเห็น (Reflecting)
• การทบทวน (Revising)

ในปัจจุบัน ศูนย์คณิตศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย รศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ ได้นำเอาแนวทางของการวิจัยบทเรียน มานำร่องในสถานศึกษาในบางเขตพื้นที่ เช่น โรงเรียนกุดบากราษฎร์บำรุง ของ สพท.สกลนคร เขต 2 ได้ใช้แนวการการสอนแบบการวิจัยบทเรียน(Lesson Study)และการเรียนวิธีเปิด(Open Approach) ควบคู่กัน และกำลังจะขยายผลออกไปสู่ชุมชนครูคณิตศาสตร์ที่ใหญ่ขึ้น ทั้งนี้ เพื่อที่จะยกระดับความสามารถและการคิดทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนและการพัฒนาวิชาชีพครูให้กว้างขวางขึ้นต่อไป
ผู้เขียนได้มีโอกาสไปร่วมสังเกตการเรียนการสอนที่โรงเรียนดังกล่าวเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2553 และได้รับฟังคำบรรยายเกี่ยวกับการสอนคณิตศาสตร์ด้วยวิธีเปิด จาก รศ.ดร.ไมตรี อนทร์ประสิทธิ์ ที่เจริญธานีพรินเซส เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 53 ที่จังหวดขอนแก่น เป็นแนวทางที่จะดีในการพัฒนาไปพร้อมกันทั้งผลสัมฤทธิ์ด้านคณิตศาสตร์นักเรียนและวิชาชีพครู บทความนี้จึงได้นำหลักคิดและกระบวนการทำงานเสนอไว้เพื่อเป็นประโยชน์ทางการศึกษาต่อไป


References

1. Heidi Janzen. A former classroom teacher and mathematic specialist. An educational consultant in areas of professional development, curriculum, standards, and assessment.
http://www.glencoe.com/sec/teachingtoday/subject/japanese_lesson_study.phtml
2. For more information on Lesson Study, please reference the Columbia University's Teacher's College Lesson Study Research Group Web site at:
http://www.tc.columbia.edu/lessonstudy/
3. http://www.youtube.com/watch?v=g48DAG4hJd4
4. http://gotoknow.org/blog/educu/151370

5. Michael O. Martin Ina V.S. Mullis Pierre Foy. TIMSS-TRENDS IN INTERNATIONAL MATHEMATICS AND SCIENCE STUDY : TIMSS 2007 International Science Report TIMSS & PIRLS International Study Center, Lynch School of Education, Boston College.: http://timssandpirls.bc.edu

ไม่มีความคิดเห็น:

สรุป พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ ppt ดาวน์โหลด

สรุป พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ ppt ดาวน์โหลด : หมวด 1 บททั่วไป ความมุ่งหมายและหลักการ มาตรา 6-7 จัดการศึกษา เพื่อ เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เก่ง ...