๑. ความนำ : สังคมไทย "สังคมพุทธ"
ประเทศไทยมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมมาแล้วถึงหกทศวรรษ ตั้งแต่ฉบับแรก พ.ศ. ๒๕๐๔ เป็นต้นมาถึงปัจจุบันเป็นฉบับที่ ๑๒ (๒๕๖๐-๒๕๖๔) เพื่อพัฒนาไปสู่ความมั่นคงมั่งคั่ง แต่ผลการพัฒนาที่ผ่านมาจะพบเห็นความเจริญในด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ทุ่มเทงบประมาณอย่างมหาศาล ได้แก่ ถนน การสื่อสารคมนาคม ไฟฟ้าที่เป็นความเจริญด้านวัตถุ แต่ผลการพัฒนาทางสังคมด้านคุณธรรม ศีลธรรมและจริยธรรมยังขาดระบบและความเอาใจใส่ที่จริงจัง
เป็นที่น่ายินดีที่ประเทศไทยได้รับเลือกจากองค์การสหประชาชาติให้เป็นที่ตั้งของ “สำนักงานพระพุทธศาสนาโลก” ด้วยประชากรนับถือศาสนามากว่าร้อยละ ๙๕
ชาติไทยในอดีตนับแต่สมัยสุโขทัยที่นี่เป็นแหล่งที่มั่นทางศาสนาพุทธแทนอินเดียที่เสียทีมั่นไปเมื่อมุสลิมเข้าปกครอง ได้กวาดล้างชาวพุทธ ทำลายคลังความรู้วิทยาการและมหาวิทยาลัยนาลันทาจนสิ้น พระพุทธศาสนามาเจริญคงอยุ่ที่ลังกาและสุโขทัยในเวลาต่อมา
วัดจึงเป็นศูนย์กลางของสังคมไทย จารีตประเพณีเป็นสิ่งบ่งบอกความเป็นพุทธ คือ การไหว้ ที่แสดงการคารวะผู้ใหญ่ด้วยมือทั้งสอง แทนธูปเทียนและดอกไม้ทั้งที่นำมาบูชาพระรัตยตรัยนั่นเอง วัฒนธรรมการกราบไหว้จึงเป็น “สังคมพุทธ” ที่คู่ชาวไทยมายาวนาน
แต่โบราณ วัด เป็นสถาบันหลักของชุมชน เป็นที่บวชเรียนเรียนเขียนอ่านและศึกษาพระธรรมวินัยแล้ว อบรมสั่งสอน กล่อมเกลาปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และศีลธรรมให้แก่พระเณร และยังเป็นศูนย์ฝึกและเรียนรู้วิชาอาชีพให้แก่คนและชุมชน เช่น วิชาช่าง ศิลปะ การกีฬา และอื่นๆ
วัดในปัจจุบันมีประมาณ ๓ หมื่นแห่งและพระประมาณ ๓ แสนรูปทั่วประเทศ ถือว่าเป็นสถาบันหลักที่ยังอยู่คู่กับชุมชน เพื่อการพัฒนาสังคมไทย และเป็นรากแก้วที่สำคัญในการปลูกฝังและสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม ที่กำลังถูกคุกคามด้วยความเชื่อ วิถีชีวิต รูปแบบการดำเนินชีวิตที่เป็นกระแสวัตถุนิยมตามแบบตะวันตก
วัดในปัจจุบันมีประมาณ ๓ หมื่นแห่งและพระประมาณ ๓ แสนรูปทั่วประเทศ ถือว่าเป็นสถาบันหลักที่ยังอยู่คู่กับชุมชน เพื่อการพัฒนาสังคมไทย และเป็นรากแก้วที่สำคัญในการปลูกฝังและสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม ที่กำลังถูกคุกคามด้วยความเชื่อ วิถีชีวิต รูปแบบการดำเนินชีวิตที่เป็นกระแสวัตถุนิยมตามแบบตะวันตก
วัดจึงเป็นศูนย์กลางของสังคมไทย จารีตประเพณีเป็นสิ่งบ่งบอกความเป็นพุทธ คือ การไหว้ ที่แสดงการคารวะผู้ใหญ่ด้วยมือทั้งสอง แทนธูปเทียนและดอกไม้ทั้งที่นำมาบูชาพระรัตยตรัยนั่นเอง วัฒนธรรมการกราบไหว้จึงเป็น “สังคมพุทธ” ที่คู่ชาวไทยมายาวนาน
แก่นความเป็นสังคมพุทธคืออะไร
ความเชื่อทางตะวันออก คือ...ความรัก เอื้อเฟ้อ เผื่อแผ่ ร่มเย็นเป็นสุข...เป็นครอบครัวใหญ่ (ชาวตะวันตกมักใช้คำว่า "สันติและอบอุ่น" ที่มาจากความหนาวเหน็บและความไม่น่าไว้ใจ)
๒. ภาวะการคุกคามสังคมพุทธ
มิติที่เรากำลังมีความคุ้นเคยและยินดี ...ใช่ / ไม่ใช่
[ ] นิยมความมั่งคั่ง(เงินและวัตถุ)แทนความเอื้อเฟื้อแบ่งปัน(ที่เป็นต้นทุนเดิม)
[ ] การแข่งขันเอาเปรียบมากกว่าร่วมมือ
[ ] วัฒนธรรมที่จะเอา (Take) มากกว่าการให้ (Give) (แม้เพียงน้ำใจ)
[ ] วัฒนธรรมการบริโภค มากกว่าการเก็บออม
[ ] ค่านิยมการทำลาย มากกว่าการคุ้มครองอนุรักษ์
[ ] ค่านิยมการเห็นแต่ประโยชน์ตน มากกว่าส่วนรวม(แม้ญาติ)
[ ] การเห็นแก่หน้า มากว่าการรักษากฎ กติกาทางสังคม
[ ] การขาดความกล้า (หาญ) ที่จะตัดสินว่าเป็นคนดี ด้วยเส้นแบ่งระหว่างศีลธรรมและอำนาจเงิน
[ ] รักแสวงหาอำนาจเหนือคนอื่น (Authority) มากกว่าสร้างบารมี (Power) ที่ได้มาด้วยใจ
หากเห็นว่า "ใช่" เพียงข้อเดียวก็เป็นภาวะเสี่ยง (Risk) แล้ว
[ ] นิยมความมั่งคั่ง(เงินและวัตถุ)แทนความเอื้อเฟื้อแบ่งปัน(ที่เป็นต้นทุนเดิม)
[ ] การแข่งขันเอาเปรียบมากกว่าร่วมมือ
[ ] วัฒนธรรมที่จะเอา (Take) มากกว่าการให้ (Give) (แม้เพียงน้ำใจ)
[ ] วัฒนธรรมการบริโภค มากกว่าการเก็บออม
[ ] ค่านิยมการทำลาย มากกว่าการคุ้มครองอนุรักษ์
[ ] ค่านิยมการเห็นแต่ประโยชน์ตน มากกว่าส่วนรวม(แม้ญาติ)
[ ] การเห็นแก่หน้า มากว่าการรักษากฎ กติกาทางสังคม
[ ] การขาดความกล้า (หาญ) ที่จะตัดสินว่าเป็นคนดี ด้วยเส้นแบ่งระหว่างศีลธรรมและอำนาจเงิน
[ ] รักแสวงหาอำนาจเหนือคนอื่น (Authority) มากกว่าสร้างบารมี (Power) ที่ได้มาด้วยใจ
หากเห็นว่า "ใช่" เพียงข้อเดียวก็เป็นภาวะเสี่ยง (Risk) แล้ว
๓. ปัจจัยที่กระทบต่อสังคมพุทธ ได้แก่อะไร
๑) รัฐบาลขาดเสถียรภาพ ไม่ยืนยาว เปลี่ยนแปลงบ่อย ไม่สามารถสร้างอนาคตและ และระบบการพัฒนาประเทศในระยะยาวได้ เป็นปัญหาที่คู่กับประเทศมาหลายทศวรรษนับตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๕ เป็นต้นมาและยังคงเป็นอยู่ ที่มีทุนนิยมเสรีมาเป็นเครื่องมือรัฐบาล
๒) กำลังพลเสื่อม ราชการอ่อนแอ มุ่งแสวงหาอำนาจ ตำแหน่ง และการฉ้อราษฎร์บังหลวงจนติดอันดับสากล
๓) การศึกษาอบรมกล่อมเกลาเยาวชนที่ยังขาดธง สร้าง "พลเมือง" (พลังของเมือง) ผู้ที่จะสร้างและรักษามรดกชาติที่แท้จริง
๔) ขาดระบบประกันความเสี่ยงด้านการบิดเบือนเบี่ยงเบนหลักธรรมคำสอน ด้วยมุ่งสร้างวัตถุ การตลาด เครือข่ายที่มุ่งโภคทรัพย์ ความมั่งคั่งแทนคุณจริยธรรม
๕) โลกาภิวัตน์ (Globalization) ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โลกไซเบอร์ (Cyber Space) เกิดสังคมออนไลน์ (Social Network) เทคโนโลยีเยื่อแก้ว(Glass Technology) ผู้บริโภคทุกคนมีเครื่องมือที่สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารทันทีได้ทุกกลุ่มทุกคน กระทบต่อกระแสความเชื่อและศรัทธาที่เคยมีมาอย่างรุนแรง จริงหรือเท็จสามารถเสาะหาได้ด้วยตนเอง แต่กระแสทางเทคโนโลยีจะส่งผลในทางที่ดีแก่ชาวพุทธที่ยึดหลักความเป็นไปของโลก (ตถตา-world exists) อยู่แล้ว
๑) รัฐบาลขาดเสถียรภาพ ไม่ยืนยาว เปลี่ยนแปลงบ่อย ไม่สามารถสร้างอนาคตและ
๒) กำลังพลเสื่อม ราชการอ่อนแอ มุ่งแสวงหาอำนาจ ตำแหน่ง และการฉ้อราษฎร์บังหลวงจนติดอันดับสากล
๓) การศึกษาอบรมกล่อมเกลาเยาวชนที่ยังขาดธง สร้าง "พลเมือง" (พลังของเมือง) ผู้ที่จะสร้างและรักษามรดกชาติที่แท้จริง
๔) ขาดระบบประกันความเสี่ยงด้านการบิดเบือนเบี่ยงเบนหลักธรรมคำสอน ด้วยมุ่งสร้างวัตถุ การตลาด เครือข่ายที่มุ่งโภคทรัพย์ ความมั่งคั่งแทนคุณจริยธรรม
๕) โลกาภิวัตน์ (Globalization) ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โลกไซเบอร์ (Cyber Space) เกิดสังคมออนไลน์ (Social Network) เทคโนโลยีเยื่อแก้ว(Glass Technology) ผู้บริโภคทุกคนมีเครื่องมือที่สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารทันทีได้ทุกกลุ่มทุกคน กระทบต่อกระแสความเชื่อและศรัทธาที่เคยมีมาอย่างรุนแรง จริงหรือเท็จสามารถเสาะหาได้ด้วยตนเอง แต่กระแสทางเทคโนโลยีจะส่งผลในทางที่ดีแก่ชาวพุทธที่ยึดหลักความเป็นไปของโลก (ตถตา-world exists) อยู่แล้ว
๔. แนวโน้มสังคมไทยในอนาคต
๑) การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปี พ.ศ.๒๕๕๘ มีการเลื่อนไหลแรงงานเสรีในกลุ่ม
๒) เกิดครอบครัวเดี่ยวและมีขนาดที่เล็กลง สัมพันธภาพของคนในครอบครัวน้อยลง
๓) โครงสร้างอายุประชากรเปลี่ยนแปลง อัตราเกิดใหม่ลดลง ฐานประชากรวัยเด็กจะลดลง จะส่งผลอนาคตให้วัยแรงงานที่สร้างอาชีพ สร้างงาน ทำงานหารายได้ เป็นฐานทางเศรษฐกิจจะลดด้วย จะเกิดสังคมสูงอายุที่ไม่มีรายได้ ส่งผลต่อรายได้ประชาชาติที่ต้องมีเงินมาดูแล
๔) โครงสร้างการผลิตเปลี่ยนแปลง จากสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมอุตสาหกรรมมากขึ้น อาศัยเทคโนโลยีระดับกลางและระดับสูงเพิ่มมากขึ้น การเกษตรจะเน้นการผลิตพืชผลที่ไม่ต้องใช้เนื้อที่ในการเพาะปลูกมากเหมือนพืชหลักชนิดเดิม
ส่วนภาคอุตสาหกรรมจะเน้นอุตสาหกรรมพื้นฐานที่เอื้อต่ออุตสาหกรรมส่งออก และใช้เครื่องมือกลทำงานแทนมนุษย์ (AI-Artificial Intelligence) ใช้คนงานน้อยลง
การคิดค้นนวัตกรรมเกิดขึ้นตลอดเวลา เครื่องใช้ อุปโภคบริโภคเปลี่ยนตาม สิ่งใหม่มาแทนสิ่งเก่าที่ตกรุ่นตลอดเวลา ส่งผลให้ระบบงานการผลิตเดิมเปลี่ยน กระทบต่อแรงงาน และสังคมระดับครัวเรือน
๑) การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปี พ.ศ.๒๕๕๘ มีการเลื่อนไหลแรงงานเสรีในกลุ่ม
๒) เกิดครอบครัวเดี่ยวและมีขนาดที่เล็กลง สัมพันธภาพของคนในครอบครัวน้อยลง
๓) โครงสร้างอายุประชากรเปลี่ยนแปลง อัตราเกิดใหม่ลดลง ฐานประชากรวัยเด็กจะลดลง จะส่งผลอนาคตให้วัยแรงงานที่สร้างอาชีพ สร้างงาน ทำงานหารายได้ เป็นฐานทางเศรษฐกิจจะลดด้วย จะเกิดสังคมสูงอายุที่ไม่มีรายได้ ส่งผลต่อรายได้ประชาชาติที่ต้องมีเงินมาดูแล
๔) โครงสร้างการผลิตเปลี่ยนแปลง จากสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมอุตสาหกรรมมากขึ้น อาศัยเทคโนโลยีระดับกลางและระดับสูงเพิ่มมากขึ้น การเกษตรจะเน้นการผลิตพืชผลที่ไม่ต้องใช้เนื้อที่ในการเพาะปลูกมากเหมือนพืชหลักชนิดเดิม
ส่วนภาคอุตสาหกรรมจะเน้นอุตสาหกรรมพื้นฐานที่เอื้อต่ออุตสาหกรรมส่งออก และใช้เครื่องมือกลทำงานแทนมนุษย์ (AI-Artificial Intelligence) ใช้คนงานน้อยลง
การคิดค้นนวัตกรรมเกิดขึ้นตลอดเวลา เครื่องใช้ อุปโภคบริโภคเปลี่ยนตาม สิ่งใหม่มาแทนสิ่งเก่าที่ตกรุ่นตลอดเวลา ส่งผลให้ระบบงานการผลิตเดิมเปลี่ยน กระทบต่อแรงงาน และสังคมระดับครัวเรือน
๕. ทิศทางที่จะทำให้สังคมไทยยั่งยืน ได้แก่
๑)
การพัฒนาที่คน ส่งเสริมความเป็นพลเมืองที่ดี
๒)
การพัฒนา“สังคมแบบรวม” แบบบูรณาการมากกว่าแยกรายด้าน
๓) กำหนดเป้าหมายการพัฒนา เป็นรูปธรรมชัดเจน สามารถวัดผลได้ เช่น การกำหนดคุณภาพชีวิตของประชาชนในชาติ ในรูปของเกณฑ์วัดความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) โดยมีกลไกดังนี้
๓) กำหนดเป้าหมายการพัฒนา เป็นรูปธรรมชัดเจน สามารถวัดผลได้ เช่น การกำหนดคุณภาพชีวิตของประชาชนในชาติ ในรูปของเกณฑ์วัดความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) โดยมีกลไกดังนี้
(๑) ชุมชนจะมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมมากขึ้น
(๒) องค์กรเอกชนจะมีบทบาทในการพัฒนามากขึ้น
(๓) การประกันสังคม ซึ่งเป็นการร่วมกันออกค่าใช้จ่ายแบบไตรภาคี
จากรัฐบาล นายจ้างและลูกจ้าง จะมีบทบาทในการพัฒนาสังคมมากขึ้น ทั้งในด้านการคุ้มครองและการให้ผลประโยชน์ทดแทนต่าง
ๆ
แนวคิดการพัฒนาจิตใจและศักยภาพของประชาชน คุณลักษณะสำคัญ คือเรื่อง การมีเหตุผล มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถวิเคราะห์ปัญหา และการทำงานอย่างเป็นระบบ รู้จักพึ่งตนเอง และมีความเมตตากรุณาต่อเพื่อนมนุษย์
เพื่อให้เป็นสังคมไทยที่มีความงดงามที่มีความต่างด้วยวิถีชีวิต ขนบประเพณี อาหาร การแต่งกาย ความเป็นอยู่ที่มีความสงบร่มเย็นในอนาคต
“สังคมพุทธ” ถือเป็นต้นทุนทางสังคมที่มีคุณค่าที่สุดที่จะส่งผลให้การพัฒนาสู่ความสำเร็จตามแนวโน้มที่กล่าวไว้
และถือว่าวัดและพระสงฆ์ถือได้ว่าเป็นต้นทุนหลักที่มีความพร้อมและกระจายอยู่เต็มแผ่นดิน
มีความพร้อมและเหมาะสมที่สุดในการพัฒนาสังคมไทยให้อยู่เย็นเป็นสุขและยั่งยืน
พระสงฆ์ปัจจุบัน ได้รับการศึกษาที่ดีขึ้น มีการศึกษาในระดับบัณฑิตขึ้นไปมากมาย สมควรที่จะได้เลือกพระสงฆ์เหล่านั้นมาเป็นครูพระประจำในโรงเรียนที่สามารถอบรมบ่มเพาะเยาวชนให้เป็นพลเมืองที่ดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น