วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การส่งเสริมทักษะการคิดและการเขียนผู้เรียน

             ความนำ
ปัญหาการคิดวิเคราะห์และการเขียนยังคงอยู่คู่กับผู้เรียนและครู ผู้เรียนลายมืออ่านไม่ได้ ไม่สวย เขียนไม่เป็นเรื่อง สื่อสารไม่เป็น โดยรวมคือทักษะการเขียนและจดบันทึกที่จะติดตัวไป

ควรเริ่มปลูกฝังเมื่อใด
ระดับที่ควรได้รับการปลูกฝังอย่างจริงจัง ควรเน้นตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ เพราะช่วงชั้นที่ ๑ (ป.๑-๓) เน้นการอ่านออกเขียนได้ แต่ช่วงชั้นที่ ๒ (ป.๔-๖) เน้นการอ่านคล่องเขียนคล่อง หากเป็นด้านการอ่านแล้วเน้นการอ่านเอาเรื่อง หาอรรถรสจากเรื่องราวต่าง ๆ แบบเรียนแต่เดิมจึงให้เรียนวรรณคดีที่มีเนื้อหาสละสลวย มีบทกลอนที่ไพเราะ อาทิ พระอภัยมณี หรือสังข์ทองที่เคยเรียนชั้น ป.๔ แต่เดิม เด็กจึงเพลิดเพลินและสามารถท่องจำติดปาก เด็กวัยนี้เป็นวัยที่ทีเริ่มแสวงหาความเป็นตัวตนในสิ่งที่ตนอยากเห็นอยากเป็น คิดฝันเลียนแบบในสิ่งที่ตนชอบ ช่างจดช่างจำมาก แม้บางครั้งได้ฟังเพียงครั้งเดียวก็จำได้ไม่ลืม และสามารถประยุกต์พัฒนาสู่ความเป็นนักคิด นักเขียน นักเพลงและแม้แต่ผู้ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นปราชญ์ชาวบ้านเป็นพ่อครูแม่ครู แม้มีคุณวุฒิเพียงชั้น ป.๔ ที่พบอยู่ทั่วไทยทุกวันนี้
          ด้านการเขียน 
          จะพบว่าผู้เรียนรุ่นคุณปู่ย่าตายายมักพบว่าลายมือสวย เป็นระเบียบมาก เพราะถูกฝึกด้วยการคัดลายมือตามครูแบบเต็มบรรทัดบ้าง ครึ่งบรรทัดบ้าง และพัฒนาเป็นลายมือเขียนที่เป็นเอกลักษณ์ตนเอง ในบรรดาลายมือบุคคลสำคัญที่ผู้เขียนชอบมากคือลายมือของท่านพุทธทาสภิกขุ เพราะอ่านง่าย เป็นระเบียบ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว แต่ปัญหาที่กำลังพบในวัยเรียนตั้งแต่ประถมจนถึงระดับอุดมปัจจุบันมีจำนวนไม่น้อยที่มีลายมืออยู่ในระดับที่ต้องปรับปรุง ไม่ว่าจะเป็นตัวอักษรและคำที่อ่านยาก อักษรวิบัติที่มีหัวโตๆ ยังไม่รวมถึงการร้อยเรียงข้อเขียนที่ขาดความสละสลวย วกวน ตลอดจนการสะกดตามหลักภาษาและอธิบายสิ่งที่เป็นองค์ความรู้ในตัวตนไม่เป็น จนถึงต้องมีการขยายการศึกษาภาคบังคับเพิ่มขึ้นจาก ๔ ปี เป็น ๖ และ ๑๒ ปี ที่คาดหวังว่าจะเป็นผู้รู้หนังสือในฐานะพลเมืองไทยและพลโลกที่มีการประเมิน PISA เป็นประจำของกลุ่มประเทศสมาชิก                               
          
          ใครคือผู้ฝึกและส่งเสริมทักษะการเขียน
ครู คือ บุคคลสำคัญที่สุดในการฝึกและส่งเสริมทักษะนี้ เพราะเป็นผู้ที่เด็กมีความเคารพเชื่อมั่น เป็นแม่พิมพ์  ที่เด็กจะเอาเป็นแบบอย่าง

ดังนั้น ครูที่จึงควรเป็นผู้ที่มีลายมือที่สวยงาม และที่สำคัญคือครูจะต้องเพิ่มภาระขึ้นอีกนิดเดียวในการส่งเสริมให้นักเรียนได้มีโอกาสในจดบันทึกและการเขียนตอบมากขึ้น และเพิ่มประเด็นการประเมินรายมือไปอยู่ในกระบวนการประเมินผลงานด้วย

ใช้รูปแบบการส่งเสริมและประเมินอะไร
แม่แบบ (Matrix) หรืออาจเรียกว่า ข้อกำหนดค่า (Rubric) ที่จะประเมินผลงานเขียนของผู้เรียน นอกจากรายการหลักคือสาระความรู้ ที่เกี่ยวกับ เนื้อหาสาระ (Content/Punctuation) การคิดวิเคราะห์ (Capitalization/Conceptualization) และการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร (Grammar/Composition/Spelling) แล้ว ควรเพิ่มรายการที่เป็น ลายมือ (Writes Clearly) เข้าไปในรายการประเมินด้วย โดยแจ้งเงื่อนไขและผลการประเมินให้ผู้เรียนได้ทราบเพื่อพัฒนาตนเองต่อไป ส่วนครูก็ยังนำไปเป็นผลงานวิจัยชั้นเรียนได้ด้วย
ตัวอย่าง แบบรายการและระดับผลการประเมินรายบุคคล โดยครูประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสม



เกณฑ์ให้คะแนนการเขียนตอบ (Score Rubric)
ชื่อผู้เรียน.............................................วันที่ ........./........../........
เรื่อง.................................................ผู้สอน .................................



รายการ
เกณฑ์ Criteria
ดีเยี่ยม
Excellent
A คะแนน 4
ดี
Good
B คะแนน 3
พอใช้
Fair/Needs Improvement
C คะแนน 2
ปรับปรุง
Unacceptable
D/F คะแนน 1
เนื้อหาสาระ
(Content/Punctuation)
มีความรู้ความเข้าใจลุ่มลึกในเนื้อหาสาระดีมาก เสนอประเด็นและแยกแยะเนื้อหาได้ครบถ้วน
ได้ประเด็นส่วนใหญ่ เนื้อหาสาระดี การแยกแยะประเด็นดี
เสนอได้บางประเด็น เนื้อหาสาระพอเข้าใจได้ ขาดความต่อเนื่อง การแยกแยะประเด็นต้องปรับปรุง
ประเด็นไม่ครบถ้วน ขาดสาระที่ควรเสนอ วกวน ขาดความเข้าใจ ขาดการแยกแยะประเด็น ขาดทิศทาง
การคิดวิเคราะห์ Capitalization/Conceptualization
คิดวิเคราะห์เนื้อหาอย่างลุ่มลึก มีแนวคิดเฉพาะตน สมเหตุสมผล
คิดวิเคราะห์เนื้อหาดี เสนอแนวคิดได้ มีเหตุผล
มีแนวคิดและการคิดวิเคราะห์พอใช้ได้  
ยากในการทำความเข้าใจวิธีคิด การคิดวิเคราะห์น้อยมากต้องปรับปรุง
การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารGrammar/Composition//Spelling
การเลือกคำ ใช้ภาษาดีมาก สะกดถูกต้อง การเรียบเรียงมีความสละสลวยดีมาก
การใช้ภาษาดี สะกดถูกต้อง การเรียบเรียงเหมาะสมดี
การใช้ภาษาพอใช้ สะกดบางคำผิดพลาด การเรียบเรียงได้เหมาะสม
การใช้ภาษาต้องปรับปรุง ผิดพลาด ขาดความสละสลวย
ลายมือ
Writes Clearly
ลายมือสวยมากเป็นแบบอย่างที่ดี เป็นระเบียบ อ่านง่าย วรรคตอนดีมาก
ลายมือดี เป็นระเบียบ อ่านได้ดี วรรคตอนดี
ลายมือพออ่านได้ควรพัฒนา บางคำไม่ชัด วรรคตอนพอใช้ได้
ลายมืออ่านยาก บางคำอ่านไม่ออก ขาดความตั้งใจ ไม่เป็นระเบียบ ต้องปรับปรุง
คะแนน............






เสียดายปิดเทอมปลายพอดี เห็นตัวอย่างแล้ว อยากให้เปิดเทอมใหม่แล้วละสิ



ไม่มีความคิดเห็น:

สรุป พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ ppt ดาวน์โหลด

สรุป พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ ppt ดาวน์โหลด : หมวด 1 บททั่วไป ความมุ่งหมายและหลักการ มาตรา 6-7 จัดการศึกษา เพื่อ เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เก่ง ...